ตำบลป่าแป๋หนุนจัดการขยะ เสริมสร้าง”สุขภาวะชุมชน”

ตำบลป่าแป๋หนุนจัดการขยะ เสริมสร้าง”สุขภาวะชุมชน”

ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่ เรี่ยราดตามข้างทาง ทั้งที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 เอ และชั้น 1 บี จนย้อนกลับมาเป็นอันตรายต่อชาวบ้าน และผู้คนที่อยู่ลุ่มน้ำตลอดทั้งสาย ส่งผลให้ อบต.ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ต้องเร่งรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะ และทิ้งให้เป็นที่เป็นทางในพื้นที่เหมาะสม พร้อมกับทำยุทธศาสตร์จังหวัด ขอบ่อขยะ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเป็นพื้นที่ต้นน้ำทวีวัฒน์ วิสิฏสิริ นายก อบต.ป่าแป๋ เล่าว่า บ้านป่าแป๋ เป็นหมู่บ้านของชนเผ่าละว้า พื้นที่ 90% อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบกลางหุบเขาเล็กน้อย   ซึ่งจะสงวนเป็นที่ทำกิน หรือที่นาเป็นส่วนใหญ่  มีลำห้วยไหลผ่าน 2 สาย  คือ  ลำห้วยอมลาน และลำห้วยแม่สะเรียง   ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมาก ไหลผ่านลงไปทางทิศใต้ลงสู่ลำน้ำแม่สะเรียง และด้วยอาชีพหลักส่วนใหญ่ของราษฎร คือ การปลูกข้าวไร่หมุนเวียน  และการทำนาดำแบบขั้นบันไดตามที่ราบกลางหุบเขาที่มีแหล่งน้ำ  ส่วนอาชีพรองคือ การเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน เช่น วัว, ควาย, หมู, ไก่  ขณะที่อาชีพเสริม  คือ  การปลูกพืชผัก  เช่น   ถั่วแดง หอม กระเทียม ดังนั้นภาพที่เห็นจนชินตา คือการเป๊อะหลัง หรือแบกตะกร้าไว้ข้างหลัง เพื่อใช้บรรจุของจากบ้านไปไร่นา หรือขนของจากไร่นากลับบ้าน แต่บางครั้งก็แอบนำขยะจากในบ้านใส่ตะกร้าไปทิ้งข้างทางด้วย“ลำพัง อบต.เป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ที่รายได้น้อย แค่เจียดงบปีละ 20,000 บาทมาขนขยะ และระดมงบเอสเอ็มแอล (SML) มาขุดบ่อขยะขนาด 20×30 เมตร เพื่อให้ใช้ได้ราว 10-15 ปี แต่ยังไม่เพียงพอที่จะจัดการขยะทั้งหมดในพื้นที่ ซ้ำมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นแอบนำมาทิ้งร่วม จนต้องทำประตูกั้นแบบมีที่ล็อค โชคดีที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT)  ในชุดโครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนบนพื้นที่สูงบนฐานวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง ทำให้ปัญหาได้รับการคลี่คลายอย่างมีส่วนร่วมจากชุมชน ภายใต้โครงการจัดการขยะชุมชนต้นแบบเพื่อสร้างสุขภาวะชุมชน (บ้านป่าแป๋)” นายก อบต.ป่าแป๋ อธิบายแม้ว่าช่วงแรกชาวบ้านหลายคนจะไม่เห็นด้วย กับการรณรงค์คัดแยกขยะ แล้วทำหมู่บ้านให้ปลอดถังขยะข้างถนน ป้องกันหมู ไก่ หรือสุนัขคุ้ยเขี่ย รวมถึงเป็นที่วางไข่แมลงวัน เพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ  หากบ้านไหนจะใช้ถังขยะให้วางไว้ในบ้าน ขณะเดียวกันก็แจกกระสอบปุ๋ยบ้านละ 2 ใบ มีการเก็บขยะหน้าบ้านให้ แต่พบว่าผู้เฒ่าผู้แก่แอบซุกในตะกร้าขึ้นหลังไปทิ้งที่อื่น ดังนั้นถ้าเก็บได้ คลี่ดูเจอหลักฐานว่าเป็นของใคร บ้านไหน แกนนำต้องเข้าไปเตือนถึงในบ้านไม่ให้ทำอีก