“บิ๊กป้อม”มอบนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าฯภาคเหนือปี 66 ให้ขับเคลื่อนตามแผนเฉพาะกิจบนหลักการ”สื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการและสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเป็นเอกภาพของข้อมูล ปรับรูปแบบรายงานให้น่าสนใจ เข้าถึงง่ายเพื่อไม่ให้สับสนและตื่นตระหนก โดยให้ผู้ว่าฯเป็นผู้บริหารสั่งการระดับจังหวัด
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.65 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมามอบนนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2566 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยระบุว่าปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองเป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเผาป่า และการเผาในที่โล่ง และให้กระทรวง และทุกหน่วยงาน บูรณาการป้องกัน และแก้ไขให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้ง “พื้นที่เมือง พื้นที่เกษตร พื้นที่ป่า”
รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้มงวดกวดขัน ทุ่มเทสรรพกำลังองค์ความรู้ และทรัพยากรอย่างเต็มกำลังความสามารถ และประสานงานกันในการดำเนินงาน ปฏิบัติการขับเคลื่อนตาม “แผนเฉพาะกิจ” เพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 บนหลักการ”สื่อสารเชิงรุก – ยกระดับปฏิบัติการ – สร้างการมีส่วนร่วม” โดยสร้างความเป็นเอกภาพของข้อมูล ปรับรูปแบบการรายงานข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ให้น่าสนใจ เข้าถึงง่ายเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนก สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน นำความเห็นของพี่น้องประชาชนมาปรับปรุงการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาต้องเป็นเอกภาพ การรับผิดชอบ กำกับดูแลพื้นที่ต้องไม่เกิดช่องว่าง หรือพื้นที่เกรงใจ และต้องไม่เกิดปัญหา ว่าไม่ใช่พื้นที่รับผิดชอบไม่ทำ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างจังหวัด หรือระหว่างหน่วยงานและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ใช้ระบบ Single command มีการจัดทำประกาศจังหวัดในสถานการณ์ต่างๆ การเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกพื้นที่/ทุกระดับ ทั้งอำเภอ ตำบล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน
พลเอกประวิตร ยังกำชับให้หน่วยงานหลัก คือกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อเผชิญเหตุ ร่วมกับจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร เช่น กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น มอบหมายเทศบาล และ อบต. สร้างความเข้าใจ และความตระหนัก ให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่น ยอมรับ และร่วมมือในการเฝ้าระวังและดูแลรักษา ไม่ให้เกิดปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่งให้มีการจัดตั้งอาสาสมัครและครือข่ายป้องกัน และแก้ไขปัญหา/ดับไฟป่าระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน
ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อำนวยการ/กำกับการ และสนับสนุนให้หน่วยป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบดูแลป้องกันไฟป่าให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และประสานอย่างใกล้ชิดกับศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด ใช้ระบบพยากรณ์ระดับชันอันตรายของไฟประเมินความเสี่ยงพื้นที่ ระดมสรรพกำลังลาดตระเวนเฝ้าระวังการเผาป่าโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง หากพบไฟไหม้ ให้เข้าพื้นที่ดับไฟอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง บริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร ทั้งการจัดทำแนวกันไฟในพื้นที่เสียงไฟป่า ขยายผลโครงการ “ชิงเก็บ ลดเผา”ในช่วงที่มีสถานการณ์ไฟป่ารุนแรง ให้ออกประกาศตามอำนาจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าไปกระทำการใดๆในพื้นที่ป่า
ให้กรมควบคุมมลพิษ ติดตาม ตรวจสอบ คาดการณ์ ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง ร่วมกับ กรมอุตุนิยมวิทยา และ Gistda พร้อมสื่อสารไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ประสานกระทรวงต่างประเทศ ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดน ตามกลไกอาเซียน ผลักดันให้ประเทศสมาชิก ตั้งเป้าหมายร่วมกันในการลดจุดความร้อน และพื้นที่เผาไหม้ ติดตามและกำกับการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ และแผนเฉพาระกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2566 และรายงานผลการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และต่อเนื่อง ร่วมกับท้องถิ่น อาสาสมัครและเครือข่ายภาคประชาชน ประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเผาป่า และร่วมดับไฟในกรณีเกิดไฟ
ทางด้านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เฝ้าระวัง ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง การเผาในพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเคร่งครัด โดยประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร สร้างเครือข่ายเกษตรกรงดการเผา และขยายเครือข่าย เพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นเกษตรปลอดการเผาส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร สร้างมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน บนหลักการ BCG
กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้กำกับดูแล เข้มงวดกวดขัน และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับรถยนต์ และจักรยานยนต์ที่ระบายสารมลพิษ หรือควันดำจัดระบบการจราจรให้คล่องตัวในช่วงสภาวะอากาศปิด และประสานเอกชนในการช่วยเหลือประชาชนในการตรวจสภาพรถยนต์และเปลี่ยนอะไหล่ราคาถูก ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมให้ตรวจสอบ กำกับ ดูแลโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ไม่ให้ระบายสารพิษออกสู่บรรยากาศ ขยายผล/เพิ่มประสิทธิภาพให้มีการลด การเผาอ้อย ให้บรรลุเป้าหมายและมาตรการที่ตั้งไว้ (ตามสถานการณ์ของแต่ละปี)
ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขให้ยกระดับการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน จดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรคให้มีความพร้อมในพื้นที่ จัดสถานที่รองรับที่น้องประชาชน หากเกิดสถานการณ์ปัญหาจากฝุ่นละอองที่รุนแรง ให้เพียงพอและครอบคลุมทุกพื้นที่ ตรวจสุขภาพ ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในพื้นที่เสี่ยงที่ปฏิบัติการในการดับไฟป่า เพื่อให้เกิดการรักษาก่อนการปฏิบัติงานและระวังตัวเองในการปฏิบัติงาน (ป้องกันการสูญเสีย)
ให้กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ติดตามและวิเคราะห์ภาวะอากาศและการสะสมของฝุ่นละอองล่วงหน้า เพื่อประสานหน่วยงาน ในการแก้ไขปัญหาและแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้เกิดความแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาได้ทันเวลาให้ Gistda จัดทำและรายงานข้อมูลจุดความร้อนและพื้นที่ไฟไหม้ซ้ำซาก ให้ทันต่อสถานการณ์ และประเมินพื้นที่เสี่ยงเกิดไฟให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ประกอบการวางแผนดำเนินงานและยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย และให้บำรุงรักษา พัฒนาต่อยอดระบบบริหารการเผาในที่โล่ง (Burn Check)อย่างตอเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานของพี่น้องประชาชน
นอกจากนี้ยังสั่งการให้กองทัพภาคที่ ๓ และจังหวัดทหารบก กระทรวงกลาโหม ให้การสนับสนุนกำลังพลเพื่อการสนับสนุนภารกิจ ของจังหวัด และร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานและอาสาสมัครโดยเฉพาะการดับไฟป่าด้วย.