ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ขับเคลื่อนงาน”อลังการหัตถศิลป์ ถิ่นล้านนา”ดันงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ เพื่อกระตุ้นรักษาต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และพัฒนาการออกแบบให้สามารถตอบสนองการใช้งานในรูปแบบใหม่
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.62 ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส นางพรสวรรค์ หมายยอด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วย ดร.วิถี พานิชพันธ์ กรรมการอำนวยการ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และนายรัฐ เปลี่ยนสุข ศิลปินนักออกแบบผลิตภัณฑ์มัณฑนากร สถาปนิก และผู้ก่อตั้ง Sumphat Gallery ได้ร่วมกันแถลงข่าวชี้แจงและประชาสัมพันธ์กิจกรรมยกระดับหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ภายใต้โครงการยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ ประจำปีงบประมาณ 2562 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 โดยมีผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจในงานหัตถกรรมเครื่องเขิน
นางพรสวรรค์ หมายยอด ผอ.กลุ่มการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวถึงรายละเอียดที่มาของโครงการว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเป็นที่นิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่น สามารถสร้างรายได้จาก การท่องเที่ยวในปี 2557 จำนวน 80,873 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวน 11,208,125 คน ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศ และหัตถกรรมเครื่องเขินของภาคเหนือถือได้ว่าเป็นงานที่มีอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงมาช้านาน ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และสืบทอดให้ดำรงไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสวิถีชีวิต รวมถึงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมและหัตถกรรมให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จึงเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์และพัฒนา ศิลปหัตถกรรมเครื่องเขินให้แก่ผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเครื่องเขินและผู้ที่สนใจ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดการกระตุ้นเพื่อรักษาภูมิปัญญา ประยุกต์ใช้ในการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคที่มองไม่เห็นหรือยังไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet Needs) ผ่านการคิดค้นการใช้ งานรูปแบบใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์เดิมไม่เคยทำได้มาก่อน (New Usage) หรือสร้างคุณค่าใหม่ (New Value) ใน สายตาของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพ (Potential Market)
ผอ.กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวอีกว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว ก็เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการงานหัตถกรรม (Craftsmanship)และผู้ที่สนใจให้สามารถยกระดับฝีมือทักษะสูงต่อยอดและก้าวไปสู่การเป็น ประกอบการ (Entrepreneurship) ในอุตสาหกรรมเครื่องเขินไลฟ์สไตล์ในอนาคตต่อไป เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค้าเพิ่มของภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขินที่สามารถตอบสนองการใช้งานรูปแบบใหม่
ทั้งนี้กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะมีการจัดงานงานหัตถกรรมเครื่องเขิน สู่อุตสาหกรรม LifeStyle ซึ่งเป็นกิจกรรมทดสอบตลาดเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจ (ปลายน้ำ) ระหว่างวันที่ 24-25 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ศูนย์การค้า เมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่ และ กิจกรรมสร้างการรับรู้และแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องเขินล้านนา วันที่ 6-8 เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ณ ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (ชั้น๔) จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยมีบูธแสดงและจำหน่ายสินค้าและนิทรรศการ 4 จังหวัด พร้อมกิจกรรมอีกมากมาย
ด้านดร.วิถี พานิชพันธ์ กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องเขินของกิจกรรมภายในโครงการยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์นี้ มีการการจัดหาวิทยากรผู้มีความรู้ความเชียวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการการเก็บรักษาคุณภาพยางรัก เทคนิคการกรีดยางรัก เทคนิคการทำผลิตภัณฑ์เครื่องเขินในรูปแบบการอนุรักษ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคนิคการทำเครื่องเขินตามรูปแบบไลฟ์สไตล์ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปางและแม่ฮ่องสอน) ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบในการผลิตหัตกรรมเครื่องเขิน (ต้นน้ำ)
นอกจากนั้นยังมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขินให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวนอย่างน้อย 100 ราย และคัดเลือกผู้ที่มีศักยภาพให้เหลือ 15 ราย รวมไปถึงดำเนินการคัดเลือก จากการผู้เข้าร่วมจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องเขิน จำนวน 15 ราย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบ และพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ และกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่ อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ (กลางน้ำ) ต่อเนื่องด้วยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาหัตถกรรมเครื่องเขินสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 ราย
และยังเป็นวิทยากรร่วมกับ / ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษา แนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเขินอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำอย่างน้อย 5 วัน และดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นต้นแบบ จำนวนอย่างน้อย 2 ชิ้น/รายอีกด้วย.