“ไม่เผาเรามีตังค์ แม่วากโมเดล” อ.แม่แจ่ม รูปแแบการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นควัน PM2.5 บนพื้นที่สูง

“ไม่เผาเรามีตังค์ แม่วากโมเดล” อ.แม่แจ่ม รูปแแบการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นควัน PM2.5 บนพื้นที่สูง

รองผวจ.เชียงใหม่เยี่ยมชม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และถ่ายทอดความรู้ การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นควัน PM2.5 บนพื้นที่สูง “ไม่เผาเรามีตังค์ แม่วากโมเดล” อ.แม่แจ่ม รูปแแบการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยไถกลบ/ทำคันปุ๋ย การทำปุ๋ยหมักลดใช้สารเคมี การปลูกผักในโรงเรือนเพื่อสร้างรายได้

วันที่ 2 ก.พ.2567 ที่ผ่านมา เวลา 09:00-12:00 น. นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะหน่วยงานบูรณาการร่วม เข้าเยี่ยมชม การพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม บ้านแม่วาก(แม่วากโมเดล) หมู่ที่ 6 ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยเข้าเยี่ยมชม การอบรมเชิงปฏิบัติการ และถ่ายทอดความรู้ การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นควัน PM2.5 บนพื้นที่สูง ได้แก่ การไถกลบ/ทำคันปุ๋ย การทำปุ๋ยหมักลดใช้สารเคมี การปลูกผักในโรงเรือนเพื่อสร้างรายได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้เยี่ยมชมการพัฒนาระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่สูงเพื่อปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเยี่ยมชมการวางแผนปรับโครงสร้างการเกษตรระดับรายแปลง/รายครัวเรือน ปรับระบบการใช้ที่ดินของเกษตรกรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ใช้ไฟ(ไฟ)

ทั้งนี้ นายทศพล เผื่อนอุดม ได้ชื่นชมเกษตรกรตัวอย่าง ชาวบ้านในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนการใช้ที่ดินและทำเกษตรแบบไม่เผา นำไปสู่การลดปัญหาการเผาและฝุ่นควัน PM2.5 และชื่นชมหน่วยงานบูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม

อบต.แม่นาจร ได้ดำเนินงานร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) สวพส. และภาคีเครือข่ายและชุมชน ดำเนินการเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบครบวงจรโดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ สามารถแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้เหมาะสมกับพื้นที่ สมดุล ยั่งยืน ตลอดจนการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนา โดยเฉพาะ คือ “การปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อสร้างรายได้ และยังช่วยลดการเผาในพื้นที่เกษตร

อบต.แม่นาจรและภาคีเครือข่าย มีแนวคิดในการนำผลสำเร็จจากพื้นที่ต้นแบบขยายผลไปยังชุมชนบนพื้นที่สูงอื่นๆ ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ควบคู่กับการประยุกต์ใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับปัญหาและบริบทภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ อันจะนำไปสู่การลดปัญหาและบริหารจัดการจุดความร้อน (Hotspot) และพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) ในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งกำเนิดของฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้