คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดกิจกรรม วันปัสสาวะรดที่นอนโลก มุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหาการปัสสาวะรดที่นอน

คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดกิจกรรม วันปัสสาวะรดที่นอนโลก มุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหาการปัสสาวะรดที่นอน

คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดกิจกรรม วันปัสสาวะรดที่นอนโลก มุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหาการปัสสาวะรดที่นอนของเด็กที่อายุเกิน 5 ขวบ ชี้ส่งผลกระทบต่อเด็ก ระบุสาเหตุเกิดได้ทั้งจากภาวะของโรคและไม่มีโรคอื่น

ที่บริเวณห้องโถงชั้น 1 อาคารเฉลิมพระบารมี ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม วันปัสสาวะรดที่นอนโลก ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจ        เรื่องภาวะปัสสาวะรดที่นอน และให้ประชาชนทั่วไปมีการตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของการไปพบแพทย์และรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสม

ผศ.นพ.พิษณุ มหาวงศ์ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สาเหตุของการปัสสาวะรดที่นอน ในขณะนอนหลับในเด็กที่อายุมากกว่า 5 ขวบขึ้นไป จากการสำรวจในโรงพยาบาลมีรายงานอุบัติการณ์ในประเทศไทยที่ร้อยละ 15-18 ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี โดยสาเหตุของโรคปัสสาวะรดที่นอนที่พบบ่อยคือ ปริมาณปัสสาวะมากตอนกลางคืน ความผิดปกติของการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและหูรูด ความผิดปกติในพฤติกรรมและพัฒนาการ

อย่างไรก็ตามภาวะปัสสาวะรดที่นอน มีผลกระทบต่อการทำทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ปัญหาครอบครัว การเรียน การเข้าสังคม และคุณภาพชีวิตได้ ทั้งนี้ในการรักษาผู้ที่ปัสสาวะรดที่นอนไม่ได้ยากแต่ก็ไม่ง่าย ขอเพียงแต่ใช้ใจในการดูแลและมีความตั้งใจที่อยากจะให้เด็กหายจากอาการดังกล่าว ซึ่งการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ที่ปัสสาวะรดที่นอนต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์สหสาขา อาทิ ศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเด็ก จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม เป็นต้น  และที่สำคัญต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและเด็กด้วย โดยการรักษาอาจจะใช้เวลานานเป็นปี มีบางรายที่รักษาหายแล้วยังกลับมาเป็นได้อีก

“การปัสสาวะรดที่นอนมีความสำคัญในทางการแพทย์มาก เพราะผู้ที่ปัสสาวะรดที่นอนทางแพทย์แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ปัสสาวะรดที่นอนโดยไม่มีโรคอื่นกับกลุ่มที่มีปัญหาหลายรูปแบบและปัสสาวะรดที่นอนได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งจากการสำรวจทั้งสองกลุ่มมีตัวเลขใกล้เคียงกัน แม้ในประเทศไทยยังไม่มีงานวิจัยถึงเรื่องผลกระทบแต่สำหรับต่างประเทศมี ดังนั้นจึงมีการกำหนดให้วันที่ 30 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันปัสสาวะรดที่นอนโลก” (World Bedwetting Day) โดย International Children’s Continence Society (ICCS) และ European Society for Pediatric Urology (ESPU)”อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวและว่า

มีข้อมูลชี้ชัดว่าการที่ปัสสาวะรดที่นอนทำให้เด็กขาดความมั่นใจ โดย 80% พบว่าเป็นปัญหาทางกายคือจากโรคหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติ และการที่เด็กปัสสาวะรดที่นอนตอนนอนไม่ใช่เด็กหลับสนิทแต่เป็นหลับตื้นแต่หลับลึก ปลุกยาก ร่างกายได้พักผ่อนน้อยจึงทำให้สมองไม่ค่อยพัฒนา เรียนไม่เก่ง มีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน บางทีการที่เด็กปัสสาวะรดที่นอนก็มาจากโรคเบาหวาน เบาจืด เป็นลมชัก นอนกรน โรคปอด โรคหัวใจซึ่งล้วนมีผลทั้งนั้น

อาจารย์ประจำหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ทางหน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับชมรมศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะเด็กแห่งประเทศไทย จึงได้จัดให้มีกิจกรรมวันปัสสาวะรดที่นอนโลกขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจในเรื่องเกี่ยวกับภาวะปัสสาวะรดที่นอน และให้มีการตื่นตัว และทราบถึงความสำคัญของการไปพบแพทย์และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป.

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้