“กัลยาณิวัฒนา” อำเภอป่าต้นน้ำคุณธรรม ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

“กัลยาณิวัฒนา” อำเภอป่าต้นน้ำคุณธรรม ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

- in Exclusive

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยือนวัดจันทร์ปกาเกอะญอมือเจะคี ครั้งแรก วันที่ 17  กุมภาพันธ์ 2522  ที่บ้านหนองเจ็ดหน่วย โรงเรียนสหมิตรวิทยา  หมู่ที่ 4  ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วันที่  7 กรกฎาคม  2552  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อจัดตั้ง”อำเภอกัลยาณิวัฒนา”  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  ด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้

อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอคุณธรรมป่าต้นน้ำ ตามรอยพระยุคลบาทได้แยกตัวจากอำเภอแม่แจ่ม เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2552 เป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัดเชียงใหม่ และอันดับที่ 878 ของประเทศไทย  มีเขตการปกครอง  22 หมู่ที่  3 ตำบล คือ ตำบลบ้านจันทร์ ตำบลแจ่มหลวงและตำบลแม่แดด มีประชากรเพียง 12,000 คน มีปกาเกอะญอมากที่สุดถึงร้อยละ98

สภาพพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาหรืออำเภอมือเจะคี เป็นป่าสนสองใบ ปกาเกอะญอเรียกว่า”โชรงซู”และป่าสนสามใบ ปกาเกอะญอเรียกว่า “โชรงบอ” มีมากถึง 150,000 ไร่ จากพื้นที่ป่า 400,000 กว่าไร่ นอกนั้นสภาพป่าเป็นป่าที่ปกาเกอะญอเรียกว่าผู้หญิง”เกอะเนอมื่อ ป่าดิบชื้น” ป่าผู้ชาย”เกอะญอพา” ป่าดงดิบ และ ป่าเบญจพรรณ  มีภูเขาสูงชันล้อมรอบ มีการจำแนกพื้นที่ป่าไม้และภูเขา 378,245 ไร่ การเกษตร 30,391 ไร่ ที่อยู่อาศัย 3,327 ไร่ และพื้นที่โล่งสาธารณะ 4,635 ไร่

กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่แจ่ม ทับพื้นที่ดังกล่าวในปี พ.ศ. 2517 และมีมติคณะรัฐมนตรี. ได้กำหนดเป็นป่าต้นน้ำลำธาร คุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1A 1B คุณภาพลุ่มน้ำ 2,3,4,5, ประกาศทับพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2528 ที่อยู่อาศัย พื้นที่ดินที่ทำกินของประชาชน 99.99%ไม่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดินใน

ปัจจุบัน การท่องเที่ยวมีความพยายามพัฒนาเข้าสู่ประตูมหาวิทยาลัยนอกระบบ เพื่อการท่องเที่ยวเป็นอำเภอปายแห่งที่ 2  ทำให้ประชาชนกรต่างถิ่น ต่างแดนไหลเข้ามามากขึ้น  ทั้งๆที่อยู่อาศัย พื้นที่ดินที่ทำกินของประชาชน 99.99%ไม่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน อาจจะมีผลกระทบต่อทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ลดลงด้วยความเร็วแรงสูงในอนาคตเร็วๆอันใกล้ๆนี้อย่างแน่นอนที่สุด

สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (PASED)เป็นองค์การสาธารณกุศล ลำดับที่ 799  ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มีบทบาทและทำงานร่วมกับพหุราชการ ภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนในภาคเหนือตอนบน มานานมีความเข้าใจและตระหนักถึงให้ความสำคัญปัญหาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ปกครองอำเภอกัลยาณิวัฒนา สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่  สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ (1) เชียงใหม่ กรมป่าไม้  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช 

ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ สำนักงานเกษตรอำเภอกัลยาณิวัฒนา  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรพื้นที่สูงวัดจันทร์ กรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

ดำเนินการโครงการชุมชนปกาเกอะญอจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ในมิติวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข็มแข็งขององค์กรชุมชน ส่งเสริมละพัฒนากฎระเบียบหมู่บ้าน และพัฒนากลไกประชารัฐความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนและเพิ่มความร่วมมือการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณปกาเกอะญอ  ป่าต้นน้ำคุณธรรม ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งมีรูปแบบกลไกการทำงานโครงการประชารัฐ ตามประกาศของจังหวัดใหม่ ลงวันที่ 14  พฤศจิกายน  2559

