ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน เผยผลงานไตรมาส 3 จ่ายสินเชื่อสู่ภาคเกษตรกรรมผ่านผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อยกว่า 2.6 พันล้านบาท ควบคู่การทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานนโยบายรัฐกระตุ้น เศรษฐกิจฐานราก พร้อมลงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยแบบครบวงจร
นายภานิต ภัทรสาริน ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน เผยผลการดำเนินงาน 9 เดือนในภาพรวมทั้งประเทศของปีบัญชี 2560 (1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2560) ว่า สามารถสนับสนุนสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร ผ่านผู้ประกอบการรายย่อยได้ จำนวน 438,000 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดสินเชื่อคงเหลือเพิ่มเป็น 1,317,339 ล้านบาท หรือขยายตัวสูงกว่าต้นปีบัญชี 3.16% โดยธนาคารมีสินทรัพย์ รวมอยู่ 1,693,208 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นปีบัญชี 4.7% มีรายได้รวม 68,980 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 61,140 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 7,840 ล้านบาท ด้านสถานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ระดับ 12.18% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดที่ 8.50%
ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน มีเขตพื้นที่การดำเนินงานครอบคลุม 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ผลงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีดังนี้
- การเติบโตสินเชื่อเพิ่มจากต้นปีบัญชี 2560 จ่ายสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 2,661 ล้านบาท คาดการณ์ว่าสิ้นปีบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 เพิ่มขึ้นจากต้นปีประมาณ 6,300 ล้านบาท การเติบโตจำแนกตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตามภารกิจของธนาคาร ประกอบด้วย กลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบ (SMALL) การเติบโตสินเชื่อลดลงจากต้นปี จำนวน 45 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าภาคเกษตรทั่วไป (SMART) เพิ่มขึ้นจากต้นปี 1,394 ล้านบาท และกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการเกษตร (SMAEs) เพิ่มขึ้นจากต้นปี 1,314 ล้านบาท รวมการเติบโต ทั้ง 3 กลุ่ม 2,661 ล้านบาท
- ด้านเงินรับฝาก มีจำนวน 123,731 ล้านบาท เพิ่มจากต้นปี 4,038 ล้านบาท คาดการณ์ ณ 31 มีนาคม 2561 จะมีเงินฝากคงเหลือ 128,731 ล้านบาท เพิ่มเป็น 58% จากต้นปีโดยมีเงินฝากที่เป็นที่นิยม ได้แก่ สลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดเกษตรมั่งคั่ง จำหน่ายหมดแล้วเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 จำนวน 6,047,154,900 บาท และเงินฝากออมทรัพย์ทวีโชค ซึ่งเป็นเงินฝากออมทรัพย์ประเภทมีรางวัล โดยจะจับรางวัล ปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคมและกรกฎาคมของทุกปี
- การดำเนินงานโครงการสนับสนุนด้านการเงินแก่เกษตรกร เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีจำนวน 9 โครงการ โดยมีเป้าหมายการให้สินเชื่อจำนวน 1,082 ล้านบาท ให้สินเชื่อแล้ว 525 ล้านบาท มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 19,000 ราย มีพื้นที่การเกษตร จำนวน 179,000 ไร่ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อ เช่น การรวบรวมกาแฟที่จังหวัดเชียงราย และแม่ฮ่องสอน การเลี้ยงโคนม และโคเนื้อ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และพะเยา การทำนาข้าวอินทรีย์ที่จังหวัดลำปาง และน่าน การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จังหวัดลำปาง เป็นต้น
- การส่งเสริมให้ชุมชนที่มีจุดเด่นในด้านวัฒนธรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และประเพณีท้องถิ่น ที่สามารถพัฒนาศักยภาพและยกระดับขึ้นเป็นชุมชนการท่องเที่ยว จำนวน 17 ชุมชน สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชน มุ่งเน้นให้ดำเนินการโดยกระบวนการกลุ่ม ให้สมาชิกในชุมชนบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ดังนี้
