ถก”45ปี 14 ตุลา”คึก อ.ผู้สอนย้ำเป็นวิชาเรียน-ตอบสนองปฏิรูปการศึกษาไทย

ถก”45ปี 14 ตุลา”คึก อ.ผู้สอนย้ำเป็นวิชาเรียน-ตอบสนองปฏิรูปการศึกษาไทย

เชียงใหม่ / เสวนา “45  ปี 14 ตุลา” คึกคัก นักศึกษาแห่ร่วมกิจกรรมล้นห้อง อาจารย์ผู่้สอนย้ำเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการเมืองการปกครองไทย และถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาไทย ทำให้เด็กเรียนรู้เข้าใจการเมืองการปกครองตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ใช่ปล่อยให้ลองผิดลองถูกจนบ้านเมืองเสียหายเมื่อเวลา 13.00 น. ที่ห้อง PSB 1201 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ได้จัดเสวนาวิชาการ “45 ปี 14 ตุลา”  ซึ่งการเสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก 13.00-15.00 น. เป็น “เรื่องเล่าคนเดือนตุลา กับขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาไทย 14 ตุลา” ส่วนช่วงที่ 2 คือ “45 ปี 14 ตุลา” มีมุมมองตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าร่วม อาทิ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ พรรคเกรียน, นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย, นายสุริยา แสงฟั่นแก้ว พรรคสามัญชน, นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท พรรคประชาธิปัตย์, นายชำนาญ จันทร์เรือง พรรคอนาคตใหม่ โดยมีนักศึกษาสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คนดร.จันทนา  สุทธิจารี อาจารย์ประจำสำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงกิจกรรม “เสวนาวิชาการ 45 ปี 14 ตุลา” ว่า ในกระบวนการเรียนการสอนของวิชาการเมืองการปกครอง มช. มีวิชาการเมืองการปกครองไทย 2 วิชา คือ ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย และวิชาการเมืองร่วมสมัย ดังนั้นในฐานะที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบการสอนทั้ง 2 วิชา มีเจตนารมณ์แน่วแน่ว่าการเรียนตรงนี้เฉพาะในห้องเรียนไม่พอ นักศึกษาอ่านจากตำราก็ไม่พอ โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่เกิดไม่ทันเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 แม้จะเล่าให้ฟังก็ยังไม่พอ จึงส่งเสริมให้เขาได้คิดและสร้างกิจกรรมทางวิขาการที่ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้น“ถือเป็นโชคดีที่มีนักศึกษาที่ขยันขันแข็ง กระตือรือร้นในทางวิชาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาขออนุญาตจัดกิจกรรมตรงนี้ขึ้น เพื่อให้ได้ความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม จากนักวิชาการ คนที่อยู่ในเหตุการณ์เดือนตุลา หรือแม้กระทั่งตัวแทนของพรรคการเมือง นักการเมือง เพราะเขาสนใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางการเมืองไทยอย่างไร ดิฉันได้พิจารณาร่วมกับทางผู้บริหารของคณะแล้วเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่เราควรเปิดพื้นที่ให้โอกาสนักศึกษา เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ฉลาด มีความคิดดีๆ แต่เขาต้องการความเข้าใจ พื้นที่ และโอกาส รวมทั้งคำแนะนำในแนวทางที่เหมาะสม จึงเกิดกิจกรรมครั้งนี้ขึ้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นักศึกษาจัดเอง มากันเองด้วยความสมัครใจ” ดร.จันทนา กล่าวในฐานะผู้สอนวิชานี้ จึงรู้สึกพอใจ และสบายใจ ที่เห็นเด็กเติบโตในทางวิชาการ พวกเขาคือคนรุ่นใหม่ที่จะมาแทนคนรุ่นเราต่อไป เพียงแค่เราให้โอกาสเขา ให้เกียรติเขา ให้พื้นที่เขาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเราได้พยายามทำตรงนี้ แม้ว่า มช.จะค่อนข้างอยู่ห่างไกล แต่วิทยากรทุกคนก็ให้ความสนใจ และจากการเรียนถามวิทยากรว่าเข้ามาเพราะอะไร คำตอบคือเป็นการให้เกียรติเด็กๆ เห็นความตั้งใจดีของเด็กๆ จึงอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่การเรียนรู้ ส่วนหนึ่งของการศึกษา และคิดว่านี่คือส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษาที่รัฐบาลอยากเห็น“กิจกรรมนี้จะเป็นแรงบันดาลใจ เราเป็นแค่จุดเล็กๆ ของสังคม ดังนั้นแรงบันดาลใจ หรือไม้ขีดก้านเดียวจึงสำคัญ ความตั้งใจดีๆ ของเด็กๆ เมื่อพวกเขานำมาเสนอไม่ควรถูกปฏิเสธ แต่ควรจะอยู่บนการสนับสนุน ให้โอกาส ให้กำลังใจ คนสองวัยต้องเดินคู่กันไป ซึ่งเห็นรัฐบาลพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา จึงคิดว่าการปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญคือต้องให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจ ในเรื่องความสำคัญของการเมืองการปกครองตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ใช่ให้ลองผิดลองถูกเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำให้สายเกินไป และเกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง” อาจารย์ประจำสำนักวิชาการเมืองการปกครอง กล่าวในตอนท้ายด้านนายชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่ากิจกรรมแบบนี้ ควรจัดตั้งนานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะรัฐศาสตร์ ถ้าไม่จัดเรื่องการเมืองแล้วจะจัดเรื่องอะไร แล้วการเมืองก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกคนหนีไม่พ้น จะเกลียดตัวกินไข่ไม่ได้ ถ้าคุณเรียนรัฐศาสตร์แล้วไม่พูดเรื่องการเมือง จะพูดเรื่องอะไร การเมืองเกี่ยวข้องกับทุกอย่าง ตั้งแต่ระดับชาติ ถึงระดับท้องถิ่น แม้แต่การเลือกหัวหน้าชั้นในห้องเรียนก็ยังเป็นการเมือง ถึงเราไม่ยุ่งกับการเมือง การเมืองก็ยุ่งกับเรา และถ้าเรามองว่าการเมืองเป็นเรื่องไม่ดี ก็จะได้คนไม่ดี ได้สิ่งที่ไม่ดี ถ้าเรามาช่วยกันทำก็จะได้พัฒนาขึ้นไป .

You may also like

ท่าอากาศยานเชียงใหม่เผยช่วงเทศกาลนำผู้โดยสารเพิ่มจากปกติเกือบ20%

จำนวนผู้