ปลูก“ผักไร้สาร” สร้างอาหารปลอดภัยคู่ครัวเรือน

ปลูก“ผักไร้สาร” สร้างอาหารปลอดภัยคู่ครัวเรือน

รคภัยที่คุกคามชาวบ้านแม่อาว ต.ยางคราม อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง หรือมะเร็ง ทำให้แกนนำชาวบ้านบางคนเริ่มตื่นตัว และเล็งเห็นว่าพืชผักที่ชาวบ้านนำมารับประทานไม่มีความปลอดภัย เพราะส่วนใหญ่ซื้อจากตลาด ทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนสูงรจนา ยี่บัว ประธานแม่บ้าน และผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ชุมชนบ้านแม่อาว เล่าว่า พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งโรคภัยอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเมื่อสืบค้นข้อมูลที่ทางองค์การอนามัยโลก กับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ไว้ ก็มีผลสรุปว่าการบริโภคผักผลไม้วันละ 400-600 กรัม สามารถลดภาระโรคต่างๆ ได้แก่ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด  มะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงกำหนดการบริโภคผัก ผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อคนต่อวันเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆเมื่อหันกลับมามองในพื้นที่ ก็พบว่ามีชาวบ้านปลูกผักที่จำเป็น เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หรือผักที่ใช้รับประทานในครัวเรือนบ้าง แต่อีกหลายชนิดต้องซื้อมาจากตลาด ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีสารพิษตกค้างหรือไม่ จึงได้หารือกับแกนนำชุมชน ว่าจะทำอย่างไรให้สุขภาพชาวบ้านดีขึ้น อันเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ชุมชนบ้านแม่อาว“การปลูกผักกินเอง ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หลายคนอาจมองว่าการซื้อผักมากินง่ายกว่า จริงๆ แล้วการที่เราปลูกผักไว้กินเองง่ายกว่า จะกินเมื่อไหร่ก็ไปเด็ดสดๆ ได้เลย พอผลผลิตได้เยอะเหลือกินก็แบ่งปันกันไป เกิดวิถีชีวิตของคนในชุมชน เครือญาติมีการเกื้อกูลกัน ชาวบ้านก็เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ใครอยากได้ผักอะไร รู้ว่าบ้านไหนปลูกก็ไปขอเก็บกินได้” รจนา อธิบายเธอบอกว่า แม้ตอนนี้โครงการจะจบไปแล้ว แต่ยังรู้สึกภูมิใจที่ได้นำโครงการจาก สสส.เข้ามาทำในชุมชน แม้จะไม่ใช่งบประมาณก้อนใหญ่ แต่กลับได้รับอะไรมากมาย นอกเหนือจากสุขภาพที่ดีขึ้น ประหยัดรายจ่ายแล้ว ยังเกิดความร่วมมือของคนในชุมชน เกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ เช่น กลุ่มทำไม้กวาด กลุ่มเลี้ยงไก่ ชาวบ้านไม่ได้หยุดอยู่กับที่

จำเนียน ใจยา สมาชิกโครงการ เล่าเสริมว่า โดยส่วนตัวประกอบอาชีพแม่ค้า เมื่อก่อนไปซื้อผักจากตลาดมาขาย ก็มองเห็นว่าชุมชนมีปัญหาสุขภาพของชาวบ้านไม่ค่อยดี กำไรก็น้อย ไม่พอใช้ พอมีโครงการปลูกผักปลอดสารเข้ามา ก็ถูกแกนนำชุมชนถามว่าจะเข้าร่วมไหม พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมา ชาวบ้านบริโภคผักปนเปื้อนสารพิษทั้งนั้น โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้านและกินอาหารและพืชผักที่ปลอดภัย จึงได้คิดว่าถ้าเราขายผักที่ปลอดภัยให้ลูกค้า ทั้งตัวเราและลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคก็จะปลอดภัยด้วย“แต่ละบ้านปลูกผักแตกต่างกันไปแล้วแต่ความชอบและความต้องการของแต่ละครัวเรือน พอได้ผลผลิตมากก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน เหลือกินก็แบ่งขาย เรียกว่าทำโครงการนี้แล้วสบายใจ สุขภาพก็ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วย เงินทองไม่ขาดมือ มีไว้จับจ่ายตลอด เพราะเราปลูกเองขายเอง ลดต้นทุนได้เยอะ  ตื่นเช้าสามีก็เข้าไปดูสวน มืดค่ำจึงจะกลับบ้าน แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ตื่นเช้าต่างคนต่างไปทำงาน คนละทิศละทาง สามีไปรับจ้างสร้างบ้าน ไม่มีเวลาทำงานร่วมกัน คุยกันก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่เดี๋ยวนี้มีอะไรก็ปรึกษากัน ว่าเราจะปลูกอะไรก่อน อะไรหลัง ทำแล้วมีความสุขกาย สบายใจ” สมาชิกโครงการรายเดิม กล่าวปัจจุบันชุมชนบ้านแม่อาว กลายเป็นหมู่บ้านต้นแบบใน ต.ยางคราม เป็นที่สนใจของหมู่บ้านใกล้เคียง และนำแนวคิดไปเขียนโครงการขอกองทุนท้องถิ่น จนได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.ยางคราม 10,000 บาท มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 80 ครัวเรือน จากทั้งหมู่บ้าน 115 ครัวเรือน โดย 1 ครัวเรือนทำเป็นอาชีพเกษตรอินทรีย์ 15 ครัวเรือนเหลือกินแล้วแบ่งขาย 80% ที่เหลือปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคเองภายในครัวเรือน.

 

You may also like

อว. นำทีมนักวิจัยและวิศวกร ร่วมประชุมทวิภาคีไทย-จีน ที่ฉางชุน เดินหน้ายกระดับความร่วมมือดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์อวกาศ เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ฉลอง 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน

จำนวนผู้