จังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุมเรื่อง“แนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวทางสื่อเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน”

จังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุมเรื่อง“แนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวทางสื่อเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน”

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

คณะอนุกรรมการพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุมเรื่องแนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวทางสื่อเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน

เมื่อเร็วๆ นี้ที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ผศ.บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ และประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานการประชุม เรื่อง“แนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวทางสื่อเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน” ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม “พลังแห่งปัญญาสร้างสรรค์นิเวศสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน” โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ได้แก่ นายนีติพัทธ์ สมศรี  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่,นางสาวสุชีลา ศิริมงคลภาวงศ์ อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่

,ผศ.สุรชัย  เดชพงษ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ,ผศ.ดร.สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ,นางอำไพ  จันทร์หล้าฟ้า ผู้อำนวยการกลุ่มลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่,พ.ต.ท.หญิง จรีย์วรรณ พุทธานุรักษ์  รองผู้กำกับการ (สอบสวน) ปฏิบัติราชการ ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรีและป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่,ผศ.สุธาสินี สุภา  หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,นายอิสระพงษ์ บุญญา  นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ,ผศ.ดร.ธัชพงษ์  วงษ์เหรียญทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาญา,.ผศ.อธิป จันทนโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน, ผศ.นันท์มนัส จันทราศัพท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ หัวหน้าโครงการพลังเครือข่ายเรียนรู้เท่าทันสื่อ: เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ และประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำงานโครงการฯ กับ นักวิชาการ นักกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จากองค์กรภาคีเครือข่ายในภาคส่วนต่างๆ ภายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการระดมความคิดเห็นและหาแนวทางป้องกันการนำเสนอข่าวทางสื่อมวลชนที่ละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน แนวโน้มของสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน มีแตกต่างจากอดีตที่มีเพียงการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผ่านสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ วิทยุ เท่านั้น นั่นเป็นเพราะในปัจจุบันการสื่อสารเปลียนแปลงรูปแบบเป็นการนำเสนอข่าวทางช่องทางสื่อออนไลน์ หรือ ช่องทางอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการนำเสนอข่าวที่เป็นการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะ ข่าวล่วงละเมิดทางเพศ ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการฯเห็นร่วมกัน คือ การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน ที่เกิดจากการกระทำของผู้ปกครอง (พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กหรือเยาวชน) เช่น การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ บางกรณีอาจมีการให้สิ่งตอบแทนแลกเปลี่ยนการให้ข้อมูล เช่น ขายข่าว ซึ่งเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ ตกเป็นเหยื่อ บางครั้งเกิดจากต้องการเร่งรัดคดี เพราะเข้าใจว่า เป็นข่าวดัง คดีจะเสร็จเร็วขึ้น เป็นต้น ประเด็นสำคัญที่ผู้ร่วมประชุมเห็นพ้องต้องกัน คือ การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน ที่เกิดจากการกระทำของผู้ปกครอง (พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กหรือเยาวชน) เช่น การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเด็ก แบบไม่ตั้งใจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ปกครอง เช่น การลงภาพของเด็กในสื่อออนไลน์ เช่น โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว เพราะมองว่า เป็นภาพที่น่ารัก น่าเอ็นดู โดยไม่ได้มองถึงภาพอนาคต เช่นกาภาพลูกร้องไห้ ภาพลูกโป๊ตอนเด็กกำลังอาบน้ำ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสภาพจิตใจและพัฒนาการของเด็กและเยาวชนในอนาคต ข้อสรุป จากการประชุม เห็นว่า การสร้างความตระหนักรับรู้ สร้างจิตสำนึกและให้ความรู้ถึงเรื่องสิทธิ แก่ผู้ปกครองในการดูแลคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการดูแลของตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ การปลูกฝัง ให้ความรู้เรื่อง สิทธิของตนเองก็เป็นจำเป็นเช่นกันสำหรับเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่  กิจกรรมดังกล่าวนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ปี 2562 จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้