ชลประทานเร่งประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำและการแย่งน้ำ

ชลประทานเร่งประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำและการแย่งน้ำ

ชลประทานเร่งประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เตรียมรับมือเอลนีโญ ปี 67 ในพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำและการแย่งน้ำ และการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เหมาะสมกับพื้นที่และการเพาะปลูก

วันที่ 26 ธ.ค. 66 นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง ปี 2567 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน) โดยมี นายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมด้วยเจ้าหน้ำที่ชลประทานและกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ อาคารเอนกประสงค์ สำนักงานชลประทานที่ 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วนได้รับทราบภาพรวมสถานการณ์น้ำของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล สถานการณ์น้ำท่า และแผนการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้ง ปี 2567 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน รวมถึงแนวทางการปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการน้ำและการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปี 2567 เนื่องจากทางอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมาประกาศเรื่องสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ฝนตกน้อยลง ในช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. 67 โดยสถานการณ์น้ำในปัจจุบันปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำดี-น้ำดีมาก รวมปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำชลประทานทั้งหมด 693.43 ล้าน ลบ.ม. หรือ 92% แผนการใช้น้ำฤดูแล้ง ปี 66/67 ความต้องการ 552.470 ล้าน ลบ.ม.

นายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา (ผจบ.) กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2567 ของพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน) พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิง ตั้งแต่ด้านท้ายน้ำฝายแม่แฝกจนถึงบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล มีความต้องการใช้น้ำ ด้านอุปโภค-บริโภค(ประปา) ประกอบด้วยสถานีผลิตน้ำประปา ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ 7 สถานี จังหวัดลำพูน 1 สถานี รวม 8 สถานี และด้านการเกษตรในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รวมพื้นที่ 244,553 ไร่ (ประตูระบายน้ำ 4 แห่ง/ ฝาย 8 แห่ง / สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 90 แห่ง) ซึ่งใช้น้ำจากแม่น้ำปิง แต่แม่น้ำปิงมีน้ำไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง จึงจาเป็นต้องส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ให้การสนับสนุนเป็นประจาทุกปี ดังนั้นจึงมีความจาเป็นในการจัดสรรให้พื้นที่ ลุ่มน้ำปิงตอนบนแบบบูรณาการร่วมกัน ระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน โครงการส่งน้ำและบารุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดฯ โครงการชลประทานเชียงใหม่ โครงการชลประทานลำพูนและส่วนบริหารจัดการน้ำและบารุงรักษา สานักงานชลประทานที่ 1 เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำปิงตอนบนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

“การวางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตพื้นที่เพาะปลูกสองฝั่งของแม่น้ำปิงจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ปี 2567 เท่ากับ 141,545 ไร่ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเพาะปลูกปีที่แล้ว 145,198 ไร่ (น้อยกว่า 3,542 ไร่) ปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนแม่งัดฯ ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งเขื่อนแม่งัดฯสามารถจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิงได้ 70 ล้าน ลบ.ม. โดยมีแผนการส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรทุกชนิดพืช (ข้าวนาปรัง ไม้ผล – ไม้ยืนต้น พืชไร พืชผัก) ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ที่ใช้น้ำจากลาน้ำปิงมีสถานีสูบน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาของ การประปาส่วนภูมิภาค รวม 8 สถานี (จ.เชียงใหม่ 7 สถานี จ.ลาพูน 1 สถานี) รวม 24 ล้าน ลบ.ม. (ม.ค.-พ.ค.66)”  ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษากล่าวและว่า

นอกจากนี้ก็ได้ขอความร่วมมือเกษตรกร ปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า ทดแทนการทำนา เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง พืชผักที่ใช้น้ำน้อย เช่น คะน้า เห็ดฟาง กวางตุ้ง มะระจีน แตงกวา พริก ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วฝักยาว มันเทศ เป็นต้น มีการวางแผนการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและประหยัดตลอดฤดูแล้ง เลือกระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับพื้นที่และชนิดพืช ไม่ว่าจะเป็นการใช้มินิสปริงเกอร์ สำหรับไม้ผล ติดตั้งระยะ 5 เมตรขึ้นไป ใช้ไมโครสเปรย์ สำหรับพืชผัก – ไม้ผล และระบบน้ำหยด สำหรับพืชไร่ – ไม้ผล มีการให้น้ำพืชในช่วงเช้าและเย็นลดการระเหยของน้ำ รักษาความชื้นในดินด้วยการใช้วัสดุคลุมหน้าดิน ก็จะช่วยลดการใช้น้ำลงได้

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้