ท่าอากาศยานเชียงใหม่ Kick off โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ Kick off โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ Kick off โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการรองรับผู้โดยสาร โดยจะดำเนินการออกแบบควบคู่ไปกับการศึกษาและจัดทํารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งหากเป็นไปตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จโครงการระยะที่ 1 ภายในปี 2572

วันนี้ (24 สิงหาคม 2566) นายสรายุทธ จําปา รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทชมทอท) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เชียงใหม่ เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามแผน แม่บทท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่เริ่มจัดทำมาตั้งแต่ปี 2561

รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบัน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีขีดความสามารถในการ รองรับปริมาณผู้โดยสาร 8 ล้านคนต่อปี และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้โดยสารก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประมาณร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่ง ทอท.ตระหนักถึงการเจริญเติบโตของปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้น จึงได้พิจารณา นําเนินการจัดทําแผนแม่บทพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็น 2 ระยะ เพื่อให้ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีแผนการพัฒนา ท่าอากาศยาน ที่สามารถรองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้อีก 20 ปีอย่างยั่งยืน

โดยในแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวจะพิจารณา โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 16.5 ล้านคนต่อปี สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ของประเทศในด้านต่างๆ นโยบายของรัฐบาล รวมไปถึงยุทธศาสตร์ของ ทอท.ซึ่งในห้วงที่ผ่านมา ทอท. ได้ดำเนินการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และจัดหาผู้รับจ้างสำรวจและออกแบบโครงการ โดยได้ว่าจ้าง กลุ่มบริษัท ที.ซี.เอ็ม.เอ. (TCMA) ดำเนินการเป็นที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบโครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 ซึ่งหลังจากนี้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา จะสำรวจข้อมูลความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ทุกกลุ่ม ทั้งภายในและภายนอกท่าอากาศยาน เพื่อนำไปสู่การออกแบบโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ สูงสุดต่อผู้โดยสารผู้ใช้บริการ ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป ทั้งนี้การขยาย ขีดความสามารถตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ทั้ง 2 ระยะ จะดำเนินการภายในพื้นที่ของท่าอากาศยานเดิมทั้งหมด ไม่มีการก่อสร้างทางวิ่ง (Runway) เพิ่มเติม หรือขยายพื้นที่เพิ่มเติมแต่อย่างใด

ด้านผู้แทนกลุ่มบริษัท ที.ซี.เอ็ม.เอ. (TCMA) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โครงการแผนพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่
ระยะที่ 1 จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงาน ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 การพัฒนาเขตการบิน
-ทางขับขนานเส้นใหม่พร้อมทางขับออกด่วน
– ปรับปรุงลานจอดอากาศยานพร้อมระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ ให้มีหลุมจอดอากาศยานรวม 31 หลุมจอด จากเดิมปัจจุบันที่มีเพียง 19 หลุมจอด

กลุ่มที่ 2 การพัฒนาอาคารผู้โดยสารและอาคารสนับสนุน ด้านทิศใต้ของอาคารผู้โดยสารเดิม
– อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยจะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ บริเวณด้านทิศใต้ของอาคารผู้โดยสารเดิมอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ โดยปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศทั้งหมด
– อาคารสำนักงาน ทชม.และสายการบินพร้อมที่จอดรถยนต์ กลุ่มที่ 3 การพัฒนางานสนับสนุนท่าอากาศยาน
– ปรับปรุงระบบถนนภายในท่าอากาศยาน โดยออกแบบถนนเป็น 6 ช่องทางจราจร (เข้า 3 ช่อง ออก 3 ช่องทาง) พร้อมทางยกระดับแยกผู้โดยสารระหว่างขาเข้าและขาออก
– สถานีไฟฟ้าย่อย
– โรงผลิตน้ำประปา
-ปรับปรุงขยายขีดความสามารถของระบบบำบัดน้ำเสีย

ทั้งนี้การสำรวจและออกแบบ จะดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษาและจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแ (EIA) ซึ่งหากได้รับการอนุมัติตามแผน คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างประมาณ 3 ปี และเปิดใช้งานได้ภายในปี 2572

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้