หมอหม่อง”ค้านแนวทางปลูกพญาเสือโคร่งบนดอยสุเทพ-ปุยเพียงแค่ส่งเสริมท่องเที่ยว

หมอหม่อง”ค้านแนวทางปลูกพญาเสือโคร่งบนดอยสุเทพ-ปุยเพียงแค่ส่งเสริมท่องเที่ยว

หมอหม่อง”ค้านแนวทางปลูกพญาเสือโคร่งบนดอยสุเทพ-ปุยเพียงแค่ส่งเสริมท่องเที่ยว แนะควรแยกทำเป็นพื้นที่เฉพาะ ชี้สิ่งที่ผู้ว่าฯควรเร่งทำให้จัดระเบียบชุมชน แก้ปัญหาน้ำเสียและสุนับจรจัด

ตามที่ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนนำทีมส่วนราชการ และพี่น้องชาวเขาบ้านม้งดอยปุย ร่วมกันปลูกต้นนางพญาเสือโคร่ง หรือ ต้นซากุระเมืองไทย จำนวน 12,000 ต้น ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย ที่ 1 (ผาดำ) รวมถึงริมสองฝั่งถนนที่เป็นเส้นทางมุ่งสู่ดอยสุเทพ-ปุย ในเขตพื้นที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และสร้างความสวยงามให้กับเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งหวังให้เป็นจุดแลนด์มาร์คในการท่องเที่ยวทางธรรมชาติบนดอยสุเทพ-ปุยนั้น

โดยผวจ.เชียงใหม่ระบุว่า ต้นนางพญาเสือโคร่งถือเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมาบนยอดดอยเพื่อมาสัมผัสกับความสวยงามและถ่ายรูปกับต้นนางพญาเสือโคร่ง หรือ ต้นซากุระเมืองไทย ที่บานสะพรั่งดุจดั่งอยู่ท่ามกลางสวนซากุระในต่างประเทศ และกำลังขยายผลไปปลูกในหลายๆ พื้นที่ ซึ่งขณะนี้ จังหวัดเชียงใหม่กำลังเร่งขยายพันธุ์กล้าต้นนางพญาเสือโคร่ง เพื่อแจกจ่ายให้กับอำเภอหรือพื้นที่ต่างๆ ที่มีความสนใจจะนำไปปลูกสร้างความสวยงามตามโครงการ โดยมีความตั้งใจที่จะเดินหน้าปลูกให้ได้ถึง 1 ล้านต้น ภายในปีหน้านี้

ขณะที่นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ นักดูนก นักอนุรักษ์ และนักสื่อสารเรื่องราวจากธรรมชาติ เจ้าของรายการ “อ่านป่ากับหมอหม่อง”ได้แสดงความเห็นในเฟสบุ๊คของนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.เชียงใหม่ โดยกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยครับเรื่องการปลูกต้นพญาเสือโคร่ง ตลอดสองข้างทาง ขึ้นดอยสุเทพปุยปั เพราะจจุบัน ป่าสองข้างทาง ดีมากอยู่แล้วจากตีน(เชิง)ดอยได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากนิเวศป่าตามระดับความสูงต่างๆ จาก เต็งรัง เป็น เบญจพรรณ เป็น ดิบเขา และ ป่าดิบเขาสูงนับเป็นการเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศตามระดับความสูงที่ดีมากเป็นเอกลักษณ์ เป็นคุณค่าแท้จริงในตัวมันอยู่แล้วอ แบะขอย่านำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเลย

“หมอหม่อง”กล่าวอีกว่า ในธรรมชาติ พญาเสือโคร่ง Prunus cerasoides ขึ้นปะปนกระจาย ไม่ใช่พืชเด่น ตนเข้าใจว่า อยากสร้างจุดขายแ ต่มันจะเป็นเรื่องผิวเผิน ขาดความเข้าใจในระบบนิเวศ ถ้าต้องการ ปลูกเป็นกลุ่ม ควรแยกทำเป็นบริเวณเฉพาะ ที่จัดเป็นสวนไม่ควรเอามาทดแทนป่า หรือ เบียดบังคุณค่าป่าดั้งเดิม

นอกจากนี้”หมอหม่อง” ยังได้เสนอแนะอีกว่า สำหรับ ดอยสุเทพ-ปุยสิ่ งที่อยากเห็นคือ1. จัดระเบียบ ความเรียบร้อย ชุมชน ปรับปรุงทัศนียภาพโดยเฉพาะ ชุมชนแออัด ตรงข้าม พระธาตุดอยสุเทพ

2. ปรับปรุง ระบบน้ำเสียน้ำทิ้งของชุมชน ที่มีผลต่อ คุณภาพ น้ำน้ำตกรับเสร็จ ที่มีค่า coliform bacteria สูงลิ่ว

3. แก้ปัญหา สุนัขจรจัด บนเส้นทาง

4 เนื่องจาก ภูพิงค์ราชนิเวศน์ ปัจจุบัน แทบไม่มีการเสด็จมา และพิจารณาลด ย้าย หน่วยงานจำนวนมากที่ไม่มีความจำเป็นลง

ทั้งนี้มีผู้สนับสนุนจ้อเสนอของหมอหม่อง โดยเฉพาะเรื่องความหลากหลายและระบบนิเวศทางธรรมชาติคือสิ่งสวยงาม ประเมินค่าไม่ได้ และอยากให้ผู้ว่าฯคำนึงเรื่องการเดินทาง โดยยกตัวอย่างช่วงซากุระเมืองไทยหรือพญาเสือโคร่งบานพบว่าจำนวนรถขึ้นไปหนาแน่นและเกิดอุบัติเหตุบ่อยเนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่ชำนาญทาง และหากปลูกสองจ้างทางต่อไปนักท่องเที่ยวจะตอดรถถ่ายรูปและเกิดอันตรายได้

แต่ถ้าจัดพื้นที่เฉพาะการจัดการจะง่ายกว่า รวมทั้งอยากให้เพิ่มถังขยะบริเวณจุดขมวิวทุกจุด ความสะอาดจะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวประทับใจ

ล่าสุดช่วงเช้าวันที่ 6 ก.ย.66 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.เชียงใหม่ได้ลบโพสต์ดังกล่าวออกจากเฟสบุ๊คแล้วหลังจากที่เมื่อคืน(5ก.ย.)มีผู้แชร์ข้อความของหมอหม่องจำนวนมาก.

You may also like

เริ่มแล้วกับงาน“AMAZING CHIANG MAI COUNTDOWN 2025”เข้าชมฟรีททท.คาดเงินสะพัด3.5 พันล้านบาท เผยยอดจองที่พักพุ่งกว่า 91%

จำนวนผู้