กลุ่มเซ็นทรัล หนุนคณะศึกษาศาสตร์ มช. จับมือ เทศบาลตำบลท่าศาลา จัดเสน่ห์งานศิลป์ อเมซิ่งโคมท่าศาลา รองอธิการบดี มช.เผยยุทธศาสตร์ล้านนาสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัย ที่รวบรวมบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีความคิดสร้างสรรค์ภายใต้โครงการดีไซน์แล็ป ออกไปทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ มุ่งสู่การสร้างแบรนด์ “ล้านนา”
เมื่อบ่ายวันที่ 7 ต.ค.66 ณ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ (เซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่)ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน“เสน่ห์งานศิลป์ อเมซิ่งโคมท่าศาลา งานจัดแสดงสินค้าจากชุมชน”บริษัท ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล (Central Tham) ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่จัด“เสน่ห์งานศิลป์ อเมซิ่งโคมท่าศาลา งานจัดแสดงสินค้าจากชุมชน” เพื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้การพัฒนาโคมล้านนา เชิดชูภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นอย่างสูงค่าและงดงาม
กิจกรรมจัดแสดงสินค้า “เสน่ห์งานศิลป์ อเมซิ่งโคมท่าศาลา งานจัดแสดงสินค้าจากชุมชน” เป็นโครงการการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โคมล้านนาสำหรับผู้ประกอบการในตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่ 2 ” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้ร่วมมือกับชุมชน ผู้ประกอบการ ในชุมชนตำบลท่าศาลา และสถานศึกษาที่อยู่ในเครือข่ายกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์โคมล้านนา และผลิตภัณฑ์ของสถานศึกษาให้สามารถพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์พร้อมจะเผยแพร่ความรู้ ความสามารถด้านการผลิตโคมล้านนาให้แก่ผู้สนใจได้ร่วมรับชม ภายใต้การสนับสนุนโดยผู้บริหารจาก บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด โดยได้มีการจัดแสดงสินค้าชุมชน และโรงเรียน ภายใต้งาน “เสน่ห์งานศิลป์ อเมซิ่งโคมท่าศาลา งานจัดแสดงสินค้าจากชุมชน”
ภายในงานมีกิจกรรมการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมนนให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาร่วมเรียนรู้และเยี่ยมชม โดยมีหน่วยงาน องค์กร โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการร่วมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมการเรียนรู้ อาทิ เทศบาลตำบลท่าศาลา, ผู้ทรงคุณวุฒิฯ ผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้บริหารและกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, ผู้บริหาร คณะผู้วิจัย และบุคลกรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการตำบลท่าศาลา ทั้งนี้ได้มีโรงเรียนในโครงการที่ร่วมในการจัดตั้งบูธและจัดแสดงสินค้าอันเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1, โรงเรียนวัดสวนดอก จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1, โรงเรียนทาเหนือวิทยา จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1, โรงเรียนบ้านพระนอน จาก สพป.เชียงใหม่ เขต ๒, โรงเรียนบ้านแม่โจ้ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต ๒, โรงเรียนบ้านป่าตาล จาก สพป.เชียงใหม่ เขต ๔, โรงเรียนบ้านขุนแปะ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต ๖, โรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย จาก เทศบาลนครเชียงใหม่, โรงเรียนบ้านแม่ลาน จาก สพป.ลำพูน เขต ๒ และโรงเรียนเทศบาลประตูลี้ จาก เทศบาลเมืองลำพูน จึงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดจากความร่วมมือขององค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ในการร่วมสืบสานวัฒนธรรมด้านโคมหัตถกรรมอันล้ำค่า พัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในเชียงใหม่และต่างจังหวัด ให้เผยแพร่ต่อประชาชนทุกคน ซึ่งหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้อนุมัติ โครงการ “การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โคมล้านนาสำหรับผู้ประกอบการในตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะที่ 2” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบัน พรเวียง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ
ปัจจุบันโครงการดังกล่าว ได้ร่วมมือกับชุมชน ผู้ประกอบการ ในตำบลท่าศาลา และสถานศึกษาที่อยู่ในเครือข่ายกลุ่มเซ็นทรัล ในการยกระดับผลิตภัณฑ์โคมล้านนา และผลิตภัณฑ์ของสถานศึกษาให้สามารถพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์พร้อมจะเผยแพร่ ความรู้ ความสามารถด้านการผลิตโคมล้านนาให้แก่ผู้สนใจได้ร่วมรับชม ภายใต้การสนับสนุนโดยผู้บริหารจาก บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้กำหนดจัดกิจกรรมจัดแสดงสินค้าชุมชน และโรงเรียน กิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ในวันเสาร์ ที่ 7-8 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ (เซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่)
ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มียุทธศาสตร์ล้านนาสร้างสรรค์ ซึ่งการทำโคมเป็นสิ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญา ซึ่งเราเอามาต่อยอด และสร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่า คุณค่าเพิ่ม เพราะเป็นต้นทุนของชุมชนซึ่งจะทำให้ชุมชนก้าวข้ามความยากจนได้ และถ้าหากทำให้เป็นแบรนด์ดิ้งได้จะเกิดมูลค่ามหาศาล เพราะล้านนามีแห่งเดียวในโลก
มีแนวคิดในการส่งเสริมบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกิดความยั่งยืน มหาวิทยาลัยฯมีโครงการดีไซน์แล็ป ที่เป็นนวัตกรรมชุมชน โดยรวบรวมบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่มีความเข้าใจ สร้างสรรค์ รักงานศิลปะ มาทำดีไซน์แลปและร่วมกับชุมชนพัฒนาต่อยอดบนฐานวัฒนธรรม ซึ่งบุคลากรทำงานอย่างมีความสุข ชุมชนได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์.