เครือซีพีจับมือสวพส.ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูงสร้างโมลเดลเศรษฐกิจใหม่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เครือซีพีจับมือสวพส.ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูงสร้างโมลเดลเศรษฐกิจใหม่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

เครือซีพี ผนึกกำลังถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงหรือ สวพส. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนบนพื้นที่สูง ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)

เมื่อเร็วๆ นี้ นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านปฏิบัติการความยั่งยืนและกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐฯ เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy และมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) โดยได้รับเกียรติจาก นายชวลิต ชูขจร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร และประธานอนุกรรมการวิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวแสดงความยินดี พร้อมด้วย ดร.เพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ด้านการพัฒนา นางอาณดา นิรันตรายกุล ผู้อำนวยการอุทยานหลวงราชพฤกษ์ นายอรรถวิทย์ ยุทธยศ ผู้จัดการทั่วไป ด้านปฏิบัติการความยั่งยืน และนายกฤตยรัฐ ปารมี ผู้จัดการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ร่วมเป็นสักขีพยาน ตลอดจนผู้แทนกลุ่มธุรกิจในเครือซีพีได้เข้าร่วมด้วย ได้แก่ บริษัท เจียไต๋ จำกัด บริษัท ซีพีแรม จำกัด บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า เครือซีพีเป็นหน่วยงานภาคเอกชนแรก ที่เข้ามาสนับสนุนในการผนึกกำลังในการพัฒนาประชาชนในพื้นที่สูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาและกระจายการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูงให้ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านการตลาดให้กับเกษตรกร ซึ่งเครือซีพีเป็นองค์กรที่สนับสนุนได้เป็นอย่างดี ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ผ่านมามีการดำเนินงานร่วมกันในหลายพื้นที่ เน้นการพัฒนาในเชิงพื้นที่อย่างสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตามปัญหาความต้องการและภูมิสังคมของชุมชน ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการประสานความร่วมมือ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนบนพื้นที่สูงและประเทศชาติในวงกว้างต่อไป

 

นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านปฏิบัติการความยั่งยืนและกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐฯ  เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ สวพส. ในครั้งนี้ เครือซีพีได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง ควบคู่ไปกับรักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ ภาตใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในมิติด้านถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาด้านการตลาดและโลจิสติกส์บนพื้นที่สูง ผ่านโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Economy เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายและเป็นภารกิจสำคัญของเครือซีพี โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างสมดุล ตามค่านิยมองค์กร 3 ประโยชน์ของเครือซีพี คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชน และองค์กร สู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

“นอกจากนี้ เครือซีพีพร้อมสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นกลางทางคาร์บอน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถแบ่งปันบทเรียนในการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนให้กับหน่วยงาน ชุมชน เยาวชน ตลอดจนประชาชนที่มาเยี่ยมชม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภารกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป”  นางสาวพิไลลักษณ์ กล่าวทิ้งท้าย

โอกาสนี้ เครือซีพี ได้เข้าร่วมกิจกรรม “วันสืบสานงานพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดงานโครงการหลวงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และถือเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยภายในงานยังมีนิทรรศการพร้อมการนำเสนอโดยผู้แทนชุมชน – หน่วยงาน อาทิ มิติเศรษฐกิจ แก้ไขความจนแบบพุ่งเป้า เศรษฐกิจสร้างสรรค์  มิติสังคม พัฒนาคน สร้างชุมชนเข้มแข็ง มิติสิ่งแวดล้อม คนอยู่ร่วมกับป่า พัฒนาแหล่งน้ำ แก้ภัยแล้ง ระบบการบริหารจัดการข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาพื้นที่สูง เพื่อมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามเป้าหมาย “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

You may also like

เริ่มแล้วกับงาน“AMAZING CHIANG MAI COUNTDOWN 2025”เข้าชมฟรีททท.คาดเงินสะพัด3.5 พันล้านบาท เผยยอดจองที่พักพุ่งกว่า 91%

จำนวนผู้