1.ที่ปรึกษาโครงการ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พระครูวุฒิธรรมาภิวัฒน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยวิทยาเขตล้านนา  อธิบดีกรมป่าไม้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี  ประธานมูลนิธิโครงการหลวง และพลเอกสุรินทร์   พิกุลทอง  ประธานอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยง  สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี

2.กรรมการอำนวยการโครงการ  มีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานกรรมการอำนวยการ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (กลุ่มภารกิจด้านความมั่นคง) รองประธานกรรมการอำนวยการ

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการอำนวยการและเลขานุการ

3.คณะทำงานโครงการ  มีนายอำเภอกัลยาณิวัฒนา เป็นประธานคณะทำงานโครงการ

นายกสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นคณะทำงานและเลขานุการ

              จากความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนในอดีตที่ผ่านมา ได้เกิดการสรุปบทเรียนในหลายๆฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ดูแลทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก และภาคประชาชน นักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ได้พยายามค้นหาแนวทางการทำงานร่วมกัน ให้เกิดกลไกภาคีความร่วมมือของทุกภาคส่วน

ในรูปแบบการจัดการร่วมหรือ Co-Management Approach ซึ่งทำงานภายใต้การยอมรับร่วมและความร่วมมือกันมากขึ้น ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยอาทิเฉกเช่น แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ 1:4,000 ระบบข้อมูล GIS และGISDA  ทำให้เกิดความชัดเจนระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ทำกินของชุมชนและที่อยู่อาศัย พื้นที่ทางจิตวิญญาณ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่สำคัญ คือ ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม                           (Environmental Governance) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs การขับเคลื่อนการทำงานในระดับพื้นที่ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ให้เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะพื้นที่ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ลุ่มน้ำชั้น 1A 1B เป็นส่วนใหญ่ มีปัญหาในด้านการเข้าถึงสิทธิชุมชนในที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน และป่าชุมชน

การจัดระเบียบที่ดินป่าไม้ อำเภอกัลป์ยาณิวัฒนา ในปัจจุบันเป็นการต่อยอดโครงการต้นแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแม่แจ่ม อำเภออมก๋อยและอำเภอกัลยาณิวัฒนา  ปี 2552-2554 ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธาน  การบริหารจัดการที่อยู่อาศัย พื้นที่ดินที่ทำกิน พื้นที่ทางจิตวิญญาณ ร่วมกับภาครัฐตามสภาพความเป็นจริง ตามที่ดร.ชลธิศ สุรัสวดี  อธิบดีกรมป่าไม้ได้กล่าวว่า “มติ ครม.เป็นเพียงสิ่งสมุตติเท่านั้น” การแก้ปัญหาถ้าขาดความร่วมมือกับประชาชน จะใช้กฎหมาย ใช้ มติ ครม. กี่ฉบับก็ไม่ได้ผล  ภาครัฐต้องแสวงหาความร่วมมือกันในรูปแบบกลไกประชารัฐ มีพหุวัฒนธรรม ราชการ  องค์กรพัฒนาเอกชน NGO สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนักวิชาการ ร่วมมือกันสำรวจข้อมูลและจำแนกเป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ดินที่ทำกิน พื้นที่ทางจิวิญญาณ และเขตป่าไม้ได้ชัดเจน มีป่าต้นน้ำคุณธรรมตามรอยพระเบื้องยุคลบาท แนวพระราชดำริ วิชาการ และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างลงตัว  นำไปส่งการรักษาพื้นที่ป่าไว้ได้และมีความยั่งยืน

โครงการชุมชนปกาเกอะญอจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ป่าไม้อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มีนายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา ประธานคณะทำงานโครงการ ให้ความสำคัญเรื่อง มิติวัฒนธรรม ประเพณี บทบาทหญิงชาย การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาระเบียบกติกากฎระเบียบหมู่บ้าน เพื่อการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของอำเภอกัลยาณิวัฒนา

ได้น้อมนำแนวพระราชดำริหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คือ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา  ทำให้อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ มีป่าถึง 85% ฐานมาจากกฎจารีต วัฒนธรรมประเพณี และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนหรือ“ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าได้ ป่าอยู่เพราะชุมชนดูแลร่วมกับภาครัฐ”

