ศพช.จัดระดมความคิดเพื่อก้าวใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนภาคเหนือ

ศพช.จัดระดมความคิดเพื่อก้าวใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนภาคเหนือ

- in headline, รอบรั้วทั่วเหนือ

เชียงใหม่ / ศพช. จับมือองค์กรพันธมิตรเปิดเวทีสาธารณะ ระดมความคิดเห็นเพื่อก้าวใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนภาคเหนือ หวังใช้วาระเลือกตั้งสร้างฉันทามติร่วม ให้นักการเมืองมีพันธะผูกพันในการนำปัญหาของประชาชนไปแก้ไขเมื่อวันที่ 28 ม.ค.2566 ที่ห้องประชุมอินทนิล Green Nimman CMU Residence and Uniserve ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.) ได้ร่วมกับ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) คณะก่อการล้านนาใหม่ และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย จัดเวทีสาธารณะ ” ปีแห่งความหวังกับก้าวใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนภาคเหนือ”นายสุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น เปิดเผยถึงสถานการณ์ของสิทธิมนุษยชนในภาคเหนือว่ายังอยู่ในวังวนเก่าๆ ปัญหาเดิมๆ เรื่องการถูกละเมิดสิทธิ์ยังเกิดขึ้นซ้ำๆ โครงสร้างเชิงระบบของรัฐไทย ก็ไม่มีมาตรการหรือกลไกเข้ามาช่วยให้คลี่คลายในปัจจุบันจึงยังเกิดปัญหาซ้ำๆโดยเฉพาะเรื่องทรัพยากร ปัญหาจากโครงการของรัฐที่รุกเข้ามาอยู่ตลอด กลไกของรัฐในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนทำงานน้อยลง หรืออาจไม่ได้ทำงาน ทำให้ย้อนกลับสู่ระบบแบบเดิม เอื้อให้กลุ่มทุนเข้ามาได้ ขณะที่รัฐเองก็ใช้อำนาจมากขึ้นในการตอบโจทย์ขององค์กรตัวเอง โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ซึ่งโครงสร้างแบบนี้ไม่เอื้อต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทำได้แค่ประคอง ต่อรอง เพื่อไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ แต่ยังมองไม่เห็นช่องที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างนี้ นอกจากจะเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาสู่ท้องถิ่น ให้มีอำนาจในการกำหนดตนเอง ซึ่งก็เรียกร้องกันมาร่วม 20 ปีแล้วขณะเดียวกันเสรีภาพการแสดงออก ก็มีข้อจำกัด ถึงแม้จะชุมนุมได้ แต่โดนบล็อก โดนติดตาม เช่นล่าสุดในการประชุมเอเปคที่ผ่านมา แกนนำทั้งหมดโดนบล็อก โดนกดดัน และติดตาม ทำให้หลายคนออกมาไม่ได้ สำหรับการจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะครั้งนี้ เนื่องจากปีนี้เป็นปีเลือกตั้งจึงหวังว่าจะทำให้สถานการณ์กลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ถึงแม้จะไม่เต็มที่ อำนาจของประชาชนมีจำกัด แต่ก็ยังมีความหวัง ว่าการเลือกตั้งจะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้ เช่นเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง และทำให้ประเด็นปัญหาของประชาชนถูกหยิบยกขึ้นไปเป็นนโยบายของนักการเมืองบ้าง โดยพยายามจะสร้างฉันทามติร่วม ให้นักการเมืองมีพันธะผูกพันที่ต้องเอาปัญหาของประชาชนไปแก้ไข เป็นต้น.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้