รับลมชมเลเบิกอรุณ กรุ่นกาแฟ ณ พัทลุง

รับลมชมเลเบิกอรุณ กรุ่นกาแฟ ณ พัทลุง

- in Exclusive, headline

ายลมพริ้วโชยปะทะใบหน้าเพิ่มความสดชื่น พร้อมกับขับไล่ความง่วงงุน อากาศยามเช้าตรู่เย็นสบาย เรือหางยาวลำน้อย ติดเครื่องยนต์โลดแล่นไปตามสายน้ำ กระทั่งถึงคลองปากประ อ. ควนขนุน จ.พัทลุง ตีนฟ้าเริ่มเปิดแต่ก้อนเมฆที่ลอยบดบังทำให้มองไม่เห็นแสงอาทิตย์ ยอขนาดยักษ์ปรากฏต่อสายตาทั้งฟากซ้ายและขวา คล้ายภาพวาดลายเส้นอันงดงาม ชาวบ้านบางคนกำลังใช้ปั้นจั่นขนาดเล็กยกยอขึ้นจากน้ำ เพื่อตักปลาใส่ถังไว้ขาย เรือหยุดนิ่งอยู่กับที่ให้ผู้โดยสารได้สัมผัสธรรมชาติและถ่ายรูปอย่างจุใจ ก่อนจะพาไปชมฝูงควายน้ำหลายร้อยตัว ที่พาเหรดขึ้นมาจากใต้น้ำ นับเป็นภาพที่ตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ว่ากันว่าเป็นการปรับตัวเพื่อดำรงชีพ ทำให้ควายบกในยามปกติกลายเป็นควายน้ำเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก  น้ำในทะเลน้อยมีปริมาณมาก ท่วมทุ่งหญ้าและแหล่งหากิน ควายจะดำน้ำหากินสายบัว ใบบัว หรือสาหร่ายแทนตีนฟ้าเริ่มยกสูง ก่อนแดดจะร้อนแรง คนเรือพาแวะชมทุ่งดอกบัวสาย หรือบัวแดง ที่แม้จะไม่ใช่ช่วงที่ดอกบานสะพรั่งตามฤดูกาล แต่ยังได้ชื่นชมบัวตูม บัวบานอย่างละลานตา พร้อมกับนกนานาชนิดอย่างใกล้ชิด เมื่อต่างพากันออกจากรวงรังมาหากินในยามเช้าอิ่มเอมใจจากทะเลน้อยแล้ว เรือหางยาวก็พากลับขึ้นฝั่ง ให้รับประทานอาหารเช้า ก่อนทีมงานจะพากันตระเวนจิบกาแฟแบบชิลๆ หวานน้อยอร่อยได้ ในเมืองพัทลุง เริ่มจากร้าน The Beat Beker ที่มีทำเลไม่ไกลจากทะเลน้อย ประเดิมด้วยลาเต้ร้อนหวานน้อย เพื่อเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกายปวัฒน์วงศ์ อรุณรัตน์ เจ้าของร้าน เล่าว่า ปกติที่ร้านขายได้ราว 40-50 แก้ว/วัน และมีคนสั่งหวานน้อยระดับ 25-50% ประมาณ 10 แก้ว ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และคนเมือง โดยเมนูยอดฮิตของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่กาแฟ แต่เป็นโกโก้น้ำเปล่า กับมัจฉะชาใส ซึ่งเมื่อลูกค้าสั่งเครื่องดื่มจะถามตลอดว่าหวานน้อยไหม เพื่อแนะนำและโปรโมทให้เขารู้สึกมีส่วนร่วมกับร้านกาแฟหวานน้อย เข้าถึงแนวคิดหวานน้อยเพื่อสุขภาพช่วงสายแดดเริ่มร้อน รถตู้เคลื่อนสู่ตัวเมืองพัทลุง  ก่อนแวะร้าน Sweet House No.3 ใน ต.คูหาสวรรค์ ซึ่งเป็นคาเฟ่อ่อนหวาน มีทั้งเบเกอรี่ กาแฟ เครื่องดื่ม  ที่สายรักสุขภาพไม่ควรพลาดก้องแก้ว คีตโมทนียกุล เจ้าของร้านบอกว่า หลังสถานการณ์โควิดรอบแรก คนเริ่มดูแลสุขภาพ กินหวานน้อยกันมากขึ้น ทุกเมนูในร้าน ไม่ว่าเบเกอรี่ หรือเครื่องดื่ม จึงทำแบบหวานน้อยกว่าร้านทั่วไป ส่วนเมนูที่นิยมเป็นกาแฟฟิวชัน เช่น กาแฟดำผสมน้ำผลไม้ ที่พัฒนามาจากอเมริกาโนเย็นออกจากร้านกาแฟ คณะวนเที่ยวและซื้อของฝากกันอย่างสนุกสนาน จนถึงช่วงบ่าย เริ่มคอแห้ง โหยหาเครื่องดื่มเย็นๆ กันอีกครั้ง จึงเลือกร้าน ANEW คาเฟ่สไตล์มินิมอล มีทั้งโซนติดแอร์ และโซนธรรมชาติด้านนอก ที่ว่างเล็กๆ ถูกออกแบบเป็นสวนญี่ปุ่นย่อมๆ ชวนให้เพลินตาเพลินใจศศิศ เธียรมนตรี เจ้าของร้าน อธิบายว่า ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายร้านกาแฟหวานน้อยตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการ เมื่อ 6 เดือนก่อน เพราะสังเกตว่าบางร้านลูกค้าไม่กล้าสั่งหวานน้อย และบางร้านแม้จะสั่งหวานน้อย ก็ยังหวานมากอยู่ ไม่ตรงกับความต้องการ โดยที่ร้านจะทำเบเกอรี่บางอย่างเอง และบางอย่างสั่งมา แต่เน้นให้ลดความหวานลงสำหรับเครื่องดื่ม วันหนึ่งๆ ขายได้ 50-60 แก้ว ลูกค้าชอบสั่งอเมริกาโน่ กับลาเต้เย็น ระดับหวานน้อยกับไม่หวานเลย ราว 60-70% ของลูกค้าทั้งหมด อีก 30% สั่งหวานปกติ และมีเพียง 3% ที่สั่งเพิ่มความหวานทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และผู้จัดการเครือข่ายรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน อธิบายว่าเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานพยายามทำให้ร้านกาแฟที่มีขายอยู่ทั่วประเทศเป็นร้านกาแฟทางเลือกสำหรับประชาชน ให้สามารถสั่งกาแฟอ่อนหวานได้  เพราะมีเป้าหมายดูเรื่องน้ำตาลเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่สุ่มเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้นเบื้องต้นจึงหวังว่าเมื่อคนสั่งกาแฟ  คำว่าลดน้ำตาล หรือลดหวานจะกลายเป็นคำติดปาก ตอนนี้ผู้ขายส่วนใหญ่จะถามลูกค้าว่าอ่อนหวานไหม แต่เป้าหมายเครือข่าย คือกระตุ้นให้ผู้บริโภคสั่งลดหวาน หรือหวานน้อย ซึ่งเราทำมาเกือบ 10 ปีแล้วเริ่มจากร้านกาแฟเล็กๆ แค่ 2-3 ร้าน ตอนนี้มีเครือข่ายร้านกาแฟอ่อนหวานทั่วประเทศอยู่ มากกว่า 1,000 ร้านสำหรับที่ จ. พัทลุง ถือเป็นระยะเริ่มต้นมีร้านกาแฟเข้าร่วมเครือข่าย 16 ร้าน แต่เนื่องจากเครือข่ายสาธารณสุขในพื้นที่ ที่ร่วมมือกับเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานมีความเข้มแข็งมาก จึงมองว่ามีศักยภาพสูงในการที่จะขยายเครือข่ายร้านกาแฟอ่อนหวานได้อีกมากเยือนพัทลุงครั้งนี้ จึงถือว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง ได้สัมผัสธรรมชาติในทะเลน้อยอย่างใกล้ชิด และเติมความสดชื่นรื่นรมณ์ในร้านกาแฟอ่อนหวาน แบบไม่ต้องกลัวความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดอีกต่อไป เพราะล้วนเป็นร้านกาแฟทางเลือก หวานน้อยสั่งได้.

You may also like

การแข่งขัน “สุดยอดเชฟสร้างสรรค์ อาหารเหนือ” โดยเชฟชุมชน (Local Chef)ทีมหมู่บ้านสร้างดาว คว้ารางวัล 3 หมื่นบาทปรุงเมนู”ผักเชียงดา”ถูกปาก+ใจชาวต่างชาติที่เป็นกรรมการ

จำนวนผู้