สุดทนคนด่านายกรัฐมนตรีสุดยัวะ นิติศาสตร์ มช.ออกแถลงการณ์ร่วมขับไล่ผู้ว่าฯ

สุดทนคนด่านายกรัฐมนตรีสุดยัวะ นิติศาสตร์ มช.ออกแถลงการณ์ร่วมขับไล่ผู้ว่าฯ

สุดทนศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มช.ออกแถลงการณ์ร่วมขับไล่ผู้ว่าฯ ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 3 ปฏิเสธยังไม่ทราบข่าวรองแม่ทัพปูดเผาป่าเพราะเหตุผลทางการเมือง ยอมรับมีความเห็นต่างจึงทำให้สังคมมีปัญหาขัดแย้ง แจงพรุ่งนี้ทุกอธิบดีมาร่วมหารือ ก่อนที่”ลุงตู่”จะขึ้นมา 4 เม.ย.นี้

ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ ร่วมขับไล่ตำแหน่งผู้ว่าฯ เชียงใหม่ โดยเนื้อหาระบุว่า ความไร้น้ำยาของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อการจัดการมลพิษฝุ่นที่ได้ดำเนินมามากกว่าหนึ่งเดือนในเชียงใหม่และอีกหลายจังหวัดภาคเหนือ ในด้านหนึ่งอาจสะท้อนปัญหาความสามารถส่วนบุคคลของผู้ว่าฯ แต่ละคน บางส่วนอาจมีความสามารถอยู่มาก บางคนอาจมีอยู่บ้าง และบางคนก็อาจไม่มีอยู่เลย ขึ้นอยู่กับโชคชะตาของผู้คนในแต่ละแห่ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ปัญหานี้สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของการปกครองในท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐราชการรวมศูนย์ของไทย หน่วยงานในระดับท้องถิ่นต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ เป็นหลัก การเติบโต การตกอับ ความก้าวหน้า ของแต่ละคนล้วนขึ้นอยู่กับรัฐบาลและรัฐมนตรีเป็นสำคัญ ความเห็น ความรู้สึก และแม้กระทั่งสวัสดิภาพของประชาชนในท้องถิ่นก็มีค่าเบาบางเสียยิ่งกว่าฝุ่นเสียอีก

.              จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ที่จะไม่มีการประกาศให้เชียงใหม่เป็นเขตควบคุมมลพิษ  เพราะมันอาจกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งหมายถึงรายได้ของรัฐโดยรวม ทำให้ไม่มีการประกาศเกิดขึ้นเพราะเกรงกระทบต่อภาพรวมที่รัฐบาลรับผิดชอบ แม้ว่าปริมาณฝุ่นจะอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อชีวิตของคนในพื้นที่ก็ตาม ต่อให้มีคนตายเกิดขึ้นก็ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อการดำรงตำแหน่งของตนเองแต่อย่างใด ตราบเท่าที่รัฐบาล (โดยเฉพาะรัฐบาลภายใต้ คสช.) ยังพึงพอใจอยู่ก็เป็นการเพียงพอแล้ว

.              ปัญหาของการจัดการฝุ่นจึงไม่ใช่แค่ความไร้น้ำยาส่วนตัวของผู้ว่าฯ แต่ละคน แต่เป็นปัญหาในระดับโครงสร้าง การเรียกร้องให้ผู้ว่าฯ ออกจากพื้นที่ที่มีปัญหาไปก็ไม่มีหลักประกันว่าคนที่จะมาทดแทนจะทำหน้าที่ตอบสนองต่อชีวิตของคนในพื้นที่แต่อย่างใด รวมทั้งอาจเป็นการผลักเอาผู้ว่าฯ ที่ไร้น้ำยาไปให้กับผู้คนในจังหวัดอื่นรับกรรมต่อไป

.              สิ่งที่ควรทำก็คือ ควรต้องร่วมกันขับไล่ตำแหน่งผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้งโดยรัฐราชการรวมศูนย์ โดยการเปลี่ยนให้เป็นผู้ว่าฯ ที่มาจากความเห็นชอบของประชาชนในจังหวัดนั้นๆ เอง ซึ่งอาจช่วยให้ศีรษะของผู้คนในท้องถิ่นได้ถูกมองเห็นเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ในวันที่ 4 เม.ย.62 นี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการจะขึ้นมาประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการ 9 จังหวัดภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าหมอกควัน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าจะมาประชุมเรื่องนี้โดยตรงหรือมีภารกิจอื่นด้วย

ทางด้าน พลโท ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวภายหลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินสำรวจเหนือท้องฟ้าเมืองเชียงใหม่ร่วมกับนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ว่า ทางฝ่ายความมั่นคงและจังหวัดได้ร่วมกันแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเวลานี้คลี่คลายระดับหนึ่ง วันนี้ได้ประสานไปกองทัพบกและกองทัพอากาศให้นำเครื่องอากาศยานมาช่วยดับไฟป่าอีกรอบหนึ่ง คาดว่าพรุ่งนี้(31 มี.ค.)จะมาปฏิบัติการได้ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นปัญหาเดิม ฝนมาช้า แล้งนานความร้อนสะสมบนยอดเขาต้องใช้อากาศยานในการดับไฟ และทางจังหวัด ทหาร และอุทยานฯก็มีชุดดับไฟตลอดเวลา ส่วนข้อจำกัดเรื่องโดรนนั้น จริงๆ กองทัพใช้อากาศยานที่มีความปลอดภัยสูงยังพบว่าอากาศร้อนจัดและเป็นอันตราย ซึ่งที่ไม่อนุญาตก็เพราะเป็นห่วง นอกจากนี้ได้คุยกับทางมช.และสถานศึกษาที่จะช่วยหายุทธศาสตร์ในการทำคนขึ้นไปทำป่าเปียกในพื้นที่ป่า อนาคตสถานการณ์จะดีขึ้น

แม่ทัพภาคที่ 3 ยังตอบข้อซักถามที่รองแม่ทัพภาคที่ 3 ระบุว่าปัญหาการเผาป่ามาจากความขัดแย้งทางการเมืองว่า ตนยังไม่เห็นข่าวแต่ว่า บางครั้ง ทุกครั้งก็ทราบหลายความคิดแต่เราอยู่ในพื้นที่รู้อยู่ วิธีคิดไม่เหมือนเรา สังคมจึงวุ่นวาย แต่ตอนนี้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีบัญชามาแล้ว พรุ่งนี้อธิบดีทุกกระทรวงจะขึ้นมาประชุมร่วมกันและนายกรัฐมนตรีก็จะขึ้นมาเองด้วย

แหล่งข่าวระดับสูงแจ้งว่า จากปัญหาวิกฤตหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ที่ค่าคุณภาพอากาศวิกฤตอย่างหนัก ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีโกรธมากและสั่งให้เร่งแก้ไขสถานการณ์และจะลงพื้นที่ด้วยตนเองด้วย.

You may also like

ครึ่งเดือนแรกม.ค.เชียงใหม่อนุมัติคำร้องชิงเผากว่า 1 พันไร่อีกเกือบ 2 หมื่นไร่จ่อคิว

จำนวนผู้