- จังหวัดเชียงราย ชุมชนบ้านท่าขันทอง, ชุมชนบ้านสันทางหลวง
4.2 จังหวัดแพร่ ชุมชนบ้านบุญแจ่ม , ชุมชนบ้านนาคูหา
4.3 จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนสบวิน , บ้านปางต้นเดื่อ
4.4 จังหวัดลำปาง ชุมชนบ้านวอแก้ว , บ้านท่าช้าง
4.5 จังหวัดลำพูน ชุมชนบ้านทรายทอง , บ้านแพะต้นยางงาม
4.6 จังหวัดน่าน ชุมชนบ้านโป่งคา , ชุมชนบ้านหนองผุก, ชุมชนบ้านศรีนาป่าน, ชุมชนบ้านน้าเกี๋ยนพัฒนา
4.7 จังหวัดพะเยา ชุมชนบ้านสถาน 2, ชุมชนบ้านปัว
4.8 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านแพมบก
- การขับเคลื่อนเครือข่ายทางการเงิน เพื่อเชื่อมระบบงานสินเชื่อและระบบงานการเงิน เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการเข้าถึงลูกค้า อำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมของลูกค้าธนาคาร โดยได้ดำเนินการนำร่องที่ กองทุนหมู่บ้านทุ่งรวงทอง พื้นที่ดำเนินงานของสาขาแม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 929 คน จำนวนหมู่บ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 19 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 4,694 คน (เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. จ านวน 1,362 คน) ปัจจุบัน กทบ.ทุ่งรวงทอง มีการให้บริการธุรกรรม ดังนี้
5.1 ด้านการเงิน ได้แก่ รับฝาก – ถอนเงิน และรับชำระค่าสินค้าและบริการ
5.2 ด้านการอำนวยสินเชื่อ ได้แก่ ร่วมเป็นพยานในการตรวจสอบที่ดินจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ ส่งหนังสือแจ้งกำหนดชำระหนี้ และหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ำประกัน
5.3 ด้านการสนับสนุนความรู้และการตลาด ได้แก่ เป็นเครือข่ายให้คำปรึกษาทางการเงินภาคครัวเรือนแก่สมาชิกชุมชนที่สมัครใจ
- การขับเคลื่อนงานตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้โครงการตลาด ประชารัฐขั้นที่ 1 เพื่อตอบสนองนโยบายของธนาคารและรัฐบาล ได้มีผู้ประกอบการ และลูกค้าของ ธ.ก.ส. มาขึ้นทะเบียน จำนวน 2,869 ราย ได้เปิดตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. พร้อมกันทั้ง 8 จังหวัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2560 จัดพื้นที่จำหน่ายบริเวณสาขาภายใต้รหัส “888” (8 ธันวาคม 8 จังหวัด ของดี 8 อย่าง) มีสาขา ร่วมเปิดตลาด จำนวน 28 ตลาด มีผู้ขาย 240 ราย และมียอดขายทั้งสิ้น 386,874 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการเปิด ตลาดครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด 65 ตลาด ผู้ขายจำนวน 389 ราย ยอดขายสะสม ณ 31 ธันวาคม 2560 จำนวน 796,958 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการ สินค้าเกษตร สินค้า OTOP SMEs วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อยสามารถนำสินค้าคุณภาพส่งตรงจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง จะขยายพื้นที่ตลาดในสาขาที่มีความพร้อมให้มากที่สุดเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย
- งานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แก่ชุมชนเพื่อสร้างฝายชะลอน้ำ ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปี 2560 ดังนี้
7.1 ฝายชะลอน้ำขนาดเล็ก (ฝายต้นน้ำ) จำนวน 3,088 ฝาย
7.2 ฝ่ายชะลอน้ำขนาดกลาง (แบบถาวร) จำนวน 307 ฝาย
ส่งผลให้ชุมชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มีน้ำอุปโภค-บริโภค จำนวน 39,446 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์ 144,787 ไร่
- มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านระบบ ธ.ก.ส. ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 มีผู้มาลงทะเบียนทั่วประเทศ ทั้งสิ้นจำนวน 14,176,170 ราย ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย จำนวน 3,959,030 ราย และมีหนี้สินทั้งในและนอกระบบ จำนวน 1,455,508 ราย (แบ่งเป็นเกษตรกรที่มีหนี้สินในระบบ 1,007,012 ราย เกษตรกรที่มีหนี้สินนอกระบบ 448,496 ราย)
