เครือข่ายเกษตรธรรมชาติปรับตัวรับโควิด เปลี่ยนขายออนไลน์ลูกค้าเพิ่ม70%

เครือข่ายเกษตรธรรมชาติปรับตัวรับโควิด เปลี่ยนขายออนไลน์ลูกค้าเพิ่ม70%

วิกฤติโควิด-19 สร้างโอกาสให้ผู้บริโภค ให้ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น สั่งออนไลน์เลือกซื้อหาอาหารได้ แต่สำหรับผู้ผลิตบางพื้นที่ มีผลผลิตแต่ขายไม่ได้ จึงเข้าขั้นวิกฤติ เพราะประชาชนไม่ออกจากบ้านกลัวติดเชื้อไวรัส เรียกได้ว่า โควิด-19 สร้างทั้งวิกฤติและโอกาสให้กับประชาชน ในฐานะเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารเคมี กาสมา กศิณปัภสูต หรือ คุณหนุ่ย แห่ง “ฟาร์มผักบ้านบุญรักษ์” อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ภายใต้ช่วยเหลือดูแลของ มูลนิธิ เอ็มโอเอ ไทย (MOA Thai) เล่าถึงผลดีผลเสียต่อสถานการณ์ปัจจุบันให้ฟังว่า ในระยะ เดือนที่ผ่านมานี้ วิกฤติไวรัสโควิด-19 กลับส่งผลดีให้กับผักปลอดสารพิษ ผลผลิตจากเกษตรธรรมชาติในพื้นที่ของเธอ เพราะมีผู้บริโภคตอบรับผลผลิตจากการขายผ่านออนไลน์ ดีกว่าเดิมถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ไวรัสโควิด-19 ที่อุบัติขึ้น ทำให้ผู้บริโภคในพื้นที่ รักและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จึงมองหาตลาดทางเลือก อาหารปลอดภัย ผักปลอดสาร จึงตอบโจทย์ มีผู้บริโภคสั่งเข้ามาจำนวนมาก ผลที่ตามมาหลังจากนั้นคือ มีเกษตรกรอยากเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบปลอดสารเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ใกล้ ๆ กัน แต่เคยใช้สารเคมี อยากเปลี่ยนและเลิกใช้สารเคมีดูบ้าง

ขณะนี้มีเข้ามาร่วมแล้วประมาณ ราย เบื้องต้นได้แนะนำและให้เริ่มทดลอดปลูกแบบง่าย ๆ ในบริมาณไม่มาก เพื่อจะได้เรียนรู้ และรู้จักนิสัยของผัก เพื่อจะได้เข้าใจแล้วค่อยขยายเป็นปลูกเพิ่มมากขึ้นในลำดับต่อไปในสวนของฟาร์มผัก บ้านบุญรักษ์นั้น เดิมมีกลุ่มเพื่อนเกษรตกรที่ทำร่วมกันอยู่ประมาณ ราย ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะขายในกลุ่มไลน์ ลูกค้าก็มีข้าราชการ หมอ พยาบาล เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเดิมมีอยู่ประมาณหนึ่ง แต่ในระยะสองเดือนที่ผ่านมามีเพื่อนสมาชิกแนะนำกันต่อ ๆ มา กลุ่มไลน์ใหญ่ขึ้น มีกลุ่มลูกค้าประมาณ 100 คนแล้วขณะนี้

สิ่งที่เกิดขึ้น เห็นได้ชัดว่า ผู้บริโภคมีความต้องการจะทานผักปลอดภัย คงเพราะทุกคนอยากมีร่างกายแข็งแรง อาหารและพืชผักปลอดสารเคมี จึงเป็นตลาดทางเลือก และเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเลือกซื้อทานเพื่อให้ร่างกายปลอดภัยที่ผ่านมาคุณหนุ่ย ใช้ระบบการซื้อขายผ่านไลน์กลุ่ม และเฟซบุ๊คฟาร์มผักบ้านบุณรักษ์  โดยวันจันทร์ และ พฤหัสบดี แจ้งรายละเอียดผลผลิต เพื่อรอรับออเดอร์ และส่งลูกค้าภายในจังหวัดในวันอังคาร ส่วนวันศุกร์ขายที่ตลาดประชารัฐ ดังนั้นลูกค้าสั่งออเดอร์วันพฤหัสบดี และแวะมารับที่ตลาดประชารัฐในวันศุกร์ได้เลย

ส่วนวันพุธ จะเป็นการส่งผลผลิตให้กับลูกค้าต่างจังหวัด ที่ออเดอร์เข้ามา ซึ่งในส่วนนี้คุณหนุ่ยได้รวบรวมผลผลิตของเพื่อนเกษตรกร จากกลุ่ม MOA และ PGS ที่สนใจร่วมขายผักปลอดภัยด้วยกัน โดยขายในราคาที่เกษตรกรกำหนดไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นผักที่มีขายในขณะนี้ได้แก่ มะเขือเทศ ผักสลัด ผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ต้นหอม ผักชี  ผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล

