ธ.ก.ส. เดินหน้าโครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง สำหรับรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ปีกำรผลิต 2564 สำหรับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน น่าน เชียงราย พะเยา และจันทบุรี เพื่อให้เกษตรกรได้รับความคุ้มครองกรณีเกิดปัญหาภัยแล้งและเกิดความเสียหายต่อผลผลิต ช่วยสร้างทางเลือกในการบริหารจัดการความเสี่ยง และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.63 ที่สวนลำไยนายนิคม นายนิกร ออนเขียว ต.แม่วาง ฝ่ายกิจการธ.ก.ส.สาขาภาคเหนือตอนบน ได้เปิดตัวโครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง ปี 2562-2563 โดยมีนายกลศาสตร์ เรืองแสง ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนบน,นางกชปภัทร บุญเทียมทัต ผอ.สำนักพัฒนาธุรกิจประกันภัย และนางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธ.ก.ส.ร่วมให้ข้อมูล
นางณิชา อวยพรรุ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. ได้ดำเนินโครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้ง โดยร่วมกับบริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จ ากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปีการผลิต 2562 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีแรกนำร่องในเขตพื้นที่ 24 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนปีที่ผ่านมาขยายพื้นที่เพิ่มอีก 2 จังหวัด ได้แก่ ลำพูนและน่าน สำหรับปีนี้ ธ.ก.ส. ได้ขยายพื้นที่เพิ่มรวมทั้งสิ้น 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน เชียงราย พะเยา และจันทบุรี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการสร้างภูมิคุ้มกันและเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการผลิต โดยใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับโครงการประกันภัยพืชผลลำไยจากภัยแล้งที่ผ่านมามีเกษตรกรให้ความสนใจและเข้าร่วมโครงการฯ ปีละกว่า 1,000 ราย มีการจ่ายเงินชดเชยปีละกว่า 1 ล้านบาท
สำหรับคุณสมบัติผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นลูกค้าเงินกู้ของ ธ.ก.ส. และมีพื้นที่เพาะปลูกลำไยอยู่ในเขตพื้นที่การรับประกันภัย โดยสามารถกำหนดวงเงินกู้ในส่วนที่ขอเอาประกันภัยขั้นต่ า 10,000 บาท แต่ไม่เกินจำนวนเงินกู้เพื่อเพาะปลูกลำไย และสูงสุดไม่เกินวงเงินกู้ในส่วนที่ขอเอาประกันภัย 500,000 บาท อัตราค่าเบี้ยประกันภัย 399 บาท (รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาในการวัดปริมาณน้ำฝนหรือระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 31 พฤษภาคม 2564 รวม 106 วัน
ทั้งนี้ การวัดค่าปริมาณน้ำฝนในแต่ละวันตลอดระยะเวลาประกันภัย จะอ้างอิงข้อมูลจากระบบดาวเทียม GSMaP ของ RESTEC (The Remote Sensing Technology Center of Japan) กรณีจำนวนวันที่เกิดฝนแล้งมีค่าเท่ากับค่าดัชนีฝนแล้งที่กำหนดของแต่ละอำเภอ เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยรอบแรก 900 บาท และหากเกิดฝนแล้งต่อเนื่องเกษตรกรจะได้รับค่าชดเชยเพิ่มเป็นรายวัน วันละ 80 บาท รวมเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 2,100 บาทต่อ 1 หน่วยความคุ้มครอง โดย ธ.ก.ส. คาดว่าปีนี้จะมีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3,000 ราย และจะเปิดรับประกันภัยในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ถึงสิ้นเดือนมกราคม 2564 ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจสามารถขอรับการประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาในพื้นที่ 6 จังหวัดดังกล่าว หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ Call Center 02-5550555