ท่องเที่ยวบ้านใหม่สามัคคี อ.เชียงดาว สัมผัสวัฒนธรรม”คะฉิ่น”ที่เดียวในไทย

ท่องเที่ยวบ้านใหม่สามัคคี อ.เชียงดาว สัมผัสวัฒนธรรม”คะฉิ่น”ที่เดียวในไทย

- in Exclusive, ท่องเที่ยว

“ในยุคที่ผู้คนกำลังโหยหาอดีต และธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และวัฒนธรรม จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งเมื่อมีโอกาสได้สัมผัสเยี่ยมชม ก็พบว่าบางแห่งมีศักยภาพ และปัจจัยเอื้อต่อการทำท่องเที่ยวน้อยกว่าบ้านใหม่สามัคคีของเรามาก เมื่อได้พูดคุยกันในกลุ่มแกนนำ จึงเกิดแนวคิดอยากทำท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน ซึ่งหากมีการจัดการดี ก็น่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวไม่น้อย” มะก่ำ ละชี ผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมศักยภาพแกนนำและเยาวชนในบ้านใหม่สามัคคีคะฉิ่น ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน ของ สสส. ไล่เรียงถึงความเป็นมเพราะบ้านใหม่สามัคคี หมู่ 14 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นถิ่นฐานของชนเผ่าคะฉิ่น เพียงหมู่บ้านเดียวในประเทศไทย แถมยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายผ้าทอ ภาษาพูด ดนตรี อาหารชนเผ่า แวดล้อมด้วยชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น อาข่า ลาหู่ ที่อยู่ภายในตำบลเดียวกัน รวมทั้งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังดอยอ่างขาง สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ลุงมะก่ำ บอกว่า ชนเผ่าคะฉิ่นในบ้านใหม่สามัคคี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าวโพด ข้าว มะม่วง ถั่วลิสง อะโวคาโด ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้อพยพหนีภัยจากการสู้รบในเขตพม่าเข้ามาในเขตไทย ราว 40 กว่าปีก่อน หากอยู่กันแบบกระจัดกระจาย ไม่แสดงตัวว่าเป็นคะฉิ่น เพราะกลัวถูกจับในความผิดฐานลักลอบเข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมาย จนภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จมาที่ ต.เมืองนะ และมีการพัฒนาในพื้นที่ คะฉิ่นอพยพจึงได้รวมตัวกันมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านใหม่สามัคคี ตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาหากด้วยยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ส่งผลให้ช่วงหนึ่ง วัฒนธรรมในชุมชนคะฉิ่นสูญหายไปบางส่วน เช่น การแต่งกายชุดคะฉิ่นที่เห็นน้อยลง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน  จะเห็นได้เพียงแค่ในวันสำคัญทางวัฒนธรรมเท่านั้น  ซ้ำเยาวชนคะฉิ่น และวัยแรงงาน ยังออกจากหมู่บ้านไปทำมาหากินในเมือง รับวัฒนธรรมทั้งด้านภาษาพูด การแต่งกาย อาหารการกินจากภายนอก แกนนำในชุมชนจึงได้มีความเห็นร่วมกันที่จะฟื้นฟูศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนคะฉิ่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กในชุมชน และเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้ชุมชนอื่นในประเทศไทยมล มะลิ เหรัญญิกโครงการ เล่าเสริมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นอย่างภาคภูมิใจว่า ทางหมู่บ้านได้ตั้งเสามะหน่าว เพื่อฟื้นฟูการรำมะหน่าว อันเป็นประเพณีสำคัญของชาวคะฉิ่น ที่ในอดีตจัดขึ้นเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือจัดในโอกาสสำคัญ เช่น ครบรอบการก่อตั้ง/ดำเนินการ ก่อนออกศึกสู้รบ เฉลิมฉลองยามได้รับชัยชนะจากสงคราม หรือเฉลิมฉลองความสำเร็จของกิจการ ฉลองในเทศกาลปีใหม่ ในการเต้น ผู้เต้นจะสวมใส่เครื่องแต่งกายของชนเผ่าแบบดั้งเดิม เต้นไปรอบๆ เสามะหน่าว และมีท่าทางเลียนแบบท่าเต้นของหมู่นก จึงมักจะมีขนนกประดับ หรือภาพวาดที่เสามะหน่าวด้วย หากระยะเวลาที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และต้องระหกระเหินเอาตัวรอด ทำให้ประเพณีการรำมะหน่าวถูกละเลย คนรุ่นหลังแทบเต้นไม่เป็น“ผู้ใหญ่ในชุมชน 18 คน ได้พยายามถ่ายทอดการรำมะหน่าว และประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ให้กับเยาวชน เช่น การทำอาหารของชนเผ่า การแต่งกาย การเต้นรำแบบคะฉิ่น ซึ่งมีลูกหลาน 12 คน เข้ามาเรียนรู้ สืบสาน และมีการจัดงานรำมะหน่าว ทุก 2 ปี ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวสนใจเข้ามาชมกิจกรรมทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคะฉิ่น ชาวบ้านบางครอบครัวจึงได้รวมตัวเป็นกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จัดโฮมสเตย์ เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว ขณะที่กลุ่มต่างๆ ก็มีรายได้เพิ่ม อาทิ กลุ่มเยาวชนจัดแสดงการเต้นรำและดนตรีคะฉิ่นให้กับนักท่องเที่ยว กลุ่มแม่บ้านจัดจำหน่ายอาหารชนเผ่าและสินค้าหัตถกรรม” มล อธิบายอย่างไรก็ตาม เธอยอมรับว่าชุมชนยังขาดทักษะในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  การบริหารรายได้รายจ่าย และการประชาสัมพันธ์ จึงสนใจกิจกรรมศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบที่ดีด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตร เพื่อให้มีทักษะในการบริหารจัดการครอบครัว ชุมชน พร้อมทั้งต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพอนุชาติ ลาพา ประธานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โฮมสเตย์ บ้านใหม่สามัคคีคะฉิ่น กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวคะฉิ่นในบ้านใหม่สามัคคีว่า มีประชากรประมาณ 1,000 คนเศษ แต่วัยรุ่น และวัยทำงานจะไปเรียน หรือทำงานในเมือง เหลือแต่คนแก่ และเด็กทิ้งไว้ในหมู่บ้าน ประมาณ 200 กว่าคน ทำให้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมถูกกลืนหายไปการทำโครงการส่งเสริมศักยภาพแกนนำและเยาวชนในบ้านใหม่สามัคคีคะฉิ่น ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน จึงเป็นอีกกลวิธีหนึ่งในการรื้อฟื้นประเพณี วัฒนธรรมเก่าแก่ให้กลับคืนมา และยังเป็นการรวมตัวกันของคนคะฉิ่น ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็มักจะกลับถิ่นฐานในช่วงที่มีกิจกรรมรำมะหน่าว พร้อมกันนั้นการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก็ถือเป็นการเผยแพร่ให้สังคมรู้จัก “คะฉิ่น” อย่างกว้างขวางมากขึ้น.

 

You may also like

4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1  จับมือจัดงาน “มหกรรมตามรอยชิม วิถีถิ่นอาหารภาคเหนือ

จำนวนผู้