แบงก์ชาติเหนือชี้ปัจจัยเสี่ยงศก.จับตาผลกระทบเอลนิโญ่-การเมือง-ตปท.

แบงก์ชาติเหนือชี้ปัจจัยเสี่ยงศก.จับตาผลกระทบเอลนิโญ่-การเมือง-ตปท.

ธปท.เหนือเผยแนวโน้มเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3/2566 คาดว่าอยู่ในทิศทางฟื้นตัว ตความเสี่ยงจากปริมาณฝนที่ลดลงจากภาวะเอลนีโญ ทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ และความเชื่อมั่นที่อาจถูกกระทบจากสถานการณ์การเมือง

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ (ธปท. สภน.) นางพรวิภา
ตั้งเจริญมั่นคง ผู้อำนวยการอาวุโส แถลงข่าว “ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ ไตรมาส 2/2566” โดยภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 2/2566 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน จากรายได้เกษตรกร ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวทำให้การจ้างงานทยอยปรับดีขึ้น เป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคและการลงทุน
รายได้เกษตรกรขยายตัว ทั้งด้านผลผลิตโดยเฉพาะข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้นมาก รวมถึงราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับสูง

ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นตามการผลิตหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และชิ้นส่วนยานยนต์ ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัว จากนักท่องเที่ยวไทยในช่วงวันหยุดยาวต้นไตรมาส และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ตลาดแรงงานปรับดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ขอสิทธิว่างงานปรับลดลง และรายได้ลูกจ้างนอกภาคเกษตรทยอยฟื้นตัว เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ทั้งในหมวดสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค สินค้ากึ่งคงทน และหมวดบริการ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว ตามการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยอดจำหน่ายจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาหดตัว ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนหลังเร่งไปในไตรมาสก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงไตรมาสก่อน จากหมวดพลังงานและอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม

แนวโน้มเศรษฐกิจภาคเหนือไตรมาส 3/2566 คาดว่าอยู่ในทิศทางฟื้นตัว ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับดีขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวตามความต้องการของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังมีทิศทางดี

อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรที่ชะลอลงและรายได้นอกภาคเกษตรที่ฟื้นตัวช้า รวมทั้งค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันการบริโภคและการลงทุน นอกจากนี้ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากปริมาณฝนที่ลดลงจากภาวะเอลนีโญ ทิศทางการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ และความเชื่อมั่นที่อาจถูกกระทบจากสถานการณ์การเมือง

ธปท. ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แม้เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ยังมีลูกหนี้บางกลุ่มที่รายได้ฟื้นตัวช้า จึงปิดจบหนี้ไม่ได้ ธปท. จึงจะออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้ตรงจุดและยั่งยืนขึ้น โดยมาตรการที่จะบังคับใช้ก่อน คือ หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending)เพื่อปรับพฤติกรรมเจ้าหนี้และลูกหนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานกระบวนการให้สินเชื่อตลอดวงจรหนี้ นอกจากนี้ อีกส่วนหนึ่งของเกณฑ์ responsible lending คือ การกำหนดแนวทางให้เจ้าหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้เรื้อรัง (persistent debt) หรือกลุ่มที่ยังจ่ายหนี้ได้ตามปกติ แต่ปิดจบหนี้ไม่ได้ เพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนี้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น และมีเงินเหลือพอดำรงชีพ โดย ธปท. จะออก consultation paper ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ และจะบังคับใช้เกณฑ์ responsible lending และ persistent debt ในวันที่ 1 มกราคม 2567 และ 1 เมษายน 2567 ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังอีก 30% ของหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ด้วย

สำหรับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ออกมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ
ขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกันในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ธปท. ได้ติดตามให้สถาบันการเงินทุกแห่งได้ดำเนินการเป็นไปตามแผน และ ธปท. ขอฝากข้อแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ขอให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยทางการเงิน คอยติดตามภัยในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เท่าทันอยู่เสมอ แต่ถ้าท่านใดที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงจากมิจฉาชีพแล้ว ต้องตั้งสติและหยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที จากนั้นให้รีบติดต่อสถาบันการเงินที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง call center (24 ชั่วโมง) หรือสาขา (ในเวลาทำการ) และแจ้งความอย่างรวดเร็วภายใน 72 ชั่วโมง ผ่านเว็บไซต์ Thaipoliceonline.com ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่สถานีตำรวจ

นอกจากนี้ ธปท.ขอเตือนภัยการเงินที่มาในรูปแบบของมิจฉาชีพสร้างเพจปลอมแอบอ้างผู้บริหารของ ธปท. หรือหน่วยงานภาครัฐในการปล่อยกู้หรือชักชวนลงทุนพร้อมกันนี้ ขอเชิญทุกท่านร่วมงานสัมมนาวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ประจำปี 2566 “ยกระดับเศรษฐกิจเหนือ คว้าโอกาสบนโลกแห่งความท้าทาย” ในวันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ โดยมี ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานและให้สัมภาษณ์ในช่วงสนทนากับผู้ว่าการ หัวข้อ “ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย” พร้อมรับฟังการนำเสนอประมาณการเศรษฐกิจภาคเหนือในอีก 2 ปีข้างหน้า

เพื่อการวางแผนของภาคธุรกิจและครัวเรือน ในหัวข้อ “มองเศรษฐกิจภาคเหนือปัจจุบัน เตรียมพร้อมสู่อนาคต” โดย คุณพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ และเปิดแนวคิดการยกระดับธุรกิจท้องถิ่นผ่านมุมมองของนักธุรกิจรุ่นใหม่ในช่วงเสวนา หัวข้อ “สร้างความยั่งยืนแบบคนรุ่นใหม่สู่การยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่” โดย คุณธนะพงศ์ พุฒิพิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ธนพิริยะ จำกัด (มหาชน) คุณวีรดา ศิริพงษ์ ผู้ก่อตั้ง คาร์เพนเทอร์ สตูดิโอ และคุณพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) โดยมี ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิจัยป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเสวน

You may also like

เริ่มแล้วกับงาน“AMAZING CHIANG MAI COUNTDOWN 2025”เข้าชมฟรีททท.คาดเงินสะพัด3.5 พันล้านบาท เผยยอดจองที่พักพุ่งกว่า 91%

จำนวนผู้