กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา

กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือที่ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา

กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ( บก.คฟป.ทภ.3 สน. ) ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่
พ.อ.สมจริง กอรี เลขานุการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ( บก.คฟป.ทภ.3 สน. ) เปิดเผยว่า กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ( บก.คฟป.ทภ.๓ สน. ) ที่ กองพลทหารราบที่ 7 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ห้วงตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 64 – 30 เม.ย. 65 ตามแผนงานยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศ โครงการป้องกันการบุกรุกและทำลายพื้นที่ป่าไม้ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่ออำนวยการควบคุมการดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยให้มีการจัดตั้งชุดรณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือของกองทัพภาคที่ 3 จำนวน 15 ชุด ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งการจัดตั้งกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ในครั้งนี้ จะเป็นการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง โดยการจัดกำลังยุทโธปกรณ์ ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน พ.อ.พงษ์ยุทธ งามเกษม หัวหน้าส่วนปฏิบัตการกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า กล่าวว่า จากข้อมูลที่กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า รวบรวมไว้ เมื่อเปรียบเทียบจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ปี 2563 และ 2564 พบว่า ในปี 2563 เกิดจุดความร้อนสะสม จำนวน 135,812 จุด ส่วนปี 2564 เกิดจุดความร้อนสะสม จำนวน 64,377 จุด โดยส่วนมากพบจุดความร้อนใน 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดลำปางและจังหวัดเชียงราย
จากการเก็บข้อมูลยังพบว่าในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มีจำนวนวันที่ค่าอากาศ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ยในปี 2563 จำนวน 82 วันและในปี 2564 จำนวน 55 วัน ลดลง 27 วัน คิดเป็นร้อยละ 32.57 ขณะที่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ตั้งแต่ 26 ก.พ. – 30 เม.ย.64 มีจำนวนวันที่ค่าอากาศเกินค่ามาตรฐาน ในปี 2563 จำนวน 15 วัน และในปี 2564 จำนวน 13 วัน ลดลง 2 วันคิดเป็นร้อยละ 16.31 อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2565 กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ยังคงให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหารอยต่อระหว่างจังหวัด 19 รอยต่อ ทั้งในส่วนของภาคเหนือตอนบนและตอนล่างอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้