“บ้านหนองคล้า” พาสุข อบอุ่นได้ถ้าไร้หนี้

“บ้านหนองคล้า” พาสุข อบอุ่นได้ถ้าไร้หนี้

ปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวมีความสุขน่าจะประกอบไปด้วยหลายๆ ปัจจัย และอย่างน้อยต้องมี ปัจจัยนี้ร่วมด้วย นั่นคือ สุขภาพและเศรษฐกิจ หากทุกคนมีสุขภาพดี มีรายได้ดี อยู่กินไม่ลำบาก ครอบครัวก็จะอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าหากสุขภาพของคนในครอบครัวมีปัญหา ความวิตกกังวลก็จะเริ่มค่อยๆ เกิดขึ้นจนกลายเป็นความเครียด และหากครอบครัวไหนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ รายได้ไม่พอรายจ่าย และถ้าเป็นหนี้ก็ยิ่งทุกข์หนักไปอีก จิตใจก็ไม่โปร่งใส่ อาจจะลามไปถึงสุขภาพร่างกายที่ย่ำแย่ลงที่บ้านหนองคล้า ต.พุเตย อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ที่นี่เป็นชุมชนคนเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน มาช้านาน และจากการทำเกษตรแบบไม่ยั้งคิด ทุกคนกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเครื่องมือ และรายจ่ายในครัวเรือน เมื่อผลผลิตราคาตกต่ำ ขายไม่ได้ราคา เงินที่จะเอาไปใช้หนี้ทั้งในระบบและนอกระบบก็ไม่พอ ทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นๆ ทุกปี

ชาวบ้านหนองคล้าจึงไม่สุขกาย สบายใจ แต่ละครอบครัวก็ไม่มีความสุข มัวแต่ทำงานหนักหาเงินมาใช้หนี้ที่ไม่รู้จะหมดเมื่อไหร่ เงินจะใช้หยิบจ่ายก็ต้องกระเบียดกระเสียร กลายเป็นปัญหา “ปากท้อง” ที่ทำให้เกิดการทะเลาะ มีปากเสียง จนส่งผลให้สัมพันธภาพของครอบครัวแย่ลง“ไปเอาเงินเขามาทั้งลงทุนทำเกษตร ซื้อปุ๋ย ยา และใช้จ่ายรายวัน โดยไม่รู้เลยว่าตัวเองจะมีรายรับเท่าไหร่ เพราะรายได้เป็นเงินรายปี แต่กินใช้ทุกๆ วัน รายได้กับรายรับก็ไม่สมดุลกัน ก็กลายเป็นหนี้ที่มากขึ้นๆ คนในครอบครัวก็ทะเลาะกันบ่อย บ้างก็ซึมเศร้าตื่นมาในหัวมีแต่หนี้สิน จะเอาเงินจากไหนไปใช้คืน มันทำให้ชุมชนเราอยู่ไม่เป็นสุขกัน เราจึงอยากให้ชุมชมเรากลับมาอบอุ่นเหมือนในอดีต ทุกคนพึ่งพาอาศัยกัน ยิ้มแย้มเป็นมิตรที่ดีต่อกัน” สัญญา ชื่นเอี่ยม ประธานสภา อบต.หนองคล้า เล่าถึงสภาพปัญหาของหมู่บ้านชาวบ้านจึงร่วมกับอบต.หนองคล้า มานั่งพูดคุยกัน ว่าการทำเกษตรที่พึงพาแต่สารเคมีทำให้ทุกคนมีแต่หนี้ ชุมชนและครอบครัวไม่มีความสุข แล้วจะทำอย่างไรให้ทุกคนกลับมามีความสุขได้ นั่นคือ การปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตร ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก แล้วหันมาทำเกษตรวิถีดั้งเดิม และพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และได้เข้าร่วมโครงการสร้างเสริมให้เกิดครอบครัวอบอุ่น ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนทำอย่างจริงจัง ซึ่งจะนำพาความสุขคืนสู่ชุมชนอีกครั้งหนึ่งประธานสภา อบต. กล่าวถึงแนวทางนี้ ว่าเราเริ่มจากการใช้สภาผู้นำเข้ามาช่วยแก้ปัญหา โดยมองไปที่เรื่องการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และชวนทุกคนเปลี่ยนแนวทางการทำไร่ ทำสวน ลดการใช้สารเคมี จากที่เคยใช้แต่สารเคมี ปุ๋ย ยา ก็หันมาทำน้ำหมักชีวภาพ ใช้สารชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีกองทุนหมู่บ้านเข้ามาช่วยเหลือสำหรับสมาชิกที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุน จะได้ไม่ต้องพึ่งแหล่งทุนจากที่อื่น

