สองผู้บริหารยักษ์ใหญ่แห่งวงการอาหาร ร่วมเสวนา “MEGA TREND IN FUTURE FOOD “ในงานกาล่าดินเนอร์ทอล์ค

สองผู้บริหารยักษ์ใหญ่แห่งวงการอาหาร ร่วมเสวนา “MEGA TREND IN FUTURE FOOD “ในงานกาล่าดินเนอร์ทอล์ค

สองผู้บริหารยักษ์ใหญ่แห่งวงการอาหาร ร่วมเสวนา “MEGA TREND IN FUTURE FOOD “ในงานกาล่าดินเนอร์ทอล์คที่คณะเกษตรฯและมูลนิธิพัฒนาเกษตร มช.จัดขึ้น ซีพีชี้ไตรมาส 2 ปี 2566 เศรษฐกิจกลับมาดีเหมือนเดิม  ขณะที่เบทาโกรพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อผู้บริโภค

เมื่อค่ำวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ห้องราชพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อ.เมืองเชียงใหม่ ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์​ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาวิชาการ Gala Dinner ‘MEGA TREND IN FUTURE FOOD’ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) คณะเกษตรศาสตร์ มช. และมูลนิธิพัฒนาเกษตร มช. ร่วมกันจัดขึ้น โดยมี ศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อดีตอธิการบดี มช. ดร.ธรรมรักษ์ พิชญกุล ประธานมูลนิธิพัฒนาเกษตร มช. ดร.บัลลพ์กุล ทิพย์เนตร ประธานบริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด – ประธานจัดงานฯ และ ผศ.ดร.ดรุณี นาพรหม คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มช. พร้อมผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มช. ร่วมรับฟังการเสวนาคับคั่ง

ทั้งนี้ก่อนถึงเวลาเสวนา ทางบริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทเบทาโกร จำกัด (มหาชน) ได้นำผลิตภัณฑ์ใหม่มาออกบูธแนะนำด้วย อาทิ ผลิตภัณฑ์หมู ไก่ ปลา และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืช มาให้ผู้ร่วมงานได้ทานเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย

สำหรับงานเสวนาวิชาการ Gala Dinner ‘MEGA TREND IN FUTURE FOOD’ ดำเนินรายการโดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งเป็นศิษย์เก่า มช.ที่เปิดคำถามด้วยเรื่องของเทรนด์อาหารในอนาคต

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหารบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เทรนด์อาหารในอนาคตขึ้นอยู่กับผู้บริโภคที่เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 7,000 ล้านคน เป็น 10,000 ล้านคน ซึ่งมีความเสี่ยง และการบริหารจัดการจะต้องทำอย่างไร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงไปของสภาพอากาศ มลพิษที่เกิด ที่มีความไม่แน่นอน เราจะจัดการความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร เพราะเกิดความเสียหายและผลกระทบ สิ่งที่ต้องทำคือ การมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในเวลา 1 ชั่วโมง หรือ 1 วัน การลงทุนและการผลิตได้ดีและมากขึ้น เพราะคนรุ่นใหม่เก่งขึ้นมากในแง่ของการผลิตและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ การพัฒนาสายพันธุ์ ใช้กระบวนการทางลัดที่ดีมาใช้ร่วมกับบริษัท Startup ซึ่งก็ไม่ง่ายเพราะต้องใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น โลกในปี 2050 จะเป็นอย่างไร เราจะลดความเสี่ยงอย่างไร และอาหารต้องดีต่อกายและใจ ผลิตภัณฑ์จึงต้องผ่านการจัดการที่เหมาะสม วัตถุดิบที่ใช้ต้องดี มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

“แบรนด์ไทยในต่างประเทศ มีความเป็นพันธมิตรกันมากกว่าจะเป็นคู่แข่ง เพราะในตลาดโลกทั้งซีพีเอฟและเบทาโกร เป็นเพียงบริษัทเล็กๆ เท่านั้น แต่ประเทศไทยคือเมืองแห่งเกษตร เมืองแห่งอาหารโลก เราจึงไม่เลือกที่จะค้าขายให้กับประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เราค้าขายกับทุกประเทศในตลาดโลก ทั้งจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ต่างๆ ที่เคยตึงเครียดเริ่มดีขึ้นตามลำดับ เชื่อมั่นว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เศรษฐกิจจะกลับมาขับเคลื่อนได้เหมือนเดิมหลังการเปิดประเทศทั่วโลก”

ในขณะที่ นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ​ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เร่ิมมาจากพืชมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของผู้บริโภค เราจึงต้องมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งวัว หมู ไก่ ปลา ท่ามกลางการเกิดโรคระบาดที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี การนำนวัตกรรมและการต่อยอดมีความจำเป็น เพื่อสร้างอาหารที่ปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ต้องการสร้างคนให้มีความสามารถในการผลิต ลดการใช้ทรัพยากร คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เข้าถึงโอกาส สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อการส่งออก และต่อยอดธุรกิจให้เติบโต.

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้