ตลอดระยะเวลา 1 ปี งบประมาณ 2560  ปกครองอำเภอ องค์กรพัฒนาเอกชน NGOs  องค์กรศาสนา องค์กรเครือข่ายภาคประชาชน ภาควิชาการ ภายใต้การนำพาของนายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา ไม่ได้ใช้ กฎหมาย คำสั่งทางปกครอง หรือ คสช. กับประชาชนแม้แต่ครั้งเดียว เพียงน้อมนำหลักการทรงงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คือ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา โดยความร่วมมือทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม จึงส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสิ่งแวดล้อมของอำเภอกัลยาณิวัฒนาในภาพรวมได้เกิดมรรค ผลที่เป็นรูปธรรมกล่าวคือ

1.อำเภอกัลยาณิวัฒนาคุณธรรมป่าต้นน้ำตามรอยพระยุคลบาท โดยความร่วมมือทุกภาคส่วน สามารถจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่า มีHOT SPOTS เป็นศูนย์ ของจังหวัดเชียงใหม่  และได้ถอดบทเรียนและรู้ผลกระทบจากไร่หมุนเวียนที่เผาล่าช้าออกไป มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว พืชผักในไร่หมุนเวียน จำนวนหนึ่ง ทางจังหวัดเชียงใหม่และอำเภอกัลยาณิวัฒนา ได้ให้ความช่วยเหลืองชั้นหนึ่งแล้ว  ในปีต่อไปต้องพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการวิธีการควบคุมการเผาส่วนของทางราชการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวไร่หมุนเวียนด้วย

2.สามารถขอคืนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมแก่การเพราะปลูก และประชาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ขยายพื้นที่ทำกินใหม่ ที่ผิดกติกากฎระเบียบหมู่บ้าน จารีตประเพณีโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ 1: 4,000 ของจีสด้า และข้อมูลวิชาการของศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ)  คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ประชาชนสมัครใจยอมคืนพื้นที่ทำกิน 5,100 ไร่ ให้เป็นป่าชุมชนของหมู่บ้าน มีภาคราชการ ภาคประชาชน  องค์กรพัฒนาเอกชน NGOs  องค์กรศาสนา ร่วมติดตามผลทุก 3 เดือน

  1. สามารถควบคุมไข้เลือดออก สิ่งผิดกฎหมายและยาเสพติด การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในเทศกาลปีใหม่และสงกราน 7 วัน อันตรายได้เป็นศูนย์

5.ฟื้นฟูสืบทอดการอนุรักษ์ป่ามิติวัฒนธรรม ประเพณี บทบาทหญิงชาย และพัฒนาหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมโดยความร่วมมือกับผู้อำนวยการ คณะครูสถาบันการศึกษา 4 โรงเรียนคือ โรงเรียนสหมิตรวิทยา โรงเรียนสามัคคีสันม่วง โรงเรียนบ้านแจ่มหลวง และโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ อำเภอกัลยาณิวัฒนา มีนักเรียน กลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้นำชุมชนเข้าร่วม590 คน

6.เป็นอำเภอที่มีการลงทะเบียนทำบัตรจิตอาสา ช่วยงานพระราชทานพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ถึง 2,479 ท่านเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่

7.ปกครองอำเภอกัลยาณิวัฒนา สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม(PASED) สำนักงานเกษตรอำเภอกัลยาณิวัฒนา ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์  ได้เสริมสร้างให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้กลุ่มมีรายได้เสริมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ มาดำเนินการบริหารชีวิตและครอบครัว  7  กลุ่มคือ

1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านสันม่วง

  1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านกิ่วโป่ง
  2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนบ้านแจ่มน้อย

4.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมทอผ้าอำเภอกัลยาณิวัฒนา

5.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตการเกษตร

6.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านแจ่มน้อย

7.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านห้วยยา

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติไว้วางใจมอบหมายพี่น้องชาวอำเภอกัลยาณิวัฒนา ปลูกดอกดาวเรือง 70,000 ต้นเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร  26  ตุลาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษาจังหวัดเชียงใหม่ และขอขอบคุณสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของโครงการอำเภอกัลยาณิวัฒนาป่าต้นน้ำคุณธรรม ตามรอยพระเบื้องยุคลบาท.

 

เขียนโดยนายพร้อมพล   สัมพันธโน  นายกสมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (PASED

 

You may also like

ท่าอากาศยานเชียงใหม่เผยช่วงเทศกาลนำผู้โดยสารเพิ่มจากปกติเกือบ20%

จำนวนผู้