อบจ.เชียงใหม่ จับมือม.ปทุมธานี และมช. ลงนามMOU การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้พลังงานสะอาด

อบจ.เชียงใหม่ จับมือม.ปทุมธานี และมช. ลงนามMOU การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้พลังงานสะอาด

องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ)เชียงใหม่ จับมือมหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้พลังงานสะอาด เพื่อเป็นต้น แบบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก และลดปัญหาการเกิด PM2.5

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยปทุมธานี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำบันทึก ข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้พลังงานสะอาด เพื่อเป็นต้น แบบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก และลดปัญหาการเกิด PM2.5 โดยลดการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิง และใช้พลังงานทดแทน เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ พลังงานสะอาด โดยมีนายสมชาติ วัฒนากล้า รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดร.ชนากานต์ ยืนยง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปทุมธานี ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ ดังกล่าว

นายสมชาติ วัฒนกล้า รองนายกอบจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องด้วยพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่มักประสบปัญหาฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM2.5 เป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม ส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว ปัจจัยหลักของปัญหาประกอบด้วย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางภูมิอากาศ และ อุตุนิยมวิทยา และแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่

สำหรับปัจจัยทางกายภาพพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งอยู่ในแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน ถูกล้อมรอบด้วยแนวภูเขาสูง จึงเอื้อต่อการกักตัวของสารมลพิษในอากาศ ประกอบกับสภาวะอากาศนิ่งในช่วง ฤดูแล้ง ทำให้ฝุ่นละอองแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานโดยไม่ตกลงสู่พื้นดินและไม่แพร่กระจายออกไป ส่วนแหล่ง กำเนิดหลักมาจากการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร การเผาในพื้นที่ป่า ถึงมลพิษจากการจราจรขนส่ง และยานพาหนะ เป็นต้น รวม

โดยนโยบายของรัฐบาล ได้กำหนดให้มีการลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันของทุกส่วน ราชการ การสร้างต้นแบบของการใช้พลังงานทางเลือก การส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ด้านการลดค่าใช้จ่ายน้ำมัน การพิจารณาจัดหารถ พลังงานไฟฟ้า (EV) มาใช้ทดแทนรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า สาธารณะแบบ Fast Charge ในงานบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสม เพื่อเตรียมความ พร้อมด้านระบบไฟฟ้า ในพื้นที่การบูรณาการความร่วมมือของสถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน นำไปสู่การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างคุณภาพงานบริการ ที่ตอบโจทย์ให้ตรงตามความต้องการของภาคประชาชน ในการใช้รถพลังงานไฟฟ้าในยุคปัจจุบัน

ประกอบกับนโยบาย ที่สำคัญจากนโยบาย 10 ประการ โดยขอให้ส่งเสริมการติดตั้ง Solar Cell และ Solar Rooftop ในสถานที่ราชการ และใช้กับไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระยะยาว พร้อมจัดทำแผน ปฏิบัติการด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Road Map) เพื่อเป็นแผนในการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกมุ่งสู่การขับเคลื่อนนโยบาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ.

You may also like

สสจ.จังหวัดเชียงใหม่ เฝ้าระวังโรคฉี่หนู และโรคที่มากับฤดูฝน พร้อมแนะนำวิธีรับมือภัยสุขภาพ

จำนวนผู้