“สถานการณ์ pm2.5 นโยบายที่ประเทศไทยต้องทำ”

“สถานการณ์ pm2.5 นโยบายที่ประเทศไทยต้องทำ”

- in headline, นานาทัศนะ

คณะนิติศาสตร์ มช.ร่วมกับเครือข่ายจัดเวทีเสวนา “สถานการณ์ pm2.5 นโยบายที่ประเทศไทยต้องทำ”เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ และแนวทางการแก้ปัญหาในเชิงระบบ ทำให้ทราบถึงต้นตอ สาเหตุ โครงสร้างของปัญหา และพฤติกรรมของฝุ่นควันพิษ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2564 ที่ห้องฝ้ายคำ สำนักบริการวิชาการ หาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการเสวนา“สถานการณ์ PM2.5 นโยบายที่ประเทศไทยต้องทำ” (Round Table Dialog on PM2.5 : Thailand Guiding Policy) ซึ่งคณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เครือข่ายสภาลมหายใจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาภาคเหนือ ร่วมกันจัดขึ้นโดยมี พันตำรวจตรียงยุทธ สาระสมบัติ สมาชิกวุฒิสภา พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายหน่วยงานร่วมเสวนาฯ 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาและเป็นแหล่งของการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆและตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมมลพิษทางอากาศ โดยมีศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และคณะ/ภาควิชาต่างๆ รวมตัวกันได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปรากฎการณ์มลพิษทางอากาศ พร้อมๆไปกับการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆรวมถึงเทคโนโลยีการตรวจวัดสภาพอากาศที่เกิดจากการทำงานร่วมกันในเชิงเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาและสถาบันทางวิชาการทางสิ่งแวดล้อมต่างๆเพื่อสร้างระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ และแนวทางการแก้ปัญหาในเชิงระบบ ทำให้ทราบถึงต้นตอ สาเหตุ โครงสร้างของปัญหา และพฤติกรรมของฝุ่นควันพิษ

การเสวนาวิชาการเพื่อติดตามและประเมินระบบการแก้ปัญหา PM2.5 ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือโดยคณะนิติศาสตร์และเครือข่ายองค์กรต่างๆครั้งนี้ ค้นพบว่า

1. ในปีนี้ จากการตรวจสอบจุดความร้อนโดยระบบดาวเทียมภาพรวมโดยส่วนใหญ่พบว่า พื้นที่ภาคเหนือภายในประเทศมีจุดความร้อนที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกัน แต่สำหรับพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่มีจุดความร้อนหนาแน่น เข้มข้น รวมถึงในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านในทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้เกิดฝุ่นพิษข้ามแดนมายังประเทศไทย

  1. แม้จะมีการเตรียมการรับมือสถานการณ์สาธารณภัยจากฝุ่นพิษขนาดเล็กของหน่วยงานต่างๆอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการเตรียมการที่เป็นการตั้งรับ ยังไม่มีนโยบายเชิงรุกอย่างแท้จริงที่จะต้องดำเนินการกันตลอดทั้งปี แทนที่จะต้องรอแก้ปัญหาที่เริ่มเกิดขึ้นในช่วงต้นปี จึงต้องมีนโยบายเพื่อปรับแผนการจัดการฝุ่นควันขนาดเล็กเสียใหม่ 3. แผนการเพื่อรองรับสถานการณ์ฝุ่นควันพิษขนาดเล็กที่จัดทำขึ้นในแต่ละจังหวัดของพื้นที่ภาคเหลือ ยังไม่มีการบูรณาการแผน บูรณาการทรัพยากรด้าน งบประมาณ กำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์จึงทำให้การดำเนินการต่างๆไม่สามารถที่จะบรรลุผลได้ตามแผน
  2. แม้ระบบการจัดการฝุ่นควันพิษภายในประเทศจะดีขึ้นโดยภาพรวม แต่ยังขาดนโยบายการจัดการฝุ่นควันพิษข้ามแดนซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาในเวทีประชาคมอาเซียน
  3. นโยบายในระยะยาวที่ประเทศไทยต้องดำเนินการคือการเปลี่ยนโครงสร้างของระบบการผลิตพืชผลทางการเกษตรและโครงสร้างของระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจBCG
  4. มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องผลักดันให้มีกฎหมายเพื่อรับรอง “สิทธิในอากาศสะอาด” ให้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขสถานการณ์สาธารณภัยจากฝุ่นพิษขนาดเล็ก

 

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้