ผู้วิเคราะห์ฯธปท.เหนือชี้ 10 ปีภาคเหนือยังย่ำที่เดิมรายได้ต่ำ แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงกว่าภาคอื่น ด้านผู้ว่าฯแบงก์ชาติชี้เงินเฟ้อและหนี้ครัวเรือนทำเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

ผู้วิเคราะห์ฯธปท.เหนือชี้ 10 ปีภาคเหนือยังย่ำที่เดิมรายได้ต่ำ แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงกว่าภาคอื่น ด้านผู้ว่าฯแบงก์ชาติชี้เงินเฟ้อและหนี้ครัวเรือนทำเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

ผู้ว่าการแบงก์ชาติยอมรับเงินเฟ้อและหนี้ครัวเรือนเป็นอุปสรรคใหญ่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ขณะที่ 2 ผู้วิเคราะห์ฯธปท.เหนือชี้ 10 ปีภาคเหนือยังย่ำที่เดิมรายได้ต่ำ แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงกว่าภาคอื่นๆ แนะภาคเกษตรและธุรกิจปรับตัวรับกระแสดิจิตอลที่มาแรงและเร็ว

เมื่อวันที่ 14 พ.ย.65 ที่อาคารเอนกประสงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ประจำปี 2565 และสนทนาเรื่อง “Moving beyond the curve: ก้าวข้ามความท้าทาย สู่อนาคตเศรษฐกิจการเงินใหม่ภาคเหนือ” โดยกล่าวว่า

ปัญหาเงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือนยังเป็นอุปสรรคสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนซึ่งโครงสร้างมากกว่า 60% เป็นดอกเบี้ยคงที่ซึ่งเป็นภาระมาก และหากปล่อยให้เงินเฟ้อยาวนานต่อเนื่องจะยิ่งทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ว่าการธปท.ยังมองเรื่องสังคมเมืองกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจว่า การเจริญความมั่งคั่งและยั่งยืนจะไปด้วยกันระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วการเติบโตของเมืองจะดี ความเหลื่อมล้ำต่ำ อย่างเกาหลีใต้ แต่ของไทยจะมีความแตกต่างระหว่างเมืองหลักและเมืองรอง จึงทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ทั่วถึงและแผ่ว ภายในประเทศรายได้ไม่โต จึงต้องพึ่งDemand จากต่างประเทศจากภาคการท่องเที่ยว แต่การสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีไม่มาก

“อย่างภาคเหนือเมืองใหญ่คือเชียงใหม่กับพิษณุโลก ยังมีความแตกต่างกัน หากเทียบกับภาคอีสานที่เมืองโตอย่างอุบลฯ อุดร ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่เติบโตแต่ก็งอกไปทางเมืองใหม่อย่างมุกดาหาร ที่เศรษฐกิจเติบโตจากการค้าชายแดน  อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อปีหน้าคาดว่าจะลดเหลือ 2% กว่า และเศรษฐกิจก็จะค่อยๆ โตขึ้น”ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว

ต่อมานางอวิภา พุทธานุภาพและดร.ธนพร ศุภเศรษฐสิริ ผู้วิเคราะห์อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือได้นำเสนองานศึกษา “กระแสดิจิทัลและความยั่งยืน กับโอกาสยกระดับเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ” โดยกล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยภาคเหนือต่ำกว่าภาคอื่น แต่หนี้สินเร่งตัวสูงกว่าภาคอื่นๆ สถิติข้อมูลเมื่อ 10 ปีมาถึงปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นเดิม ทั้งนี้เพราะภาคเหนือเป็นภาคเกษตร และส่วนหนึ่งผลิตภัณฑ์นำไปแปรรูปและส่งออก แต่ก็อยู่ในรูปแบบรับจ้างผลิต ส่วนตัวขับเคลื่อนสำคัญคือภาคท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็น 5% ของจีอาร์พี GRP แต่การท่องเที่ยวก็กระจุกตัว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศไทย 15% มาภาคเหนือและกระจุกอยู่เชียงใหม่ เชียงรายและพิษณุโลก

ก่อนการแพร่ระบาดโควิดฯมีการพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ แต่พอหลังโควิดฯกระแสดิจิตอลกลับแพร่หลาย ตั้งแต่มีการล็อคดาวน์ทำให้คนช้อปปิ้งผ่านออนไลน์ 63% ของประชากรทั่วโลก และคนใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตถึงวันละ 7 ชั่วโมง ภาคธุรกิจก็นำ AI และเทคโนโลยีมาใช้ ส่วนกระแสความยั่งยืนทั่วโลกประสบปัญหาความเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ จึงหันมาใช้พลังงานทดแทนและนำเรื่องสิ่งแวดล้อมมากีดกันทางการค้ามากขึ้น

จากกระแสโลกที่เกิดขึ้น ภาคเหนือจะคว้าโอกาสจากจากกระแสดิจิตอล โดยเกษตรต้องปรับเป็นเกษตรอัจฉริยะมากขึ้น ด้วยเทคโนฯที่ก้าวหน้าเกษตรอัจฉริยะจะเป็นทางรอดของเกษตรกรและสร้างมูลค่าเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น โดยภาคเหนือที่เกิดขึ้นแล้วคือการทำเกษตรแปลงใหญ่ แต่ก็จะมีต้นทุนสูง อย่างไรก็ตามมีธุรกิจให้เช่าด้วยเช่น โดรน และการปรับไปสู่เกษตรอัจฉริยะจะมีภาครัฐช่วยเหลือสนับสนุนพัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรกร

จากการที่ภาคเหนือเป็นแหล่งวัตถุดิบการเกษตร อนาคตจะเปลี่ยนไปสู่ Future Food มากขึ้น โดย 80% คนทั่วโลกหันมาใส่ใจอาหารสุขภาพมากขึ้นทำให้อาหารสุขภาพได้รับความสนใจ และที่จะเติบโตสูงคืออาหารเพิ่มเติมสาร เช่นเครื่องดื่มเพิ่มวิตามินและโปรตีนหรืออาหารให้ความหวาน ซึ่งจะขายได้ราคาสูง และคาดตลาดจะโต 7% ต่อปี อีกประเภทคืออาหารประเภทโปรตีนจากพืช ตอบโจทย์ผู้ไม่ทานเนื้อสัตว์และใส่ใจสุขภาพ อาหารประเภทนี้คาดตลาดโตปีละ 19%

“ภาคเหนือมีศักยภาพคว้าโอกาสในการเป็น  Future Food ทั้งแหล่งผลิต แรงงาน องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าเช่น น้ำลำไยช่วยนอนหลับ ไส้อั่วทำจากโปรตีนพืช ทั้งนี้ภาคผลิตจะปรับตัวสู่มาตรฐานความยั่งยืนมากขึ้น และทั่วโลกก็หันมาให้ความสนใจกับมาตรฐานและความยั่งยืน เช่น ชาและกาแฟที่เติบโต เช่นแบรนด์กาแฟอินทรีย์จากป่าต้นน้ำแม่ลาน เชียงรายที่ส่งออกไปยุโรป จึงเป็นโอกาสของภาคเหนืออย่างยิ่ง ทั้งนี้ธุรกิจที่เริ่มปรับตัวต้องเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ”

ในไทยปัจจุบันหลายหน่วยงานสนับสนุนภาคธุรกิจไปสู่ธุรกิจสีเขียว เช่น บีโอไอและแบงก์ชาติที่สนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพก็มีโอกาสเติบโตมากขึ้น เช่น นวดสมุนไพร โยคะและทานอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นเทรนด์ที่เติบโตเร็ว ในรอบ 5 ปีโตถึง 43% และมีการใช้จ่ายสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปถึง 60% และมีแนวโน้มอยู่ในพื้นที่นานขึ้น โดยใช้จ่ายถึง 2 หมื่นบาทต่อคนต่อวัน

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นกระแสที่โตมาก 51% ของชาวจีนใส่ใจสุขภาพมากขึ้นและเป็นนักท่องเที่ยวหลักของภาคเหนือ และการเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศพัฒนาแล้ว และเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักด้วยและความก้าวหน้าทางดิจิตอลจึงมีกลุ่มทำงานดิจิตอลฟอร์แมดเข้ามาภาคเหนือมากขึ้นด้วย และแน่นอนไทยเป็นประเทศเป้าหมายหลักของทั่วโลก ปี 63 อยู่อันดับ 9  จาก 46 ประเทศ และภาคเหนือมีปัจจัยทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม สมุนไพรและอาหาร มีบุคลากรที่พร้อมรองรับทั้งบริการและการแพทย์ มีทำเลที่ตั้งและคมนามคมที่เหมาะกับการเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือด้วย ซึ่งปัจจุบันภาคเหนือมีท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากมายเช่น ภูโคลน แม่ฮ่องสอน มีสปาสำหรับดีท็อกซ์สมอง และสปาบำบัดสุขภาพจิตโดยเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ภาครัฐจะช่วยฝึกทักษะแรงงานและด้านภาษีด้วย

นอกจากนี้ยังมีท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ที่มาแรงอีกด้านหนึ่งหลังโควิด โดยพบว่า 60% ของท่องเที่ยวทั่วโลกอยากเที่ยวชุมชน และคาดจะโตถึง 11% ล้านนาคืออัตลักษณ์ของภาคเหนือเป็นจุดแข็งและจุดขาย  ตัวอย่างเช่น การนำจุดแข็งมาประยุกต์เป็นท่องเที่ยวล้านนาสร้างสรรค์ เช่น ย่านช้างม่อย ภาคเหนือมีความพร้อมรองรับท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่ได้เปรียบทางด้านสังคม วัฒนธรรมที่ไม่มีใครเหมือน ทั้งเชียงใหม่และสุโขทัยเป็นเมืองที่ยูเนสโกประกาศให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วย

อย่าไรก็ตามปัญหาการรวมกลุ่ม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยังมีไม่มาก แหล่งทุน การประชาสัมพันธ์และการตลาดก็ยังมีอยู่ หากได้รับการสนับสนุนก็จะเกิดความแพร่หลายมากขึ้น และจะเห็นการยกระดับการท่องเที่ยวและกระจายรายได้ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือด้วย.

You may also like

อบจ.เชียงใหม่จับมือสสจ.และศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์มช.จัดงาน”มหกรรมสุขภาพเมืองเชียงใหม่2567″เพื่อยกระดับคุณภาพสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน

จำนวนผู้