“มู่หลาน” ทำ 3 อ่างเก็บน้ำอำเภอโซนเหนือล้น ชลประทานเชียงใหม่วางแผนระบายอย่างเป็นระบบ ปล่อยและรับน้ำต้องสัมพันธ์กัน

“มู่หลาน” ทำ 3 อ่างเก็บน้ำอำเภอโซนเหนือล้น ชลประทานเชียงใหม่วางแผนระบายอย่างเป็นระบบ ปล่อยและรับน้ำต้องสัมพันธ์กัน

“มู่หลาน” ทำ 3 อ่างเก็บน้ำอำเภอโซนเหนือล้น ชลประทานเชียงใหม่วางแผนระบายอย่างเป็นระบบ ปล่อยและรับน้ำต้องสัมพันธ์กัน พฤศจิกายนน้ำเต็มอ่าง ด้านอาคารเสียหายเร่งสำรวจเพื่อของบประมาณซ่อมแซม

วันที่ 17 ส.ค. 65 นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ (ผคป.เชียงใหม่) กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่อำเภอฝาง แม่อาย เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 65 เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ต้นน้ำ เนื่องจากอิทธิผลของพายุ “มู่หลาน” โดยวัดปริมาณฝนที่อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ได้ถึง 120 มม. ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำเอล้นตลิ่งเข้าทำบ้านเรือน และพื้นที่ทางการเกษตรของราษฎรเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะอำเภอทางตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ อ.ฝาง แม่อาย และ อ.ไชยปราการ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งลุ่มน้ำแม่สาว ลุ่มน้ำแม่มาว และลุ่มน้ำแม่ใจ น้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรเป็นวงกว้าง

“นอกจากนี้ “มู่หลาน” ยังได้ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทานเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอ่างขนาดกลางจำนวน 3 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยเดื่อ อ.ฝาง อ่างเก็บน้ำแม่แหลงหลวง อ.แม่อาย และอ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง อ.ไชยปราการ มีปริมาณน้ำเต็มความจุของอ่าง และมีหนึ่งอ่างที่มีน้ำล้นสปริลเวย์ คือ อ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง ปริมาณน้ำมีประมาณ 101% เกินความจุ 1% ซึ่งการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานเชียงใหม่ โดยฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 ได้ดำเนินการประสานงานกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อทำการพร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 อ่างนี้ โดยจะพร่องน้ำให้เหลือประมาณ 80% ของความจุอ่าง เพื่อจะรองรับน้ำจากฝนที่อาจจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม กันยายน และต้นเดือนตุลาคม” นายจรินทร์ คงศรีเจริญ กล่าว

“การระบายน้ำเพื่อให้เหลือ 80% จะขึ้นอยู่กับอัตราการระบายน้ำของแต่ละอ่างซึ่งมีอัตราการระบายไม่เท่ากัน แต่ได้มีการคิดคำนวนว่าแต่ละอ่างจะระบายที่เท่าไรโดยจะเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำที่จะเข้ามา ยกตัวอย่างอ่างขนาดใหญ่ที่เห็นกันชัดๆ คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ปัจจุบันมีน้ำอยู่ราว 80% ของความจุ ทางโครงการแม่งัดฯ ก็มีแผนการจะระบายเดือนละประมาณ 20 ล้าน ลบ.ม. และจะให้มีน้ำเต็มความจุในเดือนพฤศจิกายน 2565 ทั้ง 3 อ่างขนาดกลางก็เช่นเดียวกันจะมีการคำนวณทั้งน้ำที่ระบายและน้ำที่จะเข้าอ่าง รวมถึงการคำนึงถึงการระบายที่จะไม่ให้มีผลกระทบกับพื้นที่ด้านท้ายน้ำด้วย ในระบายตามความจุของลำน้ำที่สามารถระบายลงไปได้” ผคป.เชียงใหม่ กล่าว

ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 3 แห่ง ปัจจุบันมีมากกว่าร้อยละ 90 ทั้งหมด ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดื่อ ต.แม่คะ อ.ฝาง ความจุอ่าง 4.276 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 4.2972 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 99.90 เปอร์เซ็นต์ อ่างเก็บน้ำแม่แหลงหลวง ต.แม่อาย อ.แม่อาย ความจุอ่าง 15.300 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 3.636 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 99.86 เปอร์เซ็นต์ และอ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง ต.แม่ทะลบ อ.ไชยปราการ ความจุอ่าง 15.300 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 15.468 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101.09 เปอร์เซ็นต์ อ่างฯ ที่มีน้ำล้นอ่าง เจ้าหน้าที่ได้ทำการพร่องน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับตัวอ่าง โดยอ่างเก็บน้ำห้วยเดื่อ ระบายน้ำ 0.45 ลบ.ม./วินาที หรือ 38,880 ลบ.ม./วัน อ่างเก็บน้ำแม่แหลงหลวง ระบายน้ำ 0.45 ลบ.ม./วินาที หรือ 25,920 ลบ.ม./วัน และอ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง ระบายน้ำ 1.80 ลบ.ม./วินาที หรือ 155,520 ลบ.ม./วัน การระบายน้ำปริมาณดังกล่าวไม่ได้สร้างผลกระทบให้กับพื้นที่ด้านท้ายน้ำของชาวบ้านแต่อย่างใด และจะสามารถเก็บกักน้ำได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ณ ต้นเดือนพฤศจิกายน นี้เพื่อเป็นต้นทุนน้ำในการทำการเกษตรฤดูแล้งหน้า

“สำหรับอาคารชลประทานที่อาจได้รับผลกระทบจาก “มู่หลาน” นั้น ขณะอยู่ระหว่างการสำรวจ ซึ่งก็มีความเสียหายอยู่บ้าง เช่น ในพื้นที่ อ.แม่อาย พื้นที่บริการของฝายแม่สาวมีอาคารชลประทานเสียงหลายหลายแห่ง ซึ่งเมื่อสำรวจแล้วเสร็จทางโครงการชลประทานเชียงใหม่ก็จะของบประมาณในการซ่อมแซมไปที่กรมชลประทาน ซึ่งในส่วนของกรมก็อาจจะใช้งบเหลือจ่ายในปีงบประมาณ 2566

You may also like

อบจ.เชียงใหม่จับมือสสจ.และศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทย์มช.จัดงาน”มหกรรมสุขภาพเมืองเชียงใหม่2567″เพื่อยกระดับคุณภาพสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน

จำนวนผู้