“หนุ่ยจะบอกลูกค้าว่า ไม่ต้องสต๊อกผัก ขอให้สั่งในปริมาณที่เก็บไว้ไม่เกิน วัน เพื่อที่จะได้ทานผักสด เราพร้อมส่งให้สัปดาห์ละ รอบ ซึ่งลูกค้าก็เข้าใจ และด้วยรสชาติ ความสดของผลผลิต ทำให้ลูกค้าติดใจและเชื่อใจ จึงมีคนบอกต่อกันเพิ่มมากขึ้น ยิ่งทำให้เห็นว่า ผู้บริโภคใส่ใจตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี “ คุณหนุ่ย กล่าวส่วนเกษตรกร ของ MOA  อีกรายหนึ่งอย่าง คุณณัฐวุฒิ คำอาณา เจ้าของร้านอาหารฮิมดอย อ.เชียงของ จ.เชียงราย เล่าถึงสถานการณ์ขณะนี้ให้ฟังว่า ส่วนของตนเองและกลุ่มเพื่อนเกษตรกรที่ทำร่วมกับ MOA นั้น ที่ผ่านมาเคยมีรายได้ดีจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตผักปลอดสารพิษ ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

แต่เมื่อเจอสถานการณ์โควิด-19 รายได้ที่เคยมีลดลง เพราะที่ผ่านมาตนเองและกลุ่มเพื่อนเกษตรกรขายในตลาดประชารัฐ และ ตลาดสีเขียวของโรงพยาบาล แต่ล่าสุดปิดหมดแล้ว ขายไม่ได้ จึงต้องยอมรับสภาพไปโดยปริยายส่วนตลาดออนไลน์ ที่ผ่านมาทางกลุ่มไม่ทำกันแบบเป็นทางการ เพราะมีความคิดว่า อยากขายในตลาดเพื่อจะได้สื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ได้แลกเปลี่ยนความคิด ได้รู้ว่าผู้บริโภคต้องการผักแบบไหนบ้าง หรือมีขอเสนอแนะอะไรเพื่อจะได้เอามมาปรับปรุงการผลิตของเรา จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับตลาดออนไลน์เต็มรูปแบบ

เห็นได้ชัดเจนจากจากพื้นที่ ไร่ของตน แบ่งทำแปลงเกษตร และ ขายอาหารตามสั่งด้วย สถานการณ์ช่วงนี้อาหารตามสั่งก็ทำได้เพียงสั่งซื้อแล้วนำกลับ ไม่สามารถนั่งทานได้ ลูกค้าก็มีน้อยมาก เพราะไม่มีใครอยากออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็นจากประสบการณ์ครั้งนี้ คุณณัฐวุฒิ คิดว่าตนเองและกลุ่มเพื่อนสมาชิก ได้บทเรียนอย่างหนึ่งว่า หลังผ่านวิกฤติโควิด-19 แล้ว กลุ่มต้องคิดทบทวนและวางแผนใหม่ เรื่องการจัดทำกองทุน วิกฤติครั้งนี้เห็นชัดเจน ทุกคนได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีกองทุนจึงช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกไม่ได้เลย 

ครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนสำคัญ หลังจากนี้เราคงต้องมานั่งคุยกัน ทำแผนเรื่องกองทุน เพื่อสำรองไว้ช่วยเหลือสมาชิกในยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่นนี้  เพราะขณะนี้ทุกคนทำได้เพียงช่วยเหลือตัวเองให้รอด ผลผลิตที่เก็บได้  ก็กินเอง แจกเพื่อนบ้าน หรือคนรู้จัก ที่ขายอาจมีบ้างแต่น้อยมาก รายได้ที่เคยมีก็ลดน้อยลงไปทุกวันนอกจากนั้น คงต้องให้ความสำคัญกับตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นการรวมกลุ่มเก็บผลผลิตที่มีแล้วนำส่งผู้บริโภคในระยะไม่เกิน 10 กม.จากแหล่งผลิต เพื่อผักจะได้สด และเราก็ได้สื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรงอยู่

“ต้องยอมรับความจริงว่า ขณะนี้ทำอะไรไม่ได้มาก ต้องประคองตัวเองไป ผลผลิตที่ได้มากินเองบ้าง แจกเพื่อนบ้านบ้าง ก็คิดว่าเราไม่ต้องซื้อของจากข้างนอก รายจ่ายเลยน้อย ก็ต้องประคองตัวไปจนกว่าจะผ่านไปได้ครับ”

You may also like

กกท. จัดการแข่งขันกรีฑาระดับโลก “Golden Fly Series Qualifier Chiang Mai 2024 presented by SAT”หวังสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น

จำนวนผู้