นายเหริน ยี่เซิง
กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่
ประเทศจีนกำลังพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก
ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างการสร้างความสมดุลในการพัฒนาและการปกป้องระบบนิเวศ
ทำให้สภาพอากาศหมอกควันมักเกิดขึ้นในหลายเมือง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศจีนมีความพยายามอย่างมากในการควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
หมอกควันเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่น การปะทุของภูเขาไฟ การเผาต้นฝางข้าวและกิจกรรมของมนุษย์ล้วนส่งผลให้เกิดหมอกควัน หลังจากที่มนุษย์เข้าสู่กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมและเปลี่ยนแปลงเป็นเมือง ทำให้ประชากรมีความต้องการในด้านการใช้พลังงานในปริมาณมาก จนทำให้สภาพแวดล้อมของระบบนิเวศถูกทำลาย ซึ่งเป็นการเพิ่มตัวของหมอกควัน และเป็นภัยคุกคามต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์
เช่นเดียวกับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ประเทศจีนกำลังพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างการสร้างความสมดุลในการพัฒนาและการปกป้องระบบนิเวศ ทำให้สภาพอากาศหมอกควันมักเกิดขึ้นในหลายเมือง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศจีนมีความพยายามอย่างมากในการควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม จนทำให้สภาพอากาศหมอกควันในเมืองต่างๆ เช่น ปักกิ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด เราเชื่อว่าเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาหมอกควันในเชียงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเราจำเป็นต้องให้ความสนใจกับประเด็นต่อไปนี้
ประการแรก ส่งเสริมแนวคิดของการรักษาสิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศ และให้ความสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางระบบนิเวศ “แม่น้ำสีเขียว ภูเขาสีเขียวเป็นทรัพย์ของธรรมชาติ”ปกป้องทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศที่สดใสของเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อปกป้องสุขภาพและความสุขของประชาชน เพื่อรักษาภาพลักษณ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมืองท่องเที่ยวของเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังดึงดูดชาวต่างชาติจำนวนมากให้เข้ามาลงทุน ท่องเที่ยว ใช้ชีวิตหลังเกษียณ ศึกษาในจังหวัดเชียงหม่และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือ
ประการที่ 2 ส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ดอกไม้ ต้นไม้ ใบชา กาแฟ ไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร เน้นการประชาสัมพันธ์และการฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการกับฟางและเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“เราขอแนะนำเทคโนโลยี JUNCAO ที่นักวิทยาศาสตร์จีนคิดค้นขึ้นมา ให้กับจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงของภาคเหนือ เทคโนโลยีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการเพาะปลูกเห็ดกินได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำลายพืชป่า ซึ่งเอื้อต่อการบรรเทาความยากจน ส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีการใช้งานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกตามโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”
ประการที่ 3 ควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างเข้มงวด เช่น การปล่อยไอเสียของยานพาหนะ มลพิษทางอุตสาหกรรมและฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ คอยสังเกตและการลงโทษ ส่งเสริมให้ผู้คนรายงานการละเมิด ส่งเสริมให้ประชาชนรายงานความผิดข้อกฎหมายและข้อบังคับ
ประการที่ 4 ใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่อรับมือกับหมอกควัน ซึ่งครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจากจีนและไทยจะแนะนำการใช้นาโนเทคโนโลยีและหอคอยฟอกอากาศ เพื่อควบคุมหมอกควันในเมือง ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ยินดีที่จะเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง และร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศที่สวยงามของเชียงใหม่ให้ภูเขา แม่น้ำเป็นสีเขียว ท้องฟ้าสีคราม ก้อนเมฆเป็นสีขาวตลอดไป.