พร้อมสร้างความเข้าใจเรื่องผลกระทบที่จะตามมาจากการทิ้งขยะแบบไม่ถูกต้อง และไม่เป็นที่เป็นทาง จนทุกคนค่อยๆ ยอมรับและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้ง ตลอดจนการจัดการขยะอย่างจริงจังที่สำคัญคือเกิดข้อตกลงในที่ประชุมของหมู่บ้าน ให้ขังหมูไว้ในเล้า ถ้าปล่อยให้ออกมาคุ้ยขยะหรือแปลงผักของชาวบ้าน สามารถยิงทิ้งได้ ตอนนี้ทั้งหมู่บ้านจึงเปลี่ยนวิธีเลี้ยงหมูแบบปล่อย มาเป็นหมูหลุม ส่งผลทางอ้อมคือมีการนำขี้หมูมาทำปุ๋ยไว้ใส่พืชผัก ขณะที่ขยะรีไซเคิล จำพวกกระดาษ ขวดพลาสติก ที่มีการคัดแยกแล้ว จะมีคนรับซื้อของเก่านำกาละมัง ถังน้ำ เข้ามาแลกถึงในหมู่บ้านทุกเดือน ภาระในการจัดเก็บขยะของ อบต.จึงลดลง จากเดิมเก็บครั้งละเกือบ 2 ตัน ตอนนี้ลดลงกว่าครึ่ง ขยะที่ย่อยสลายได้ชาวบ้านก็กำจัดเอง โดยมีการอบรมเรื่องการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ให้  ส่วนขยะอันตราย เมื่อ อบต.จัดเก็บแล้วจะแยกไว้ นำไปทำลายด้านล่าง ในเขต อ.แม่สะเรียงจันทร์ฉาย  มหาศักดิ์สิทธิ์ แกนนำในโครงการ ยอมรับว่าตอนแรกชาวบ้านไม่เชื่อเรื่องการคัดแยกขยะ บอกว่าทิ้งทีเดียวง่ายกว่า กรรมการ หรือแกนนำ ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน จนเขาเห็นว่าคัดแยกแล้วขายได้เงิน แม้จะน้อย แต่ปริมาณขยะที่ทิ้งก็ลดลง ทำให้แต่ละบ้านเริ่มทำตาม แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง เพราะโครงการนี้ทำกับ 5 หย่อมบ้าน 3 หมู่บ้าน คือหมู่ 3 หมู่ 7 และหมู่ 8 ประชากรทั้งหมด ราว 1,500 คน“เดิมคิดทำเฉพาะในบ้านป่าแป๋ หมู่ 3 แต่ชาวบ้านที่อื่นผ่านมาก็นำขยะมาทิ้งในพื้นที่ บางทีก็โยนทิ้งข้างทาง เป็นปัญหาต่อบ้านป่าแป๋ ที่ต้องกินต้องใช้น้ำจากลำห้วย จึงต้องดึงเข้ามาร่วมโครงการ ปรากฏว่าพอนัดประชุมที่บ้านกำนัน หมู่ 7 เริ่มพูดเรื่องขยะ ชาวบ้านบางคนจะกลับก่อนประชุมเสร็จ กำนันต้องคอยยับยั้งไว้เพื่อสร้างการรับรู้ให้ทั่วถึง หลังจากนั้นแกนนำก็เข้าไปแต่ละหย่อมบ้าน แจกถังขยะ แนะนำการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเปียก รวมถึงวัชพืช และเศษผักต่างๆ” จันทร์ฉาย เล่าถึงความเป็นมาอย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือบ้านป่าแป๋ หมู่ 3 ที่ชาวบ้านได้สร้างข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง ทั้งการไม่เลี้ยงหมูแบบปล่อย และไม่เผาพลาสติก ถ้ามีคนป่วยจากการเผาพลาสติก คนเผาต้องรับผิดชอบ จนกลายเป็นจิตสำนึกที่เดี๋ยวนี้เมื่อมีการเผาพลาสติกที่ไหน ชาวบ้านที่พบเห็นจะเข้าไปดับทันทีหากประเมินโครงการในวันนี้ นับว่าประสบความสำเร็จเกิน 70% ถึงจะมีการลักลอบทิ้งอยู่บ้าง แต่ไม่มากเท่าก่อนหน้า และทุกครัวเรือนกยังได้ใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร ประเภทก้างปลา เปลือกผักผลไม้ มาทำเป็นน้ำหมัก ใช้รดพืชผักให้งอกงามโดยไม่ใช้สารเคมี ทำให้มีพืชผักปลอดภัยไว้รับประทานในครัวเรือน คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้น.

You may also like

ครึ่งเดือนแรกม.ค.เชียงใหม่อนุมัติคำร้องชิงเผากว่า 1 พันไร่อีกเกือบ 2 หมื่นไร่จ่อคิว

จำนวนผู้