นั่งล้อมวงฟังนิทานผ่านเรื่องราว “บิลลี่”

นั่งล้อมวงฟังนิทานผ่านเรื่องราว “บิลลี่”

ด็กน้อยผู้ไร้เดียงสา เฝ้าถามหาพ่อมาอย่างน่าหดหู่ใจยิ่งนัก เขาไม่มีทางรู้ได้เลยว่า พ่อเขาไปไหน ไปนานแค่ไหน แล้วเมื่อไหร่พ่อเขาจะกลับมา”

ร่างหนึ่งที่ร่วงหล่น ได้ปลุกคนขึ้นทวงถาม ใครคือผู้กระทำ จงจำไว้ให้ทวงคืน

ส่วนหนึ่งของคำถามและความรู้สึกที่แสดงออกผ่านผืนผ้า แขวนเป็นฉากหลังของงานนั่งล้อมวงฟังนิทานผ่านเรื่องราวบิลลี่ เมื่อเวลา 16.00 – 22.00 น. ที่เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) ภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง  เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ นักกิจกรรม สื่อมวลชน และผู้ที่ให้ความสนใจในประเด็นการจากไปของบิลลี่ช่วงวงคุย “วีรชนบรรพบุรุษ นักต่อสู้สิทธิ จาก พะตีปุนุ ดอกจีมู ถึงบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ”  พะตีจอนิ โอโดเชา ปราชญ์ปกาเกอะญอ จากบ้านหนองเต่า ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ เล่าว่า เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ปู่คออี้ (โคอิ มีมิ) ผู้อาวุโส และผู้นำจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวกะเหรี่ยงที่แก่งกระจาน ได้ถูกคำสั่งจากอุทยานฯ ให้อพยพในลงมาจากบริเวณใจแผ่นดิน ในเขตพื้นที่ป่าแก่งกระจาน พะตีจอนิและกลุ่มนักศึกษา ราว 6 คน ได้ขับรถคาริเบียน เข้าไปเยี่ยมพี่น้องและปู่คออี้ที่แก่งกระจาน ซึ่งกว่าจะผ่านเข้าไปได้ต้องใช้เวลาเจรจากับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ กว่าครึ่งวัน  เมื่อพบปู่คออี้ ได้บอกกล่าวเส้นทางที่ต้องเดินผ่านบริเวณ ป่าแต๊ ป่าละอู และระหว่างทางไม่ได้กินข้าว ได้กินเพียงแค่ปลาเท่านั้น ในขากลับรถคาริเบียนของพะตีจอนิกับกลุ่มนักศึกษา ต้องพาชาวกะเหรี่ยงที่ไม่สบายอาศัยติดรถเข้ามายังตัวเมืองเต็มคันรถ ทำให้ตนเห็นถึงความยากลำบากของชาวกะเหรี่ยงในแก่งกระจานเป็นอย่างมาก จนกระทั่งบิลลี่ได้ออกกมาเป็นแกนนำเรียกร้อง ให้กับปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงที่ถูกไล่รื้อ โดยพยายามสื่อสารหลายช่องทาง ให้สังคมเข้าใจว่าปู่คออี้และลูกหลาน 30-40 ครอบครัว ถูกบังคับจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ให้อพยพจากบ้านเดิม ด้วยการเผาบ้านและยุ้งฉาง แล้วอุ้มใส่ ฮ.ลงมาอยู่บ้านโป่งลึก ที่ห่างไกลจากบ้านเกิดที่ใจแผ่นดิน

พะตียังได้เล่าถึงการถูกตราหน้าจากผู้คนในสังคม ว่าชาวกะเหรี่ยงมีความเกี่ยวข้องกับการทำไร่เลื่อนลอย ทำลายป่า และเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทำให้ชาวกะเหรี่ยงปรึกษาหารือกัน ตั้งแต่ปี 2520 เพื่อวางแผนจะให้คนในสังคมไทยส่วนใหญ่เข้าใจถึงวิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยง หรือปกาเกอะญอ ในการดูแลรักษาป่าอย่างแท้จริง และใน  2537 ก็ได้เดินขบวนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปถึงย่านวัดอุปคุต ถนนท่าแพ เป็นการสื่อสารให้สังคมรับรู้

ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่มีการต่อสู้เรียกร้องเรื่องสิทธิ ที่ดินทำกิน แกนนำชาวปกาเกอะญอ เล่าว่า บางคราวต้องใช้วิธีซ่อนตัวสักพัก แล้วกลับมาสู้ต่อใหม่ หากเริ่มพบว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มีบรรยากาศคุกกรุ่นสำหรับในช่วงล้อมวงฟังนิทานผ่านเรื่องราว พะตีกี้ (น้อย นุแฮ) ได้เล่านิทานของชาวปกาเกอะญอ ว่าด้วย “มอโกลี” ซึ่งเป็นนางมารร้าย ได้กลั่นแกล้ง “จ๊อกแคน”  ซึ่งเป็นเด็กกำพร้า อยู่กับ “พีมือแม” (ยายที่อยู่กับหลาน 2 คน) ผลักกระบอกไม้ไผ่ตักน้ำให้ตกลงไปลำห้วย จ๊อกแคนไปเจอกอหญ้าและขอนไม้ล้ม เด็กน้อยถามทั้งสองสิ่งว่าจะให้เดินผ่านได้เลยหรือให้เดินอ้อม ทั้งสองสิ่งตอบว่า ถ้าไม่คิดอะไรก็เดินข้าม ถ้าไม่อยากเหยียบย่ำก็ไห้เดินอ้อม จ๊อกแคนเลือกที่จะเดินอ้อม ขอนไม้ล้มจึงอวยพรให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทาง พร้อมกับเตือนว่า ระหว่างทางเมื่อเจอยักษ์ ถ้าเจอยักษ์ตัวผู้ตาสีแดง ห้ามเดินผ่านเพราะจะถูกจับกิน ให้รอจังหวะเปลี่ยนเวรเฝ้าทางเป็นยักษ์ตัวเมียซึ่งจะมีตาสีเขียว สามารถเดินผ่านไปได้ โดยนิทานเรื่องนี้ พะตีกี้ ได้เปรียบกระบอกไม้ไผ่คือสิทธิ์ของคนเราซึ่งมักจะถูกแย่งชิง ทำให้เราต้องเรียกร้องและทวงคืน ทั้งนี้ระหว่างทางจะต้องฟังเสียงของคนรอบข้าง ฟังคำแนะนำ วางแผน และใช้เวลา เพื่อให้ได้สิทธิ์ของตนคืนมาสุริยันต์ ทองหนูเอียด กรรมการบริหาร คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า รัฐไทย มองพื้นที่ป่าผ่านแผนที่ ขณะที่ชาวปกาเกอะญอมองพื้นที่ป่าผ่านการเกษตรกรรม ความรุนแรงของรัฐกับคนที่อยู่ในป่า จึงทวีความหนักหน่วงขึ้น โดยเฉพาะนโยบายทวงคืนผืนป่า ทำให้รัฐต้องเพิ่มพื้นที่ป่า จากผู้คนที่ดูแลป่า กลายเป็นว่า คนดูแลป่าดีกลับไม่ได้รับรางวัล มีการยึดป่าจิตวิญญาณ หรือไร่เหล่า จากไร่หมุนเวียน ที่มีการเว้นระยะทิ้งช่วงปลูกของไร่หมุนเวียน เช่น ที่แม่หมี แม่ต๊อม โดยอ้างโครงการ ทสช.  “อาจารย์เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ยังเคยกล่าวว่า หากจะคุยเรื่องการรักษาป่า พูดคุยกับชาวกะเหรี่ยงได้ง่ายที่สุดเเล้ว ซึ่งผมก็เห็นด้วย และปัญหาทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องของคนกับป่า ควรถูกนำมาพูดคุยบนโต๊ะ ให้มาเจรจา ไม่ควรยิง หรือฆ่ากัน  สิ่งที่ยากที่สุด คือต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องระหว่างคนกับป่า” สุริยันต์ อธิบายทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ในช่วงแรก รัฐไม่ได้รับฟังปัญหาของชาวบ้านที่ถูกไล่รื้อออกจากป่า ช่วงที่สอง คือ ช่วงรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ชาวบ้านเริ่มมีอำนาจต่อรอง เห็นได้จากเรื่องเขื่อน ที่ในช่วงหลัง หากจะสร้างเขื่อน ต้องมีการทำรายงาน EHIA ต้องจ่ายค่าเสียโอกาส และช่วงปัจจุบัน มีการจัดการทรัพยากรร่วมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามพื้นที่ป่าทั้งหมดต้องเป็นของรัฐ และยึดหลักฐานของราชการไม่ใช่ของชุมชนบรรยากาศในช่วงท้ายกิจกรรม มีการเล่นกีตาร์ โดย “ยอดชายนายปีเตอร์ ไอ่หนุ่มมาดเซอร์จากอมก๋อย” (ผู้ประกวดรางวัลไมค์ทองคำ) พร้อมทั้งระดมทุนคนละ 105 บาท เพื่อสื่อถึงลูกๆ ของบิลลี่ 5 คน คนละ 20 บาท และ 5 บาท ระลึกถึง 5 ปี ที่จากไป ชื่อบัญชี น.ส. พิณนภา พฤกษาพรรณ (ภรรยาของบิลลี่) เลขทบัญชี 3940197599 ธนาคารกรุงไทย หลังจากนั้นได้มีการแสดงจากชมรมนิสิตปกาเกอะญอ และชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ ก่อนทำพิธีจุดเทียนระลึกถึงบิลลี่นอกจากนี้ ภายในงาน พะตีจอนิ  ยังได้นำหนังสือปราชญ์ป่า 7 ชั้น มาจำหน่าย ในราคา 150 บาท ทำให้ได้รับเงินระดมทุนจากหนังสือทั้งหมด 3,300 บาท รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ จ.อุบลรชธานี และอีกส่วนหนึ่งมอบให้กับครอบครัวของบิลลี่.

You may also like

การแข่งขัน “สุดยอดเชฟสร้างสรรค์ อาหารเหนือ” โดยเชฟชุมชน (Local Chef)ทีมหมู่บ้านสร้างดาว คว้ารางวัล 3 หมื่นบาทปรุงเมนู”ผักเชียงดา”ถูกปาก+ใจชาวต่างชาติที่เป็นกรรมการ

จำนวนผู้