เชียงใหม่พบผู้ป่วยปอดอุดกลั้นเพิ่มส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ป่วยในระบบที่รักษาโรคเรื้อรัง ขณะที่รพ.อำเภอขาดผู้เชี่ยวชาญไม่สาเหตุระบุมาจากเหตุฝุ่นpm2.5

เชียงใหม่พบผู้ป่วยปอดอุดกลั้นเพิ่มส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ป่วยในระบบที่รักษาโรคเรื้อรัง ขณะที่รพ.อำเภอขาดผู้เชี่ยวชาญไม่สาเหตุระบุมาจากเหตุฝุ่นpm2.5

          สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เผยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาพบตัวเลขผู้ป่วยปอดอุดกลั้นเรื้อรังสูง โดยเป็นผู้ป่วยวอล์คอินไม่อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยเดิมที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ยอมรับรพ.ทุกแห่งไม่มีผู้เชี่ยวชาญ จำแนกไม่ได้ว่าเกิดจากฝุ่นpm2.5 หรือไม่ จากข้อมูลผู้ป่วยในระบบที่มีเกือบ 5 หมื่นคน

เมื่อ วันที่ 22 มี.ค.66 ที่ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กpm2.5 จังหวัดเชียงใหม่ว่า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้สั่งเฝ้าระวัง ป้องกันดูแลสุขภาพกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 25 อำเภอแยกเป็นหญิงมีครรภ์ 3,349 คน กลุ่มคนอายุ 0-5 ปี 103,236 คน,กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป 378,282 คน โรคทางเดินหายใจและปอดอุดกลั้นเรื้อรัง 9,239 คน โรคหืด 79 คนและโรคหัวใจและหลอดเลือด 3,388 คน

ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า จากกราฟพบว่าในสัปดาห์ที่ 10 ที่มีการเฝ้าระวังผลกระทบจากฝุ่นpm2.5 พบว่าแม้ฝุ่นpm2.5 จะลดลงจากสัปดาห์ที่ 9 แต่กลับพบว่ามีผู้ป่วยปอดอุดกลั้นเฉียบพลันเพิ่มขึ้น และอาการเกี่ยวกับตาเพิ่มขึ้นถึง 9.87% และข้อมูลทั้ง 20 โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้มีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเนื่องจากผู้ป่วยปกติที่มีประวัติกับรพ.ทั้ง 20 แห่งปกติจะมารับยาและรู้เวลา ตลอดจนดูแลสุขภาพตนเองก่อนมาพบแพทย์ แต่ที่พบผิดปกติคือมีผู้ป่วยนอกที่วอล์กอินที่ป่วย จึงไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ว่าอาการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจมีความเกี่ยวข้องกับฝุ่นpm2.5 หรือไม่ทางรพ.ทั้ง 20 แห่งจึงใช้สัญลักษณ์ Y97 นอกจากนี้จำนวนผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นฯ รพ.ก็ยังไม่เชี่ยวชาญเพราะรพ.จะมีเพียงคลินิกเวชกรรม แต่คลินิกมลพิษสิ่งแวดล้อม จะมีเพียงที่รพ.นครพิงค์เพียงแห่งเดียว อย่างไรก็ตามข้อมูลผู้ป่วยอุดกลั้นเฉียบพลันที่พบมีจำนวน 19 รายที่วอล์คอิน

“สำหรับห้องปลอดฝุ่น ปัจจุบันมีห้องปลอดฝุ่นที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย 256 แห่ง จากเป้าหมาย 2,933 แห่ง”ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว

 

 

 

 

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้