ท่าอากาศยานเชียงใหม่เตรียมสรุปผลศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ระยะที่ 1 พร้อมเดินหน้าก่อสร้าง

ท่าอากาศยานเชียงใหม่เตรียมสรุปผลศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ระยะที่ 1 พร้อมเดินหน้าก่อสร้าง

ท่าอากาศยานเชียงใหม่เตรียมสรุปผลศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ระยะที่ 1 พร้อมเดินหน้าก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่และปรับปรุงอาคารผู้โดยสารในประเทศเพื่อเพิ่มพื้นที่บริการรองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนใน 4 ปีข้างหน้า

นาวาอากาศโทรณกร เฉลิมแสนยากร ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ กล่าวระหว่างการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ ประจำปี 2567 จัดระหว่างวันที่ 20-22 สิงหาคม 2567ที่ผ่านมา โดยมีการเดินทางศึกษาดูงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และจังหวัดชลบุรีว่า ท่าอากาศยานเชียงใหม่มีแผนพัฒนาภาพรวมของการต่อเชื่อมการขนส่งทางอากาศกับสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสนามบินหลักของการบิน ที่สามารถเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 ที่จะขยายพื้นที่อาคารผู้โดยสารจากปัจจุบัน 35,000 ตารางเมตร เป็น 100,000 ตารางเมตร ในปี 2570 หรืออีก 4 ปีข้างหน้าเพื่อให้เห็นถึงศักยภาพด้านการบิน ใน Route การเดินทางระยะไกล (Long-haul) จากสนามบินสุวรรณภูมิ ที่จะเชื่อมต่อผู้โดยสารต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวยังจังหวัดเชียงใหม่ได้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็สามารถเชื่อมต่อเส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางได้อย่างสมบูรณ์แบบในอีก 4 ปีข้างหน้า

ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงินงบประมาณราว 15,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมนี้จะมีเวทีสรุปความคิดเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์เชียงใหม่  จากนั้นก็จะเริ่มเห็นการรื้อและก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ รวมทั้งจะมีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ทำให้มีพื้นที่ให้บริการเพิ่มขึ้นจากเดิม 35,000 ตารางเมตรเป็นมากกว่า 100,000 ตารางเมตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้เป็น 20 ล้านคนต่อปีในอีก 4 ปีข้างหน้า

“ท่าอากาศยานเชียงใหม่มีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ 8.5 ล้านคนต่อปี หรือราว 35,000 คนต่อวัน แต่ตอนนี้ถือว่าเกินศักยภาพไปแล้ว เพราะเราสามารถบริหารจัดการในการรองรับผู้โดยสารได้ถึง 11.5 ล้านคนและใน 4 ปีข้างหน้าเมื่อโครงการพัฒนาระยะที่ 1 แล้วเสร็จ จะสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน และจะมีขีดความสามารถรองรับเที่ยวบินเพิ่มเป็น 31 ไฟลต์ต่อชั่วโมง จากปัจจุบันรองรับอยู่ที่ 24 ไฟลต์ต่อชั่วโมง ส่วนหลุมจอดจะเพิ่มเป็น 31 หลุมจอด จากปัจจุบันรองรับได้ 16 หลุมจอด”นาวาอากาศโทรณกร กล่าวและว่า

สำหรับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 เป็นการปรับรูปลักษณ์ภายใต้อัตลักษณ์ความเป็นล้านนา และการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายของวัฒนธรรมล้านนาและความทันสมัยแล้ว (Modern Lanna)  ส่วนโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานล้านนา (ทชม.แห่งที่ 2) ก็จะดำเนินควบคู่กันไปพร้อม ๆ กับโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ระยะที่ 1 เพราะถือเป็นการเตรียมการรองรับในอีก 10 ปีข้างหน้าว่า การรองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคนจะเพียงพอหรือไม่.

 

You may also like

SUN ขับเคลื่อนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร และจัดพิธีบวงสรวงพระพิรุณ ประจำปี 2567

จำนวนผู้