สถาบันการศึกษาในภูมิภาคยุโรปและเอเชียจับมือปั้นSmart Farmer โดยนำ Smart Technologiesมาใช้ในภาคเกษตร

สถาบันการศึกษาในภูมิภาคยุโรปและเอเชียจับมือปั้นSmart Farmer โดยนำ Smart Technologiesมาใช้ในภาคเกษตร

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

สถาบันการศึกษาในภูมิภาคยุโรปและเอเชียจับมือดำเนินโครงการ Erasmus+ Capacity Building in Higher Education เพื่อส่งเสริมระบบการจัดการความรู้ ปั้นเกษตรกรก้าวสู่ความเป็น Smart Farmer โดยนำ Smart Technologiesมาใช้ในภาคเกษตรให้เกิดความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ห้องประชุมดอยหลวง โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานแถลงข่าวเปิดโครงการ Erasmus+ Capacity Building in Higher Education ภายใต้กรอบ การดำเนินงานโครงการ “SUatainable developmeNt Smart Agriculture Capacity: SUNSpACe” ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล ร่วมกับ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และ เทคโนโลยี จัดขึ้น

รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า โครงการ Erasmus + Capacity Building in Higher Education ดำเนินการภายใต้กรอบโครงการ “SUstainable developmeNT Smart Agriculture Capacity :SUNSpACe” ซึ่งเป็นความร่วมมือโดย วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล  ร่วมกับ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และ เทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ประกอบไปด้วย   Corvinus University of Budaopest, Hungary  , University of the West of Scotland, UK  , University Lumiere Lyon 2, France  , Royal University of Bhutan, Bhutan  , Kantipur Engineering College, Nepal  ACM Engineering College, Nepal , มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย ในประเทศพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมระบบการจัดการความรู้ในการเพิ่มมูลค่าของการผลิตสินค้า การควบคุมต้นทุน การบริหารความเสี่ยง การนำเทคโนโลยีมาพัฒนาให้เกษตรกรให้ก้าวไปสู่ความเป็น Smart Farmer โดยการนำ Smart Technologies เข้ามาส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 และสอดคล้อง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 กับแนวทางยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยตามแผนพัฒนา การศึกษาของทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Innovation) ที่มีเป้าหมายเพื่อการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม โดยการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงประจักษ์ พัฒนาสมรรถนะด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน และในด้านนวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพ และผู้สูงอายุ  (Food & Health, and Aging Innovation) ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างนวัตกรรม ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านอาหาร สุขภาพ และ ผู้สูงอายุ  ซึ่งเป็นการบูรณาการ Digital tech, Bio tech และเทคโนโลยีอื่น ๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณพศิษฐ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล กล่าวว่า โครงการนี้ได้เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ไปจนถึงเดือน ธันวาคม 2565 รวมระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ Erasmus + Capacity Building in Higher Education ภายใต้กรอบการดำเนินงานโครงการ “SUstainable developmeNT Smart Agriculture Capacity :SUNSpACe” จะนำมาซึ่งคุโณปการและการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย

คณบดีวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล กล่าวด้วยว่า โครงการนี้จะมุ่งเน้นเรื่องของ Smart Farmer โดยตรง เป็นโครงการที่เกี่ยวกับการผลิตอาหารปลอดภัยฟู้ดเซฟตี้ที่เป็นออแกนิกส์ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในอนาคต โดยทางมหาวิทยาลัยทางยุโรปจะมีการดูเรื่องของระบบประกันคุณภาพ เรื่องของบิ๊กดาต้า เรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็จะพื้นที่ที่ทำเกี่ยวกับ Smart Farmer ด้วย โดยมีพื้นที่นำร่องซึ่งเป็นกลุ่มต้นแบบชุมชนเกษตรอินทรีย์ยุคดิจิทัลที่ทำงานร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งพายามยาก ทำเกษตรผสมผสานอยู่แล้วและเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรให้สามารถดูแลตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ต้นแบบที่มหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัยซึ่งจะเป็นโมเดลที่คล้ายกับขอนแก่นแต่ปลูกข้าว โดยที่นี่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากไอฟ่อนแล้ว แต่ยังมีพืชชนิดอื่น รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งก็จะมาอยู่ในโครงการนี้ที่จะทำร่วมกันด้วย

สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คัดเลือกพื้นที่นำร่องที่อ.แม่ทา ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกผักออแกนิกส์ส่งตลาดในเชียงใหม่อยู่แล้ว ในโครงการนี้จะมีการคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินการ เพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์ก่อนที่จะได้ขยายผลต่อไป โดยในโครงการนี้จะมีการอบรม Smart Farmer จำนวน 60 คน เพื่อที่จะให้ Smart Farmer นี้ไปเทรนด์ต่ออีก 300 คนในอนาคต.

 

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้