ชนเผ่าพื้นเมืองปี 63 ชูมั่นคงทางอาหาร “ปันรัก ปันสุข จากภูผาสู่มหานที”

ชนเผ่าพื้นเมืองปี 63 ชูมั่นคงทางอาหาร “ปันรัก ปันสุข จากภูผาสู่มหานที”

เชียงใหม่/คชท.จับมือภาคีเครือข่ายจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองประจำปี 2563 มุ่งขับเคลื่อนสู่สังคมเปี่ยมสุขในพหุวัฒนธรรม ความมั่นคงอาหารรับมือวิกฤตภัยพิบัติ พร้อมแบ่งปันให้คนเมือง เรียกร้องสิทธิ์เข้าถึงทรัพยากรเพื่อสร้างแหล่งอาหารให้คนทั้งโลกนายศักดิ์ดา แสนมี่ เลขาธิการสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า 60 กลุ่มชาติพันธุ์ กระจายอาศัยอยู่ในพื้นที่ 67 จังหวัด มีจำนวนประชากรกว่า 4,284,702 คน เมื่อปี 2550 ได้มีการรวมตัวกันของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยและจัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) โดยได้ประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่สหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคม เป็น “วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก (The International Day of the World’s Indigenous Peoples)” และได้ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์และเฉลิมฉลองเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองมาอย่างต่อเนื่องต่อมาในปี 2557 ได้จัดตั้งสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (สชพ.) อย่างเป็นทางการ เพื่อให้เป็นกลไกหลักในการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินนโยบายรัฐและโครงการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยสำหรับงานวันชนเผ่าพื้นเมืองแหงประเทศไทยระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2563 ที่สำนักงานสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ นายศักดิ์ดา กล่าวถึงแนวคิดหลักที่ว่า “ปันรัก ปันสุข จากภูผาสู่มหานที” นั้น มาจากเป้าหมายที่จะร่วมกันหาแนวทางเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร และร่วมเรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันในเรื่องการปรับตัวของชนเผ่าพื้นเมืองในสถานการณ์แพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส 2019 โดยจัดร่วมกันใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ คือ ภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ภาคกลาง จ.อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.สกลนคร และ ภาคใต้ ที่ จ.พัทลุง โดยจะทำการถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้แต่ละพื้นที่ได้แสดงศักยภาพ และนำเสนอประเด็นที่อยากนำเสนอในบริบทของแต่ละภูมิภาค ด้วยประเด็นเฉพาะของแต่ละภาคต่างกันไป ภายใต้แนวคิดหลักร่วมกัน“เราต้องการเปิดพื้นที่การสื่อสารสู่สาธารณะให้เห็นความสวยงาม ความหลากหลายของวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์การทำงานกับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่สามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเองได้ โดยปีนี้จะมุ่งเน้นการเปิดพื้นที่แสวงหาแนวทางเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร อันเป็นผลมาจากการถอดบทเรียนการปรับตัวในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งเราจะเห็นการแสวงหาแนวทางในการสร้างความมั่นคงชีวิตในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่สำคัญต่อการดำรงชีพ ซึ่งกลุ่มชนเผาพื้นเมืองมีการสร้างแหล่งอาหารของตัวเอง ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ขณะที่ชุมชนที่มีศักยภาพและทรัพยากรมากพอก็นำไปแบ่งปันให้กับพี่น้องในเมืองได้” นายศักดิ์ดา กล่าวและว่า ขณะเดียวจะใช้เวทีนี้เป็นพื้นที่นำเสนอกระบวนการ การส่งเสริมและผลักดันการมีส่วนร่วมพัฒนากฎหมาย เพื่อส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้ด้าน นายสุพจน์ หลี่จา ผู้ก่อตั้งโครงการ Healthy spot เพื่อความมั่นคงทางอาหาร กล่าวว่า ในช่วงที่บ้านเมืองเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ ทั้งโรคภัยหรือภัยธรรมชาติ ก็จะเห็นได้ว่าความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 อาหารดำรงชีพมีน้อยและถูกจัดสรรอย่างจำกัด ซึ่งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับภาคีระดมข้าวสารอาหารแห้ง พืชผักไปช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในชุมชนเมือง และแจกเมล็ดพันธุ์พืชให้กับคนที่ได้รับผลกระทบด้วยดังนั้นช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้เห็นว่าความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องหันกลับมาสนใจไม่ว่าจะระดับครัวเรือนหรือชุมชนที่จำเป็นต้องมีแหล่งอาหารของตนเอง เมื่อเกิดภัยก็จะได้ไม่ลำบาก อย่างเช่นกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองมีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารของตัวเอง เมื่อประกาศปิดหมู่บ้านก็สามารถอยู่ได้ด้วยอาหารที่ผลิตและมีอยู่ กลับกันในชุมชนเมืองกลับได้รับผลกระทบยิ่งกว่าพี่น้องชนเผ่า“พี่น้องชนเผ่าพร้อมช่วยเหลือแบ่งปัน โดยมีอาหารเป็นเครื่องมือที่ส่งมอบความอาทรต่อกัน ดังเช่นแนวคิดหลักของการจัดงานในปีนี้ที่ว่า “ปันรัก ปันสุข จากภูผาสู่มหานที” อันเป็นการเชื่อมร้อยพี่น้องชนเผ่ากับคนเมืองเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราก็เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ใครได้รับความเดือนร้อนก็ต้องช่วยกัน แบ่งปันกัน” นายสุพจน์ กล่าวผู้ก่อตั้งโครงการ Healthy spot เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ยังกล่าวถึงสิ่งที่กลุ่มพี่น้องชนเผ่ามุ่งหวังต่อไปว่า คือสิทธิ์การเข้าถึงทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ซึ่งเป็นปัจจัยของแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงชุมชนและคนทั้งโลก เมื่อพี่น้องชนเผ่ามีสิทธิ์ที่ดินทำกิน หรือการมีส่วนร่วมการจัดการป่า ก็จะสามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อตนเอง ชุมชน และจะสามารถแบ่งปันให้กับสังคมได้มากกว่านี้.

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้