ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ ต.ปิงโค้งทุกฝ่ายเห็นพ้องแก้ภัยแล้งได้แหล่งน้ำสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี

ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ ต.ปิงโค้งทุกฝ่ายเห็นพ้องแก้ภัยแล้งได้แหล่งน้ำสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี

ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์โซน C ทั้งหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่เห็นพ้อง นายอำเภอเชียงดาวเผยให้ทุกฝ่ายร่วมเสนอความเห็น ชี้อาจเสียพื้นที่ป่าบางส่วนแต่ได้แหล่งน้ำที่ช่วยให้ประชาชนในพื้นที่สามารถมีแหล่งน้ำเพาะปลูกทำการเกษตรได้ทั้งปี ขณะที่ผู้แทนกรมชลประทานมั่นใจเดินหน้าได้ตามแผนงานโครงการฯ

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 พฤษภาคม  พ.ศ. 2567 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลปิงโค้ง 2 อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นายกฤตพล รชตเมธานนท์ นายอำเภอเชียงดาว เป็นประธานเปิดการการประชุมปัจฉิมนิเทศ โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายมหิทธิ์ วงศ์ษา ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวรายงาน นายทศพัฒน์  เลาจาง นายกเทศมนตรีตำบลปิงโค้ง, นายนคร ศรีธิวงค์ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม กรมชลประธาน พร้อมด้วย ดร.ชญาทัต เนียมแสวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน, หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมจำนวนมาก

นายมหิทธิ์ วงศ์ษา ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น อ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เนื่องจากราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการ ในคราวสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงานโครงการหลวงและทรงเยี่ยมราษฎรที่บ้านห้วยลึก ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ แต่กรมชลประทาน ได้ชะลอโครงการไว้ เนื่องจากจุดที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแดง

ต่อมา​เดือนพฤษภาคม 2561 กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้จัดทำรายงานการศึกษาโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ โดยบริเวณที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตบ้านปางโม่ หมู่ที่ 8 ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติผาแดง แต่เนื่องจากบริเวณจุดที่ตั้งหัวงานอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว บริเวณป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C) ประมาณ 203 ไร่ จึงเข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 เรื่อง การทบทวนการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการของหน่วยงานรัฐที่ต้องเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (13 กันยายน 2537) เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อนำเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงาน และเสนอต่อหน่วยงานอนุญาตเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้างตามขั้นตอนต่อไป สำนักบริหารโครงการ จึงเห็นควรให้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของโครงการ ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

ทั้งนี้กรมชลประทานได้จัดให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระบวนการศึกษานี้กรมชลประทานให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะเพิ่มเติมต่อผลการดำเนินงานศึกษาโครงการฯ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนไปแล้วทั้งหมด  2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 การจัดประชุมปฐมนิเทศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 2 การจัดประชุมกลุ่มย่อย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น มาตรการป้องกันแก้ไข และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโครงการต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับโครงการ และให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะต่อผลการดำเนินงานศึกษาโครงการฯ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งกรมชลประทานและคณะผู้ศึกษาพร้อมรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป

ด้านนายกฤตพล รชตเมธานนท์ นายอำเภอเชียงดาว กล่าวว่า จากวัตถุประสงค์ที่ผู้แทนกรมชลประทานได้รายงานครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น มาตรการป้องกันแก้ไข และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะเพิ่มเติมต่อผลการดำเนินงานศึกษาโครงการฯ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากประชาชนในพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ขอให้ผลการดำเนินงานของโครงการฯ เพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่มากที่สุด

นายอำเภอเชียงดาว กล่าวอีกว่า อ.เชียงดาวเป็นแหล่งต้นน้ำปิง และแม่น้ำสายอื่นๆ อีกหลายแห่ง แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งขาดน้ำในการเพาะปลูก โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หากเกิดขึ้นได้จะช่วยให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำในการเพาะปลูก เพราะว่า​ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา เกษตรกรขาดแหล่งน้ำจึงไม่สามารถทำการเกษตรได้ และได้มีการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยการเผาเศษวัสดุวัชพืชทำให้เกิดไฟลามเข้าไปในพื้นที่ป่า หากมีอ่างเก็บน้ำห้วยแม่มาศ จะช่วยผันน้ำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ก็จะช่วยลดปัญหาการเกิดไฟป่าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามวันนี้ได้ปัจฉิมนิเทศโครงการฯ ได้มีตัวแทนภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมขอให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ การที่อาจจะต้องเสียพื้นที่ป่าบางส่วน แต่ได้แหล่งน้ำเพิ่มขึ้นก็ขอให้เวทีนี้เป็นเวทีตกผลึก และขอให้เดินหน้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี

จากนั้นกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอสเค แมเนจเมนท์ แอนด์ แพลนนิง จำกัด , บริษัท ธรรมชาติ คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ไทยคอนซัลแตนท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้สรุปโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น พร้อมกับเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งออนไซต์และออนไลน์ โดยนายพิศาล ตั้งตระกูล ผู้จัดการโครงการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านวางโครงการ และนายนคร ศรีธิวงค์ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันชี้แจงรายละเอียดโครงการ ซึ่งที่ประชุมได้มีการสอบถามเรื่องเส้นทางเดินทางเข้าพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการประชุมรับฟังครั้งแรก และทางผู้จัดการโครงการฯได้ชี้แจงถึงความจำเป็นต้องปรับเส้นทางเลี่ยงพื้นที่ตั้งศูนย์วิจัยของป่าสงวนฯ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีการเข้าไปบุกรุกหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนฯมากขึ้น ซึ่งที่ประชุมก็เห็นด้วย และทางโครงการฯจะได้จัดทำเอกสารเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและเดินหน้าโครงการตามแผนงานต่อไป.

You may also like

กกท. จัดการแข่งขันกรีฑาระดับโลก “Golden Fly Series Qualifier Chiang Mai 2024 presented by SAT”หวังสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมกระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น

จำนวนผู้