“สุรินทร์”อ่อนหวานอาหารปลอดภัย ส่งต่อความรู้จากโรงเรียนสู่ครัวเรือน

“สุรินทร์”อ่อนหวานอาหารปลอดภัย ส่งต่อความรู้จากโรงเรียนสู่ครัวเรือน

ารบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ นับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วนและฟันผุในกลุ่มเด็กเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกาย การเรียน และสติปัญญา กระนั้นยังพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ที่โรงเรียนบ้านกันเตรียง ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 304 คน พบนักเรียนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วนมากกว่าร้อยละ 15 และร้อยละ 30 เป็นโรคฟันผุ ถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข จึงได้เข้าร่วมกับ “เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน” ที่ได้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขวาสิรินทร์ และฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.เขวาสินรินทร์ รณรงค์ให้ความรู้ด้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food literacy) เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า ปีผ่านไป พบว่า มีเด็กฟันผุลดลงเหลือ 15 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักอ้วนลดลงเหลือ เปอร์เซ็นต์สุทธิศักดิ์ ทองนวล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกันเตรียง เปิดเผยว่า ทางโรงเรียนได้ดำเนินการลดการบริโภคน้ำตาล มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดโครงการ “เด็กไทยกันเตรียงวัยใส ห่างไกลขนมหวาน ลดปริมาณน้ำตาล เลิกดื่มน้ำอัดลม” ดำเนินการกลยุทธ์ใน 5 แนวทางสู่การพัฒนาสุขภาพของเด็ก ได้แก่ 1.จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ 2.บูรณาการความรู้ในหลักสูตรการเรียนการสอน 3.ปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก 4.รณรงค์การดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ทั้งในโรงเรียน และนอกชุมชนร่วมกับเครือข่าย และ 5.สร้างการมีส่วนร่วมและสนับสนุนบทบาทผู้ปกครอง นักเรียน และครู จัดตั้งชมรม อย.น้อย หนุนสภานักเรียนเข้ามาเป็นแกนนำ “เพื่อนช่วยเพื่อน”  ปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง

การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดบริโภคน้ำตาล ด้วยการจัดทำโรงอาหารอ่อนหวาน โดย ผอ.สุรศักดิ์ บอกว่า จะไม่มีการจำหน่ายของหวานหรือมีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่จะต้องมีการปรุงจะต้องมีการแยกปรุง จำหน่ายขนมกรุบกรอบที่มีฉลากสีเหลืองหรือเขียวเท่านั้น และงดเครื่องปรุงอาหารภายในโรงอาหารอ่อนหวาน ซึ่งต่อไปทางโรงเรียนจะพยายามเอารสเค็มออกไปจากโรงอาหารด้วย

เมื่อก่อนมีการขายขนมกรุบกรอบในโรงอาหาร เราก็ขอให้เอาออก รถเร่รถขนมก็ขอความร่วมมือไม่ให้มาขายที่หน้าโรงเรียน และไม่ให้เด็กๆ นำขนมเข้ามาในโรงเรียน เพราะเราได้เตรียมน้ำดื่มสะอาด และอาหารที่ดีต่อสุขภาพไว้ให้อย่างเพียงพอแล้ว” ผอ.สุทธิศักดิ์ กล่าวการป้องกันโรคอ้วนและฟันผุ นอกจากการลดการบริโภคน้ำตาล ขนมกรุบกรอบ การส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานผักและผลไม้จะเป็นส่วนหนุนเสริมอาหารซึ่งเป็นทั้งอาหารทดแทนและดีต่อสุขภาพควบคู่กันไปด้วย และเป็นที่มาของ “โรงเรียนอ่อนหวาน อาหารปลอดภัย” โดยภายในโรงเรียนจะมีแปลงผักอินทรีย์ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนักเรียนจะช่วยกันดูแล ผลผลิตที่ได้จะนำส่งโรงอาหารเพื่อทำเป็นอาหารมื้อกลางวันต่อไป

กิจกรรมต่างๆ ที่เริ่มต้นจากโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าวอินทรีย์ ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกพืชหมุนเวียนหลังเก็บเกี่ยว ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ มีโรงเรือนเลี้ยงไก่ที่ให้ทั้งอาหารและมูลไปทำปุ๋ยหมัก องค์ความรู้เหล่านี้ ทางโรงเรียนได้ขยายแนวคิดไปยังชุมชนด้วย เช่นที่ หมู่ 4 และ หมู่ ต.บ้านแร่ ได้มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายให้กับเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยไม่กินหวานในพื้นที่ตำบล ตลาดชุมชนด้วย

