“บ้านฮ่องแฮ่” ชุมชนผลิตผักปลอดสารอาหารปลอดภัย

“บ้านฮ่องแฮ่” ชุมชนผลิตผักปลอดสารอาหารปลอดภัย

ารแบกรับความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยจากสารเคมีในท้องตลาด ซึ่งหากบริโภคประจำอาจเกิดการสะสมจนส่งผกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งด้านประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง  เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ ทั้งยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม มะเร็งผิวหนัง ฯ ทำให้แกนนำชาวบ้านฮ่องแฮ่ ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ต้องดิ้นรนหาทางออก เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน ปภาดา เนมินทอน ผู้ใหญ่บ้านฮ่องแฮ่ เล่าว่า หมู่บ้านฮ่องแฮ่ มีประชากรทั้งหมด 400 คน 115 ครัวเรือน และสำรวจพบว่ามีปัญหาจากการใช้สารเคมีในการปลูกผัก รวมถึงการบริโภคผักที่มีสารเคมีตกค้าง โดยส่วนใหญ่ซื้อผักจากตลาดมาบริโภค ซึ่งนับเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพอย่างยิ่ง จึงสนใจทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน กับทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เมื่อสุ่มตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจำนวน 95 คน ปรากฏว่าอยู่ในระดับปลอดภัยแค่ 21 คน หรือ 22.10% นอกเหนือจากนั้นมีความเสี่ยง 30 คน หรือคิดเป็น 31% และมีสารพิษตกค้างในเลือด 44 คน หรือ 46.32% ขณะเดียวกัน ในการสำรวจครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 81 ครัวเรือน พบว่า 65 ครัวเรือน หรือ 80.2% ยังปลูกผักแบบใช้สารเคมี และส่วนใหญ่ คือ 66 ครัวเรือน ปลูกผักแค่ 5-10 ชนิดเท่านั้น มี 10 ครัวเรือน ที่ปลูก 11-15 ชนิด และ 5 ครัวเรือน ที่ปลูก 16-20 ชนิดหลังจากได้ข้อมูลแล้ว คณะทำงานจึงได้จัดประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อคืนข้อมูล พร้อมทั้งตั้งกฎกติกาในการปลูกผัก ผลไม้ แบบปลอดสารพิษ อย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด ก่อนเริ่มดำเนินการอบรมให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และสารศัตรูพืชชีวภาพ และเมื่อครัวเรือนนำไปปฏิบัติแล้ว ทางคณะทำงานจะติดตามผลอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่ข้อมูลการปลูกเท่านั้น แต่ละครัวเรือนยังต้องบันทึกข้อมูลการรับประทานผักที่ปลูกด้วยหากในการปลูกจริง ชาวบ้านได้เพิ่มชนิดผักที่ปลูกให้หลากหลายมากขึ้น ทำให้ผลการสำรวจครั้งล่าสุด เป็นไปอย่างน่าพอใจ มี 5 ครัวเรือน ที่ยังปลูกผักในปริมาณเท่าเดิมคือ 5-10 ชนิด แต่ 71 ครัวเรือน ได้ปลูกเพิ่มเป็น 11-15 ชนิด 3 ครัวเรือน ปลูก 16-20 ชนิด และ 2 ครัวเรือน ปลูก 21 ชนิดขึ้นไป ทั้งยังเหลือครัวเรือนที่ใช้สารเคมี 9 ครัวเรือน หรือ 11%  เกือบ 90% สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาปลูกพืชผักแบบไม่ใช้สารเคมีได้แล้วนั่นทำให้ผลการตรวจเลือดซ้ำในครั้งที่ 2 ปรากฏผู้มีความเสี่ยงลดลง จากการตรวจ 67 คน ปลอดภัย 43 คน หรือ 64.1% อีก 12 คน ยังมีความเสี่ยง คิดเป็น 17.9% และพบสารพิษตกค้างในร่างกาย 10 คน คิดเป็น 14%“สาเหตุที่บางครัวเรือนยังใช้สารเคมีอยู่ เพราะขาดความเข้าใจ คิดว่าไม่ใช่ปัญหาสำคัญ ทั้งที่เมื่อเกิดปัญหาในชุมชน ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระตุ้นและให้ความรู้ซ้ำ นอกจากนี้ปัญหาด้านดินฟ้าอากาศที่ควบคุมไม่ได้ ก็ทำให้ต้องสร้างโรงเรือนบริเวณแปลงรวม เพื่อเป็นจุดเรียนรู้ให้คนในชุมชน ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน” ปภาดา อธิบายด้านภักดี พิราลัย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฮ่องแฮ่ บอกว่า ทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทำโครงการ โดยเฉพาะเรื่องโรค แมลง ที่รบกวนพืชผัก เมื่อไม่ใช้สารเคมีก็ต้องหาวิธีการอื่นในการกำจัด มีการสืบเสาะหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ว่าคนสมัยเก่าทำอย่างไรเมื่อเกิดโรคและแมลงระบาด บางครั้งก็อาศัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนอื่นที่ปลูกผักปลอดสารอยู่แล้ว บางคนศึกษาจากยูทูป ทำให้ได้วิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันไป เช่น ใช้น้ำที่แช่ข้าวทิ้งไว้ 2-3 วัน ทำให้มีกลิ่นเหม็น ช่วยไล่แมลงได้ หรือใช้กาแฟ 2 ช้อน ชงในน้ำครึ่งแก้ว แล้วเทยาคูลท์ใส่ลงไป ก่อนผสมน้ำรด เป็นต้น“การทำโครงการ ช่วยให้ชาวบ้านตื่นตัว และเกิดแกนนำต้นแบบ ที่ทั้งผลิต-บริโภคพืชผักปลอดสารพิษอย่างจริงจัง ถึง 25 คน ซ้ำชุมชนยังมีต้นทุนดี ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเน้นการทดลองปลูกผักสวนครัว เมื่อชาวบ้านหันมาปลูกผักปลอดสารพิษ ก็ได้ส่งพืชผักให้ทางศูนย์ฯ ด้วย” ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฮ่องแฮ่ กล่าววันนี้ การปลูกพืชผักปลอดสารที่บ้านฮ่องแฮ่ จึงได้ยกระดับไปอีกขึ้นหนึ่ง ไม่ใช่แค่ปลูกในสวนครัว ที่ว่างของบริเวณบ้าน เพื่อบริโภคในครัวเรือน สร้างเสริมสุขภาพที่ดีของคนในชุมชนแค่นั้น  หากยังรวมกลุ่มกันปลูกในโรงเรือนกลางหมู่บ้าน และวางแผนการปลูกอย่างมีขั้นตอน เช่น คะน้าแต่ละแปลงปลูกไม่พร้อมกัน เพื่อให้สามารถตัดไล่เรียงกันไปได้ตลอด ขณะที่พืชผักชนิดอื่นก็อาศัยวิธีการเดียวกัน ทำให้บ้านฮ่องแฮ่ กลายเป็นแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ควบคู่ไปกับสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้