5ผู้ต้องหางานวิชาการไทยศึกษาปฏิเสธฝ่าฝืนคำสั่งคสช. ย้ำไม่มีเจตนาแสดงออกทางการเมือง

5ผู้ต้องหางานวิชาการไทยศึกษาปฏิเสธฝ่าฝืนคำสั่งคสช. ย้ำไม่มีเจตนาแสดงออกทางการเมือง

- in headline, จับกระแสสังคม

เชียงใหม่ (21 ส.ค.60) / ดร.ชยันต์ พร้อมคณะ ปฏิเสธข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ย้ำไม่มีเจตนาแสดงออกทางการเมืองในงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13  ขณะที่เครือข่ายนักวิชาการ-เอ็นจีโอ จี้ฝ่ายความมั่นคงถอนแจ้งความ พร้อมแห่ให้กำลังใจหน้า สภ.ช้างเผือกคับคั่งเมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 21 ส.ค. ที่ห้อง sub-altern ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มนักวิชาการ ร่วมกับภาคีเครือข่าย และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้จัดแถลงข่าวเรื่อง ขอให้ถอนแจ้งความ ดร.ชยันต์  วรรธนะภูติ นักวิชาการคณะสังคมศาสตร์ มช. และคณะอีก 4 คน ซึ่งประกอบด้วยนางภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน/นักแปล, นายชัยพงษ์ สำเนียง นักวิจัยคณะสังคมศาสตร์ มช., นายธีรมล บัวงาม นักศึกษาปริญญาโท คณะสื่อสารมวลชน มช. และผู้สื่อข่าวประชาธรรม กับนายนลธวัช มะชัย นักศึกษาคณะสื่อสารมวลชน มช. ข้อหาฝ่าผืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 เรื่องการมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า นอกเหนือจากข้อเรียกร้องดังกล่าวข้างต้น ยังขอให้รัฐบาลทหารหยุดคุกคามเสรีภาพด้านวิชาการ ยุติการสร้างความหวาดกลัวต่อนักวิชาการ และนักศึกษา รวมทั้งให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 ด้วยโดยมีแถลงการณ์ 10 ฉบับ จากเครือข่ายนักวิชาการและพันธมิตร ออกมาสนับสนุนด้วย อาทิ จาก Human Rights Watch, องค์กรระหว่างประเทศ 21 องค์กร, กลุ่มนักวิชาการที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ครั้งที่ 13 จำนวน 251 คน, กลุ่มนักวิชาการยุโรปที่ทำงานในทวีปเอเชีย 418 คน, องค์กรวิชาการทั่วโลก เป็นต้น  ผศ.ดร.ชูศักดิ์ วิทยาภัค คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า องค์กร และนักวิชาการทั่วโลกได้ร่วมลงนามออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้มีการถอนแจ้งความต่อกลุ่มนักวิชาการทั้ง 5 ราย ซึ่งหลายรายเคยได้ร่วมงานกับ ดร.ชยันต์ อีกทั้งยังมี Human Rights Watch ที่ได้ออกแถลงการณ์มาตั้งแต่ช่วงแรกๆ และขอให้ถอนแจ้งความเช่นกัน พร้อมทั้งมีการร่วมลงชื่อกับเครือข่ายนักวิชาการในภาวะเสี่ยง (Scholars at risk) อีกด้วย

รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช อาจารย์พิเศษสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มช. กล่าวว่า ในฐานะลูกศิษย์ของ ดร.ชยันต์ และเป็นนักวิชาการ มช.ด้วย จะขอยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับอาจารย์ และขอให้ทางเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ หรือทหาร ถอนแจ้งความโดยเร็วขณะที่นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ผู้ก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา กล่าวว่า อาจารย์มีจุดยืนอยู่ข้างประชาชน และทำงานเพื่อสังคมมาโดยตลอด ครั้งนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าถูกคุกคาม ทั้งที่จริงแล้วบรรยากาศในการประชุม ทหารควรมาฟังด้วยซ้ำไป จะได้รู้ว่าทั่วโลกมองไทยอย่างไร ฉะนั้นควรถอนแจ้งความ และไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นซ้ำอีก