ประเสริฐ ปะวาสุข อดีตภารโรง ร.ร.บ้านกันเตรียง วัย 71 ปี ที่ได้ใช้พื้นที่ของครอบครัวจำนวน 3 ไร่ ปลูกผักอินทรีย์ไว้บริโภคในครัวเรือนและขายสร้างรายได้อีกทาง และส่วนหนึ่งจะมีการส่งขายให้กับโรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวัน  นอกจากนี้ยังมีการขยายแนวคิดให้ครอบคลุมเครือข่ายทั้งตำบล เช่นเดียวกับ วารินทร์ สังเกตกิจ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึง อ.เขวาสินรินทร์ ใช้เวลามาสร้างการเรียนรู้เรื่องการผลิตผักอินทรีให้กับชาวบ้าน โดยมีแปลงผักร่วมกันของชาวบ้านให้ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต 

วารินทร์ บอกว่า เมื่อก่อนมีการใช้สารเคมีในการปลูกผักเป็นจำนวนมาก จนตรวจพบว่ามีสารเคมีเจอปนในเลือด ทุกคนเริ่มมีความตระหนักมากขึ้น และหันมาบริโภคผักปลอดสาร อย่างไรก็ตามจะยิ่งเป็นการดีหากเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต จึงหันมาส่งเสริมให้ชาวบ้าน รวมถึงตัวเองปลูกผักอินทรีย์ไว้บริโภค ซึ่งปัจจุบันคนเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนบ้านกันเตรียงดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง มีจุดเริ่มต้นมาจากความพยายามในการลดอ้วนและลดฟันผุ จึงมี “โรงอาหารอ่อนหวาน” เป็นการขับเคลื่อนและรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาลของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กระทั่งได้ต่อยอดสู่เรื่องอาหารปลอดภัยเพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ครบถ้วยโภชนาการดร.ทพ.นพรัศม์ เหลือล้นนิธิศ หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลเขวาสินรินทร์ กล่าวว่า ปัญหาโรคอ้วน ฟันผุ เป็นปัญหาระดับประเทศ มีนักเรียนที่ปวดฟันแล้วเรียนหนังสือไม่รู้เรื่องมีจำนวนมากก็กระทบต่อสติปัญญา ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ซึ่งการดูแลช่องปากได้ดีทีสุดคือ การทำความสะอาดในช่องปาก อย่างไรก็ตามการกำจัดปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดโรคฟันผุ เช่นการลดการบริโภคน้ำตาล ก็สามารถควบคุมฟันผุได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการควบคุมไม่ให้เกิดโรคอ้วนด้วย คือ ผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และเด็กไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาต่อวัน

“การส่งต่อความรู้ไปยังผู้ปกครองและชุมชนให้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคน้ำตาลเกินปริมาณที่เหมาะสม เป็นแนวทางที่เรามุ่งพยายามอยู่เสมอ ซึ่งจะต้องเริ่มที่โรงเรียนก่อน เช่นที่ อ.เขวาสินรินทร์ มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งองค์ความรู้ วิธีการ และนวัตกรรมมาแชร์ถึงกัน และสิ่งสำคัญคือการสร้างแกนนำในโรงเรียน เช่นเดียวกับการกระจายแนวคิดสู่ชุมชนที่มีทั้งผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ การที่คนกลุ่มนี้มีความตระหนักสร้างการรับรู้ก็จะสร้างข้อตกลงร่วมกันของชุมชนต่อไป อย่างเช่น งานบุญ งานประเพณี ปลอดน้ำอัดลม เป็นต้น” หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.เขวาสินรินทร์ กล่าวการรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาล และส่งเสริมอาหารปลอดภัย ของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จ.สุรินทร์ ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดต้นแบบที่มีการขยายผลจาก “โรงเรียนอ่อนหวาน อาหารปลอดภัย” ไปสู่ชุมชน สร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชนเป็นได้เป็นอย่างยิ่ง.

You may also like

ท่าอากาศยานเชียงใหม่เผยช่วงเทศกาลนำผู้โดยสารเพิ่มจากปกติเกือบ20%

จำนวนผู้