หนุนคนแม่แจ่มทำ Forest Farm ปลูกไม้สร้างป่า-รายได้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

หนุนคนแม่แจ่มทำ Forest Farm ปลูกไม้สร้างป่า-รายได้ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

เชียงใหม่ (25 มิ.ย.60) / พลเมืองเชียงใหม่ หนุนคนแม่แจ่มปลูกไม้ สร้างป่า สร้างรายได้ ทุกฝ่ายย้ำการแก้ไขปัญหาดอยหัวโล้น เลิกมองป่าเป็นที่ตั้ง แต่เน้นยกระดับคุณภาพชีวิตคนอยู่ป่าเป็นหลัก อธิบดีกรมป่าไม้แจงต้องรีบขจัดความหวาดระแวงระหว่างรัฐกับประชาชน หันมาฟื้นฟูป่าตามรูปแบบที่ประชาชนเห็นสมควร เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่บ้านแม่ขี้มูกน้อย ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ได้มีกิจกรรม “รวมพลังพลเมืองเชียงใหม่ สานพลังคนเมืองแม่แจ่ม ปลูกไม้ สร้างป่า สร้างรายได้ ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีนายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ และนายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานเปิดงาน และมีภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม กว่า 200 คนนายปวิณ กล่าวว่า งานวันนี้ เกิดจากนโยบายของกระทรวงมหาดไทย (มท.) กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญที่สุดคือโจทย์ไม่ได้อยู่ที่พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น แต่อยู่ที่การทำให้พี่น้องประชาชนที่อยู่กับป่ามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ตามแนวที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร.9 ได้พระราชทานไว้นั่นเองนายชลธิศ  กล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาบริหารประเทศ เมื่อปี 2557 นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งคือคำสั่ง คสช.ที่ 66/57 ลงวันที่ 17 มิ.ย.57 ความตอนหนึ่งคือการกระทำใดๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ขอให้ความสำคัญประชาชนผู้ยากไร้ คนไร้ที่ทำกิน จึงเป็นที่มาของโครงการต่างๆ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถือปฏิบัติมาตลอดในการแก้ไขความเป็นอยู่ของประชาชนตอนนี้กรมป่าไม้ให้ความสำคัญของพี่น้องประชาชนที่อยู่ในป่า ในอดีตกรมป่าไม้อาจให้ความสำคัญของการที่ทำอย่างไรให้ป่าเพิ่มทำอย่างไรให้ป่าไม่หาย มองพี่น้องประชาชนเป็นผู้ทำลายพื้นที่ป่า แต่วันนี้การแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ ไม่ได้มองป่าเป็นที่ตั้ง แต่มองพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร และกระทรวงพาณิชย์ ได้จับมือกัน เพื่อแก้ไขปัญหาและก้าวต่อไป  “สิ่งที่ผ่านมาเป็นเพียงความหวาดระแวงของทั้งสองฝ่ายที่ไม่เข้าใจกัน แต่วันนี้การก้าวต่อไปภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ มีความชัดเจนแล้วว่าการปฏิรูปประเทศ จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่มีพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งนายกฯ พูดเสมอว่าอย่าทิ้งคนไทยไว้ข้างหลัง อย่าทิ้งคนทุกข์ยากไว้ข้างหลัง นั่นถือเป็นที่มาของการแก้ไขปัญหาในรูปแบบของแม่แจ่มโมเดล เพราะไม่ว่าจะเป็นมติรัฐมนตรี หรือเส้นเขตแดน เป็นแค่เรื่องสมมติ สิ่งที่กำลังจะทำต่อไปต่างหากที่เป็นเรื่องจริง นั่นคือทำอย่างไรให้ประชาชนแม่แจ่มมีชีวิตดีขึ้น มีความมั่นคงทางทรัพย์สิน สิ่งที่รัฐบาล กระทรวงทรัพย์ฯ กระทรวงมหาดไทยต้องการ คือพื้นที่ป่าที่มีอยู่ได้รับการฟื้นฟูตามรูปแบบที่ประชาชนเห็นสมควร ที่เรียกว่า forest landscape” อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าว ดังนั้นการดำเนินการทุกขั้นตอน ต้องเริ่มจากหมู่บ้าน ไม่ใช่เริ่มจากอยากได้นั่นได้นี่ อยากได้ป่า อยากให้คนเลิกทำนู่นนี่ แนวคิดของรัฐบาลปัจจุบันอยู่ที่การออกแบบการใช้ที่ดินร่วมกัน (forest landscape) นับจากนี้ไป จึงขอให้เราเชื่อใจกัน ช่วยกัน และมั่นใจว่าแม่แจ่มจะเป็นต้นแบบแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่ทำให้ความหวาดระแวงระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนหมดไป นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศด้านนายเดโช ไชยทัพ กรรมการผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีเชียงใหม่ จำกัด เปิดเผยถึงที่มาของการจัดการป่าแบบ Forest Farm  ว่าเป็นเพราะรัฐ หรือภาคส่วนต่างๆ ไม่สามารถยึดคืนพื้นที่มาปลูกป่าได้ ทั้งที่มีความพยายามมานาน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะชาวบ้านบอกว่าเป็นพื้นที่ทำกินของพวกเขา จึงต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ ว่าถ้าให้พื้นที่ยังคงมีสภาพเป็นป่า ขณะเดียวกันก็มีการใช้ประโยชน์ไปด้วย เช่น ปลูกกาแฟ และไม้ให้ร่มเงา เขาก็จะได้ประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจเหล่านี้“หลักคิดนี้ ทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ เช่น บราซิล ซึ่งมีปัญหามากช่วง 70-80 ปีก่อน ที่ดอยหัวโล้นหมด คนขึ้นไปบุกรุกตัดป่า แล้วปลูกกาแฟเชิงเดี่ยว เขาจึงเปลี่ยนท่าที และได้แนวคิดว่าต้องนำศาสตร์เรื่องนิเวศวิทยา สังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ มารวมกัน แล้วเขาก็ทำสำเร็จจนหลายประเทศทยอยนำไปทำตาม แต่ของเรายังไม่ลึกซึ้งเรื่องนี้ จึงคิดว่าควรหาวิธีการสื่อความหมาย Forest Farm เปลี่ยนวิธีคิดในการแก้ไขปัญหา แทนที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปยึดคืนพื้นที่แล้วปลูกป่า ซ้ำบางทีก็ไม่มีงบประมาณปลูก พอปลูกได้ชาวบ้านก็ตัดอีก ดังนั้นถ้าเปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้ให้มีสถานะทางระบบนิเวศเป็นที่ทำกินของชาวบ้าน น่าจะแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า” กก.ผจก.บจก.ประชารัฐรักสามัคคีเชียงใหม่ กล่าวที่สำคัญ จะเห็นว่าหลายพื้นที่ปลูกข้าวโพด ได้กำไรแค่ปีละ 1,500-2,500 บาท แล้วดินก็เสื่อม เกิดการชะล้างหน้าดินอย่างรุนแรง ทุกคนรู้ว่าเป็นผลเสีย จะเกิดผลกระทบรุนแรงตามมา แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีคิด คือทำอย่างไรให้เกษตรกรได้ประโยชน์ด้วย อาทิ ปลูกกาแฟแทนข้าวโพด 1 ไร่ 400 ต้น เก็บผลผลิตได้ 900-1,000 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 20 บาท ก็ร่วม 20,000 บาท/ปี/ไร่ เพียงแค่ดูแลให้ดี จึงเกิดคำว่า Forest Farm ขึ้น.

You may also like

ท่าอากาศยานเชียงใหม่เผยช่วงเทศกาลนำผู้โดยสารเพิ่มจากปกติเกือบ20%

จำนวนผู้