ชุมนุมผู้นำท้องถิ่นทั่วไทย สสส.หนุนยกขีดความสามารถตามศาสตร์พระราชา

ชุมนุมผู้นำท้องถิ่นทั่วไทย สสส.หนุนยกขีดความสามารถตามศาสตร์พระราชา

พิษณุโลก / ผู้นำท้องถิ่นทั่วประเทศกว่าพันคนรวมพลที่ภูหินร่องกล้า ร่วมกิจกรรม SMART Camp กับสสส. หวังยกระดับผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการนำทุกมิติ และน้อมนำศาสตร์พระราชาไปใช้ให้เป็นชุมชนที่มีสุขภาวะอย่างยั่งยืน เมื่อช่วงเช้าวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 บริเวณลานกิจกรรม ภายในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) สสส. ได้จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ หรือ SMART Camp : SMART Network SMART Community โดยมีผู้นำท้องถิ่น อปท. จากทั่วประเทศ ทั้งเทศบาลและอบต.เข้าร่วม โดยในการนี้มีนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี ปลัดจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงานนางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. กล่าวรายงานว่า กิจกรรมสานสัมพันธ์เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จัดขึ้นเพื่อเป็นการยกระดับผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการนำการพัฒนาทุกมิติ และร่วมเป็นพลังของสังคมไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทางสำนัก 3 จึงร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะทำงานกลางของแผนสุขภาวะชุมชน จัดกิจกรรมนี้ขึ้น โดยมีผู้นำชุมชนท้องถิ่นประมาณ 1,015 คน จาก 127 ตำบล เข้าร่วมโดยในส่วนของกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ1.เรียนรู้ข้ามพื้นที่ด้วยกิจกรรมเหย้า-เยือน เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเพื่อนเครือข่ายที่มาเยี่ยมเยือนในพื้นที่ต่างๆ ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีของเครือข่ายและพร้อมที่จะช่วยเหลือกันในยามวิกฤต 2.การสรุปบทเรียนและทบทวนวิธีคิด ผ่าน 6 ฐานการเรียนรู้ คือการทำงานเป็นทีม การจัดการเชิงระบบ การสร้างภาวะผู้นำ การสร้างผู้นำในการทำงานแบบมีส่วนร่วม และการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และ3.การบ่มเพาะความเป็นพลเมืองด้วยกิจกรรมอาสาทำดี 6 กิจกรรม เช่นการสร้างจุดคัดแยกขยะ สร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ซ่อมฝาย ซ่อมป้าย ซ่อมสะพาน และเก็บขยะ ในสถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่ของอุทยาน เป็นต้น ด้านนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี ปลัดจังหวัดพิษณุโลก ประธานเปิดเวทีสานสัมพันธ์ฯ กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศที่จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น อย่างวิกฤติสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ขยะ ถือเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ทุกคนร่วมกันสร้าง แต่กลับรังเกียจ แม้จะมีการจัดการแล้ว ก็ไม่สามารถนำไปทิ้งที่ไหนได้ ชาวบ้านมักจะไม่ยอมรับ จังหวัดพิษณุโลกจึงมีการประกาศสงครามขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้ขยะเป็นศูนย์ และถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่จะนำมาแลกเปลี่ยนในเวทีนี้นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องภัยพิบัติ โดยอำเภอนครไทยเป็นพื้นที่ต้นน้ำ เดิมไม่มีปัญหา แต่ภายหลังมักจะเจอน้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหาย ขณะเดียวกันปัญหาอุบัติเหตุจราจร ก็กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก มีผู้เสียชีวิตแต่ละปีเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นถ้าชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้นมาจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ ชุมชนท้องถิ่นก็จะน่าอยู่ ประชาชนมีชีวิตยืนยาวคุณภาพชีวิตดีขึ้นและสามารถอยู่อย่างมีความสุขทางด้านนายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าวถึงความคาดหวังจากกิจกรรมครั้งนี้ว่า ต้องการให้คนมีพลัง ทั้งด้านความคิด และพลังในการที่จะขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเชื่อมั่นในศาสตร์พระราชา เกิดความมั่นใจ มีความตั้งใจที่จะน้อมนำกลับไปใช้และพัฒนาในท้องถิ่นของตัวเอง โดยฐานกิจกรรมต่างๆ จะตอบโจทย์ศาสตร์พระราชาทั้งสิ้น เมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดทักษะกลับไปทำอย่างมีพลังมากขึ้น“ต่อไปเราต้องตามไปเยี่ยม ว่าแต่ละท้องถิ่นนำไปใช้อย่างไร และต้องนำกลับมาคุยกัน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปฏิบัติตามได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าสิ่งที่เราทำมา เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในวิธีคิด วิธีปฏิบัติ และความเชื่อมั่นในแนวทาง เราถึงได้มาทำกิจกรรมเสริมพลังกันให้มีความเชื่อมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ” ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กล่าว.

You may also like

Hilight ในคืนข้ามปีกับ BamBam เหล่าอากาเซ่และแบมมี่ ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์เมื่อ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา

จำนวนผู้