ในส่วนของ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด มีจำนวนผู้ลงทะเบียน 1,164,991 ราย เป็นเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย 477,646 ราย และในจำนวนนี้มีหนี้นอกระบบ 45,782 ราย จำนวน 2,249 ล้านบาท และต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 มกราคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดย ธ.ก.ส. รวม 3 มาตรการ 8 โครงการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 พัฒนาตนเอง จำนวน 2 โครงการ
1.1 โครงการให้ความรู้ทางการเงินแก่เกษตรกรลูกค้าผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560
1.2 โครงการเงินฝากกองทุนทวีสุข
มาตรการที่ 2 พัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จำนวน 2 โครงการ
2.1 โครงการสินเชื่อชุมชน ปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อย (XYZ)
2.2 โครงการสินเชื่อพัฒนาอาชีพของผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560
มาตรการที่ 3 ลดภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ จำนวน 4 โครงการ
3.1 โครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของผู้มีรายได้น้อยในระบบธ.ก.ส.
3.2 โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน ระยะที่ 3
3.3 โครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินชุมชนเพื่อป้องกันแก้ไขหนี้นอกระบบ
3.4 โครงการสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยเพื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2
- โครงการชำระดีมีคืน ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 ธันวาคม 2560 ได้มีมติเห็นชอบโครงการ เพื่อเป็นการจูงใจและลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้ารายย่อยที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรลูกค้ารายย่อยที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ ณ 30 พฤศจิกายน 2560 ไม่เกิน 300,000 บาท จำนวน 2.3 ล้านราย ต้นเงิน 220,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561- 31 ธันวาคม 2561 ต้นเงินกู้ 220,000 ล้านบาท โดยประมาณการดอกเบี้ยที่คืนให้เกษตรกร จำนวน 4,620 ล้านบาท
ด้้านนโยบายรัฐบาลที่มอบหมายให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก มีนโยบายที่สำคัญ ดังนี้
- มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งมีทั้งโครงการที่ช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สิน การลดภาระค่าใช้จ่าย การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต การคุ้มครองความเสียหายจากภัย ธรรมชาติ รวมถึงการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปีการผลิต 2560/61 ที่ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้วจำนวน 6 ล้านราย จำนวนเงิน 34,000 ล้านบาท
ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้ว 394,108 ราย จำนวน เงิน 2,912 ล้านบาท
- มาตรการส่งเสริมปรับเปลี่ยนการผลิต เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการประกอบอาชีพ และลดพื้นที่การทำนาไม่เหมาะสม โดยส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ โคเนื้อ แพะ พืชอาหารสัตว์ มีเกษตรกรได้รับการ สนับสนุนสินเชื่อกว่า 45,700 ราย เป็นเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขา ภาคเหนือตอนบน ได้จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 3,123 ราย จำนวนเงิน 22.2 ล้านบาท
- มาตรการพัฒนายางพาราทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนสถาบันเกษตรกรในการรับซื้อและรวบรวมยางพารามาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และเชื่อมโยงธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีสถาบันเกษตรกรได้รับการสนับสนุน 554 แห่ง วงเงินสินเชื่อกว่า 7,900 ล้านบาท ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้สนับสนุนไปแล้ว 6 แห่ง จำนวนเงิน 33.8 ล้านบาท
- มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพื่อบรรเทาภาระหนี้สิน ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิต เป็นต้น มีเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนสินเชื่อกว่า 201,700 ราย สถาบันเกษตรกร 221 แห่ง จำนวน 26,000 ล้านบาท ในส่วนของ ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ได้สนับสนุนสินเชื่อกว่า 2,274 ราย จำนวนเงิน 149.96 ล้านบาท.