ไฟป่าเหนือลุกลามไหม้หนักทั้งคืน ทั้งวันส่งผลให้คุณภาพอากาศวิกฤต แม่สาย เชียงดาว ฮอดค่าฝุ่นสูงเกินค่าปกติหลายเท่า

ไฟป่าเหนือลุกลามไหม้หนักทั้งคืน ทั้งวันส่งผลให้คุณภาพอากาศวิกฤต แม่สาย เชียงดาว ฮอดค่าฝุ่นสูงเกินค่าปกติหลายเท่า

ไฟป่าเหนือลุกลามไหม้หนักทั้งคืน ทั้งวันส่งผลให้คุณภาพอากาศวิกฤต แม่สายเจอผลกระทบจากเพื่อนบ้านและไฟในพื้นที่ทำให้ค่าคุณภาพอากาศพุ่งสูงถึง 421 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.ส่วนเชียงใหม่ต.เมืองนะ อ.เชียงดาวและอ.ฮอดค่าฝุ่นpm2.5 สูงสีแดงเข้มติดต่อกันหลายวัน หลายพื้นที่รายงานศูนย์บัญชาการไฟป่าฯจ.เชียงใหม่ไม่สามารถเข้าดับได้เนื่องจากเป็นพื้นที่เขาสูงชัน ทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 24 มี.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กpm2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนกลับมาวิกฤตอีกครั้งหลังจากที่มีพายุลูกเห็บกระหน่ำเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมาทำให้ค่าฝุ่นฯลดลงบ้างแต่หลายจุดก็ยังเกินค่ามาตรฐานและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

ล่าสุดสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน รายงานค่า PM2.5 มีค่าระหว่าง 63-295 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ” และพบจุดความร้อน Hotspot เกิดขึ้นในพื้นที่จำนวน 691 จุด (เชียงราย 100 จุด เชียงใหม่ 121 จุด แม่ฮ่องสอน 460 จุด และลำพูน 10 จุด)

ทั้งนี้สถานการณ์คุณภาพอากาศจาก Air4Thai เมื่อเวลา 12.00 น.พบว่าจุดที่ค่า AQI สูงสุดอยู่ที่ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 421 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.pm2.5 สูงถึง 311 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.ค่ายท10 เท่ากับ 381 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.ที่ต.เวียง อ.เชียงของ AQI เท่ากับ 232 ไมโครกรัม pm2.5 เท่ากับ 122 และpm10 เท่ากับ 146 ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่จุดที่วิกฤตติดต่อหลายวันคือที่ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว ค่าAQI สูงถึง 366 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.pm2.5 เท่ากับ 256 และ pm10 เท่ากับ 294 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.รองลงมาคือที่อ.ฮอด AQI เท่ากับ 205 pm2.5 เท่ากับ 95 และpm10 เท่ากับ 112 และสถานีต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม AQI เท่ากับ 203 pm2.5 เท่ากับ 93 และpm10 เท่ากับ 110 ส่วนสถานีช้างเผือก AQI เท่ากับ 167 pm2.5 เท่ากับ 77 สถานีตรวจวัดต.ศรีภูมิ(ร.ร.ยุพราชฯ)AQI เท่ากับ 159 pm2.5 เท่ากับ 74 ไมโครกรัมต่อลบ.ม.

ผู้สื่อข่าวรายงาน ในช่วงเช้าวันนี้ศูนย์บัญชาการไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กpm2.5 จังหวัดเชียงใหม่รายงานจุดความร้อนจากดาวเทียมช่วงเช้าจำนวน 90 จุด แยกเป็นเขตป่าอนุรักษ์  เชียงดาว 24 จุด ไชยปราการ 14 จุด แม่แตง 8 จุด เวียงแหง 5 จุด ฝาง 4 จุด พร้าว 4 จุด จอมทอง 2 จุด สะเมิง 1 จุด แม่ริม 1 จุด เขตป่าสงวนแห่งชาติ แม่อาย 6 จุด อมก๋อย 5 จุด แม่แตง 5 จุด ไชยปราการ 3 จุด เวียงแหง 2 จุด เชียงดาว 2 จุด แม่ริม 2 จุดและหางดง 1 จุด และเขต สปก. ที่แม่อาย 1 จุด โดยจุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงปัจจุบันทั้งหมดจำนวน 4.114 จุด.

 

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้