ขณะเดียวกันได้ส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนปลูกผักปลอดสาร เลี้ยงสัตว์ไว้กินไว้ขายในครัวเรือน อันเป็นวิถีการพึ่งพาตนเองของคนในอดีต เน้นการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว ได้พูดคุย และมีเวลาอยู่ร่วมกัน ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนสามวัย จนเกิดเป็นครอบครัวอบอุ่นประเพียว นรินอก ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองคล้า กล่าวว่า เมื่อก่อนคนแก่ จะถูกทิ้งไว้อยู่บ้าน ไม่มีส่วนร่วมกับชุมชน แต่พอมีกิจกรรมนี้ ทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือนซึ่งจะมีการประชุมหมู่บ้านและวันเปิดให้บริการธนาคารหมู่บ้าน  เขาก็ได้มาพูดมาคุยกัน  เอาปัญหามาคุยมาพบปะกัน ก็ไม่ถูกทอดทิ้ง

ภาวะหนี้สินเป็นอุปสรรคทำให้ครอบครัวไม่อบอุ่น หงุดหงิด จึงก็พยายามชักชวนมาพูดคุย ลดหนี้สินให้คงที่ไม่ให้เพิ่มขึ้น และพยายามส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมรายได้ เช่น เลี้ยงหมู ปลูกผักสวนครัว ไว้ขาย ไว้กิน เป็นต้นลุงลำดวน เทียมปิติ ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเคยเจ็บป่วยเฉียดตายมาจากการใช้สารเคมี คือคนต้นแบบของชาวบ้านหนองคล้า ที่เลิกการทำเกษตรแบบเคมีมานานถึง 17 ปีแล้ว โดยหันมาศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง และไม่หยุดนิ่งที่จะคิดค้น ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ย น้ำหมักไล่แมลง และ “ฮอร์โมนรกหมู” ปุ๋ยบำรุงสูตรเด็ดที่ใครๆ ก็ถามไถ่ซื้อไปใช้ ขณะเดียวกันยังได้สอนลูก หลาน ให้เห็นความสำคัญและรักการทำเกษตรด้วยการทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง     ทุกเช้า-เย็น ลุงลำดวน ลูกสาว-ลูกเขย พร้อมด้วยหลานชายตัวน้อยวัย 3 ขวบ และหลานสาวที่กำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะใช้เวลาว่างร่วมกันลงไปดูแล ถอนหญ้า รดน้ำ แปลงผักหลายชนิดที่หน้าบ้าน บ้างก็ไปให้อาหารหมู ไก่ ที่เลี้ยงไว้หลังบ้าน ผลผลิตที่ได้บางส่วนนอกจากจะเอาไว้กินเองแล้ว หลานสาวคนเก่งก็จะนำไปขายภายในชุมชน ได้เป็นค่าขนม ได้เป็นเงินเก็บ ช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่

            บ้านลุงลำดวนจึงเป็นครอบครัวเกษตรกรต้นแบบที่เต็มไปด้วยความรักและความอบอุ่นขณะที่ นุสรา เรียมปิติ ลูกสาวลุงลำดวน บอกถึงเหตุผลที่ให้ลูกๆ มาเรียนรู้การทำเกษตร ว่า ให้เขาได้รู้จักอาชีพพ่อแม่ ได้มีความรู้มีพื้นฐานการทำเกษตรไว้บ้าง และได้รู้ว่ากว่าจะได้ผลผลิตและนำไปขายได้ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง เขาจะได้ซึมซับและรักในวีถีเกษตร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญควบคู่กับการเรียน ให้เขาได้ใช้วิชาชีวิต ได้ทำอะไร เน้นการใช้ชีวิต โตขึ้นไปเขาจะอยู่ในสังคมได้ง่าย เพราะมีภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีและมากกว่าเด็กคนอื่นๆ

แค่การเปลี่ยนวิถีเกษตรจากเคมีมาสู่วิถีอินทรีย์ของบ้านหนองคล้า ไม่น่าเชื่อว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวชุมชนทั้ง 174 หลังคาเรือน เกิดความรักใครกลมเกลียวทั้งในระดับชุมชนและครอบครัว เกิดเป็นครอบครัวอบอุ่นขึ้นมาได้ ดังที่เห็นและเป็นอยู่ในขณะนี้

You may also like

เริ่มแล้วงาน “ฤดูหนาวและงาน OTOP ของดีอำเภอหางดง” ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 20-29 พฤศจิกายน 2567 เปิดให้ชมฟรีตลอดงาน

จำนวนผู้