ปางช้างแม่สาจับมือม.แม่โจ้พัฒนาต่อยอดผลิตปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์ชีวภาพสู่การผลิตกาแฟหมักแห่งแรก

ปางช้างแม่สาจับมือม.แม่โจ้พัฒนาต่อยอดผลิตปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์ชีวภาพสู่การผลิตกาแฟหมักแห่งแรก

- in headline, รอบรั้วทั่วเหนือ

ปางช้างแม่สา ลงนาม MOU ร่วมกับม.แม่โจ้ วิจัยและผลิตปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์ชีวภาพ  ต่อยอดสู่การผลิตกาแฟหมักมูลช้างแห่งแรก เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ ช่วยเหลือในการเลี้ยงช้าง รวมทั้งสืบสานตำนาน 44 ปี ของปางช้างแม่สา และช่วยอนุรักษ์ช้างไทยแบบยั่งยืนต่อไป

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ที่บ้านโต้งหลวง ปางช้างแม่สา Maesa Elephant Camp ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ผศ.ดร.บัญญัติ มณเทียรอาสน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อม อาจารย์ ดร.ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ,รองศาสตราจารย์ ดร.วีระนันท์ ชัยมณี รองคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ MOU การวิจัยและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กับปางช้างแม่สา โดยมีนางอัญชลี กัลมาพิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปางช้างแม่สา จำกัด พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์รณชิต รุ่งศรี นายสัตวแพทย์ปางช้างแม่สา และนายวรพงษ์ คำนนท์ ที่ปรึกษาปางช้างแม่สา นายเดช ตานะ ผู้จัดการฝ่ายผลิตปุ๋ยมูลช้างอินทรีย์ และกระถางมูลช้าง

สำหรับข้อตกลงความร่วมมือ MOU ดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการทางด้านวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครบวงจร การหาช่องทางการตลาดในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการเกษตร การส่งเสริมความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากมูลช้าง เพื่อให้คุณภาพของปุ๋ยมูลช้างเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และเหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรอินทรีย์และชุมชนเมือง

นางอัญชลี กัลมาพิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปางช้างแม่สา กล่าวว่า นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ปางช้างแม่สาได้ปิดให้บริการจนกระทั่งมีการปลดล็อคให้เปิดดำเนินการได้แต่นักท่องเที่ยวหลักของปางช้างแม่สาคือกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศซึ่ งยังไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้ ทำให้รายได้เป็นศูนย์

อย่างไรก็ตามปางช้างแม่สาแม้เปิดให้บริการโดยเปิดให้เข้าชมฟรี แต่เนื่องจากยังมีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลช้างและพนักงานทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 5 ล้านบาท จึงต้องหารายได้และลดค่าใช้จ่ายลง โดยดำเนินการในหลายวิธีการทั้งการปลูกข้าว พืช ผักผลไม้ตามฤดูกาลเพื่อเลี้ยงช้างและคน ในปางฯ ตลอดปลูกหญ้าคุณภาพดีเพื่อนำมาเลี้ยงช้างที่มีอยู่เกือบ 80 เชือก และทำให้ได้มูลช้างคุณภาพดีประมาณวันละ 5-6 ตัน จึงได้ตั้งโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมา ซึ่งตามรอยรัชกาลที่ 9 โดยใช้พื้นที่รอบปางช้างใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลช้างบำรุงพืชผักซึ่งนำมาใช้ในครัวปางช้างแม่สาและแบ่งปันพนักงาน นอกจากนี้ยังปลูกข้าวเหนียวซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงช้างและคนในปางได้

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปางช้างแม่สา กล่าวอีกว่า ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับความอยู่ริดของช้างไทยในปางช้างแม่สาแห่งนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักจริงๆ ก็เพื่อให้ผลผลิตที่ได้จากช้างกลับมาดูแลช้างซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติของไทย โดยงดเว้นการฝึกช้าง ขี่ช้าง เพื่อไม่ให้ช้างต้องทำกิจกรรมต่างๆ ที่ฝืนความเป็นธรรมชาติของช้าง

จากนั้นนางอัญชลี ได้แถลงข่าวดร.ธีรพัฒน์ วงศ์วรทัต ประธานสมาคมกาแฟอาเซียน,รองประธานสมาคมกาแฟเอเชีย เกี่ยวกับการปลูกกาแฟ และดำเนินการผลิตกาแฟสูตรพิเศษ “กาแฟหมักมูลช้าง” ซึ่งจะผลิตเป็นครั้งแรกของไทยโดยดร.ธีรพัฒน์ชี้แจงว่า พื้นที่ของปางช้างแม่สามีความเหมาะสมที่จะปลูกกาแฟได้ และการทำกาแฟหมักมูลช้างจะทำที่ปางช้างแม่สาเป็นแห่งแรกของไทย หรืออาจจะเป็นแห่งแรกของโลกก็อาจเป็นได้ด้วย.

 

You may also like

ม้งดอยปุยและเครือข่ายม้ง 12 หมู่บ้านประกาศปิดป่าตั้งแต่ก.พ.-พ.ค.ห้ามคนนอกเข้าพื้นที่ พร้อมทำแนวกันไฟตั้งแต่ 5-15 ก.พ.68

จำนวนผู้