คลัสเตอร์ไผ่ฯ จับมือ MTEC เปิดตัว Bamboo National Cluster Platform ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ไผ่ NEC ป้อนตลาดวัสดุก่อสร้าง-BCG

คลัสเตอร์ไผ่ฯ จับมือ MTEC เปิดตัว Bamboo National Cluster Platform ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ไผ่ NEC ป้อนตลาดวัสดุก่อสร้าง-BCG

โครงการการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมไม้ไผ่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือผ่านกลไกเครือข่ายเชิง พื้นที่ เพื่อยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน”ของหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการ พัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จับมือศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ร่วมพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปไม้ไผ่ ผ่านกลไกร่วมในการจัดการกลุ่มธุรกิจ (Bamboo National Cluster Platform) ผ่านกลไกเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโช่อุปทานระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ ภายในงานไผ่โลก World Bamboo Day 2024 โดยมุ่งเป้าการยกระดับไผ่ไทยป้อนตลาด มูลค่าเพิ่มด้านวัสดุก่อสร้างและสิ่งทอครบวงจร หวังสร้างมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นมากว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ผศ.ดร.วรสิทธิ์ ตันตินิพันธ์กล รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) , ผศ.ดร. จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และนายอาคม สุวรรณกันธา หัวหน้านักวิจัยฯ ร่วมกันลงนามความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ภายใต้โครงการ “ การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมไม้ไผ่ ระเบียงเศรษฐิกิจภาคเหนือผ่านกลไกเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นายอาคม สุวรรณกันธา หัวหน้านักวิจัยหัวข้อ “การพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมไม้ไผ่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือผ่านกลไกเครือข่ายเชิงพื้นที่ เพื่อยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโช่อุปทาน”ของหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า โครงการ ยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกร่วมในการจัดการกลุ่มธุรกิจ (National Cluster Platform) ไม้ไผ่ ตลอดห่วงโช่คุณค่าที่เข้าถึงง่ายและทั่วถึง โดยโครงการได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) โดยดร.ทิพย์จักร ณ ลำปาง หัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมไม้เพื่อความยั่งยืน กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ

โดยมีเป้าหมายร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัยโดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมไผ่ นำไปสู่การลงทุนขยายผลทางเศรษฐกิจต่อ ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ ตลอดจนเอสเอ็มอี จัดกิจกรรมขับเคลื่อน เปิดตัว Bamboo National Cluster Platform และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือใน Cluster ไม้ไผ่ของภาคเหนือ อันจะส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากไผ่ในทั้งเชิงวัฒนธรรม ความยั่งยืน และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของไผ่ในบริบทต่าง ๆ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ สองฝ่ายได้ตกลงจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายในงานไผ่โลก 2024 หรือ World Bamboo Day 2024 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนโดยมีไผ่เป็นเครื่องมือสำคัญ
โดยมีความร่วมมือร่วมกันดังนี้ 1) เพื่อวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้ ช่องว่างสำคัญ (Critical Gap) ที่เกิดขึ้นของกลุ่มธุรกิจไม้ไผ่โดยมุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจด้านก่อสร้างที่อยู่อาศัย ผ่านเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ด้านไผ่สู่เป้าหมายการเติบโตในอนาคต 2) เพื่อวิจัยร่วมพัฒนากลไกร่วมในการจัดการกลุ่มธุรกิจ (Bamboo National Cluster Platform) ไม้ไผ่ ตลอดห่วงโช่คุณค่าที่เข้าถึงง่ายและทั่วถึงในลักษณะเปิด เพื่อประโยชน์ทั้งเชิงเศรษกิจและ สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3) เพื่อทดสอบกลไกร่วมในการจัดการกลุ่มธุรกิจไม่ไผ่ (Bamboo National Cluster Platform) โดยเริ่มจากพื้นที่เป้าหมายระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย)4) เพื่อร่วมการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกลุ่มธุรกิจไม้ไผ่ (Bamboo National Cluster Platforn) ระดับชาติที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตของกลุ่มธุรกิจไม่ไผ่อย่างครบวงจร ทั้งในแง่การผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มการตลาด และการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ

นายอาคม กล่าวตอนท้ายว่าภายใต้แผนงานความร่วมมือร่วมกันครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มที่จะได้มีการยกระดับไผ่ไทยป้อนตลาดมูลค่าเพิ่มด้านวัสดุก่อสร้างและสิ่งทอครบวงจร หวังสร้างมูลค่าตลาดผ่านการพัฒนาภาคเกษตรกรเชื่อมสู่ภาคการแปรรูป และสู่ตลาดภายในประเทศและต่างประเทศต่อไป ซึ่งคาดว่ามูลค่าจะเพิ่มมากขึ้นกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี

You may also like

เริ่มแล้วกับงาน“AMAZING CHIANG MAI COUNTDOWN 2025”เข้าชมฟรีททท.คาดเงินสะพัด3.5 พันล้านบาท เผยยอดจองที่พักพุ่งกว่า 91%

จำนวนผู้