ด้านนายจรูญ คำปันนา นายกสมาคมพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.ลำพูน กล่าวว่ารู้จัก ดร.ชยันต์มานาน เป็นนักวิชาการที่อยู่เคียงข้างประชาชน จึงมาให้กำลังใจอาจารย์และคณะ เพราะอาจารย์เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาททางวิชาการสูงมากต่อมาในเวลา 12.30 น. กลุ่มภาคี ที่ประกอบด้วยนักวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นักศึกษา เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายเกษตรกรและกลุ่มชาติพันธุ์ กว่า 150 คน ได้เดินทางไป สภ.ช้างเผือก เพื่อให้กำลังใจแก่ ดร.ชยันต์ และคณะ ทั้ง 5 คน ที่เดินทางไปรายงานตัว พร้อมกับนายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยมีนางอังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าร่วมรับฟังการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยพ.ต.ท.อินทร แก้วนันท์ พนักงานสอบสวน สภ.ช้างเผือก ได้แจ้งข้อหาต่อทั้ง 5 คน ตามที่ ร.ท.เอกภณ แก้วศิริ อัยการผู้ช่วยศาลมณฑลทหารบกที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่ รับมอบอำนาจจาก พ.อ.สืบสกุล บัวระวงศ์ รองผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดเชียงใหม่ ให้มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีทั้ง 5 คน ในข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช.หากผู้ต้องหาทั้ง 5 คน สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน และเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยอาจจะมีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้ ให้ถือว่าคดีเลิกกัน

ซึ่งในเวลาต่อมาผู้ต้องหาทั้งหมดได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา และขอยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มเติมในภายหลัง ทางพนักงานสอบสวนจึงอนุญาตปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข และนัดมาพบพนักงานสอบสวนอีกครั้งวันที่ 1 ก.ย. 2560 เวลา 10.00 น. แต่ระหว่างนี้สามารถยื่นคำให้การ และหาพยานหลักฐานส่งพนักงานสอบสวนได้ตลอดนายสุมิตรชัย เปิดเผยว่า การตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว มาจากกรณีที่ผู้ต้องหาได้ร่วมกันชูแผ่นป้ายข้อความ “เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร” และติดแผ่นป้ายที่ฝาผนังห้องประชุม ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ครั้งที่ 13 เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา จึงถือเป็นการแสดงความเห็นเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านทางการเมือง“วันนี้ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก แม้จะถามกลับไปว่าการกระทำดังกล่าวเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองอย่างไร แต่ก็ไม่ได้คำตอบ เป็นเพียงข้ออ้างของฝ่ายความมั่นคง เราจึงขอเวลาไปรวบรวมหลักฐานทั้งหมดและจะเสนอต่อพนักงานสอบสวนก่อนวันที่ 1 ก.ย.นี้ โดยต้องกลับไปดูว่าเหตุการณ์จริงๆ ในวันนั้นมีอะไรบ้าง เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้ให้ดูเอกสารใดเพิ่มเติม แค่รับทราบเนื้อหาที่ฝ่ายความมั่นคงกล่าวหาเท่านั้น ขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงการเซ็น MOU เพียงแต่พนักงานสอบสวนอธิบายให้ฟังว่าคำสั่ง คสช.ข้อ 12 วรรคท้ายเปิดช่องให้ฝ่ายความมั่นคงสามารถเรียกตัวไปพูดคุย ทำความเข้าใจ และสามารถยุติคดีได้ แต่ไม่ได้ชี้นำว่าต้องไปหรือไม่ไป” ทนายความคนเดิม กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.ชยันต์ เปิดเผยว่า ตำรวจได้แนะนำทางออกหลายทาง เช่น สามารถไปชี้แจงต่อฝ่ายความมั่นคง ก็จะลดหย่อนผ่อนโทษได้ แต่หมายความว่าเราต้องยอมรับผิดเป็นผู้ต้องหา ซึ่งพวกเราคิดว่าข้อกล่าวหาที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงกล่าวหา ไม่มีความชัดเจน ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวหา หรือไม่ได้เป็นไปตามที่เขาตีความ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับความเป็นจริงคือคนละเรื่องกัน การแสดงออกระหว่างการประชุมทางวิชาการ ถูกตีความไปนอกบริบท“กำลังใจจากเครือข่าย และพันธมิตร ที่ส่งเข้ามาในช่วงนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพวกเราไม่ได้มีเจตนาแสดงออกทางการเมือง แต่ต้องการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ซึ่งข้อกล่าวหาก็ไม่ได้พูดถึงบทความ การอภิปรายในห้องทางวิชาการ แต่เป็นเรื่องการชูป้าย ปิดป้าย ที่ถูกตีความไปว่าอาจทำให้เกิดความไม่พอใจ กระด้างกระเดื่องของผู้ที่ได้เห็นสื่อเหล่านั้น” ดร.ชยันต์ กล่าวและว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อการจัดกิจกรรมหรือเวทีทางวิชาการครั้งต่อไปในประเทศไทยระดับหนึ่ง เพราะหากเวทีทางวิชาการถูกจับจ้อง และถูกตีความด้วยสายตาของผู้ที่มองเห็นการแสดงออกว่าอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเมือง ก็จะทำให้คนที่มาเกิดความไม่แน่ใจว่าจะพูดอะไร จะคุยอะไร อาจถูกใช้เป็นหลักฐานของการชุมนุมทางการเมือง.

You may also like

ทอท.เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ประชาชนในรัศมี 5 กม. จากสนามบินเชียงใหม่ ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)โครงการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่

จำนวนผู้