ธ.ก.ส.ภาคเหนือตอนบนเตรียมสินเชื่อกว่า 200 ล้านบาทสนับสนุนผู้ประกอบการรับซื้อกระเทียมจากเกษตรกร

ธ.ก.ส.ภาคเหนือตอนบนเตรียมสินเชื่อกว่า 200 ล้านบาทสนับสนุนผู้ประกอบการรับซื้อกระเทียมจากเกษตรกร

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

ธ.ก.ส. จัดเวทีหารือร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และผู้ประกอบการรวบรวมและแปรรูปกระเทียม เพื่อเป็นการ เตรียมการแก้ไขสถานการณ์กระเทียมตกต่่า และบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร   

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 นายมาโนช  บัวองค์ รองผู้อ่านวยการ ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็น ประธานเปิดการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรวบรวมและแปรรูปกระเทียม ซึ่งธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่,ลำพูนและแม่ฮ่องสอน รวมทั้งสนง.เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ได้เชิญผู้ประกอบการรวบรวมและแปรรูปกระเทียมเข้าร่วมประชุมด้วย

นายมาโนช  บัวองค์รองผู้อ่านวยการ ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เนื่องจากในปีการผลิต 2561/2562 คาดว่าจะมีผลผลิตกระเทียมสดประมาณ 171,000 ตัน หรือคิดเป็นผลผลิตกระเทียมแห้งประมาณ 52,321 ตัน และปัญหาส่วนใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมมัก เกิดในช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตจำนวนมากพร้อมกัน ทำให้ถูกกดราคา และมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว จึงมีความจำเป็นต้องขายในราคาถูก บางปีเก็บเป็นกระเทียมแห้งไว้รอราคาแต่ราคาตกต่ำต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีผู้รับซื้อ อีกทั้งพ่อค้าผู้รวบรวมกระเทียมยังขาดเงินทุนสำหรับรับซื้อผลผลิตกระเทียมแห้งรอจำหน่ายหรือรับซื้อเพื่อนำไปแปรรูป

ธ.ก.ส. จึงได้มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่ ผู้ประกอบการรวบรวมและแปรรูปกระเทียม ปีการผลิต 2561/2562 ซึ่งคาดว่าเกษตรกรผู้ปลูก กระเทียมจะสามารถจำหน่ายกระเทียมในราคาเป็นธรรม ไม่ถูกกดราคา ส่งผลให้เกษตรกรและผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยลดภาระหนี้สิน และ ธ.ก.ส. สามารถอ่านวยการสินเชื่อ ให้ผู้ประกอบการ SMAEs หัวขบวน นำไปรวบรวมผลผลิตกระเทียมแห้งจากเกษตรกร

รองผู้อ่านวยการ ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในการช่วยเหลือจะมีอยู่ 3 ส่วน โดยในส่วนของเกษตรกรรายย่อยที่เป็นลูกค้าธ.ก.ส.อยู่แล้ว จะมีการขยายเวลาชำระหนี้หรือพักชำระหนี้ จ่ายเพียงดอกเบี้ยเงินกู้เท่านั้น มาตรการต่อมาคือการให้เงินทุนหมุนเวียนฉุกเฉิน โดยให้กู้รายละไม่เกิน 70,000 บาทอัตราดอกเบี้ย MRR 7 โดยรัฐบาลชำระดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 และเกษตรกรชำระร้อยละ 4 และมาตรการสุดท้ายคือการให้สินเชื่อสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อรวบรวมและรับซื้อผลผลิตกระเทียมจากเกษตรกร  โดยธ.ก.ส.ภาคเหนือตอนบนคาดการณ์จะจ่ายสินเชื่อได้ประมาณ 200 ล้านบาท.

 

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้