เชียงใหม่จุดความร้อนพุ่งวันละเกือบ 300 จุดโดยเป็นไฟที่เผาข้ามคืนส่งผลให้อากาศวิกฤตหนัก ขณะที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่เผยทัศนะวิสัยในการมองเห็นไม่กระทบกับการขึ้นลงของอากาศยาน เนื่องจากมีระบบนำร่องอัตโนมัติ ที่ปรึกษาสภาลมหายใจเชียงใหม่ชี้ไฟจากการเผาของคนเห็นแก่ตัวในพื้นที่ จี้รัฐเลิกใช้ Hot spot หรือจุดความร้อนเป็นดัชนีหรือ KPI เป็นตัวกำหนดการทำงานแก้ปัญหาเพราะทำให้เกิดวิกฤตซ้ำซากและรุนแรงเพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กpm2.5จังหวัดเชียงใหม่วิกฤติหนักไม่แพ้เชียงรายและแม่ฮ่องสอน เนื่องจากมีการเผาป่าตลอดทั้งคืนขยายเป็นวงกว้างทุกทิศทาง โดยศูนย์บัญชาการไฟป่าฯ จ.เชียงใหม่รายงานจุดความร้อนจากดาวเทียมVIIRS เมื่อเวลา 02.20 น.วันที่ 26 มี.ค.66 มีไฟไหม้ 103 จุด ค่าตรวจวัดคุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานทุกพื้นที่โดยเฉพาะแอพพลิเคชัน”เช็คฝุ่น”ของ Gisda โดยดาวเทียม พบว่าค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน อย่างน้อย 2 เท่าขึ้นไปหนักสุกสูงถึง 5 เท่า ขณะเดียวกันไม่มีข้อสั่งการใดๆ จากผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดเชียงใหม่แต่อย่างใด
จากสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่อย่างหนักในช่วงนี้ ขณะเดียวกันการสะสมตัวของหมอกควันที่หนาแน่นขึ้นส่งผลให้เช้านี้ข้อมูลจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือรายงานว่าทัศนะวิสัยในการมองห็นลดลงเหลือ 4,000 เมตร ทางแนวราบ ทั้งนี้หลายคนเป็นห่วงเรื่องของเส้นทางการบิน โดยเฉพาะท่าอากาศบานเชียงใหม่หัวเมืองหลักภาคเหนือมีการการดินทางโดยเครื่องบินตลอดทั้งวัน
ทางด้านนายวิจิตต์ แก้วไทรเทียม ผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์หมอกควันนั้นไม่ส่งผลกระทบกับการขึ้นลงของอากาศยานที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แตกต่างจากสถานการณ์พยุฝนฟ้าคะนองที่จะส่งผลกระทบกับอากาศยานมากกว่า ที่สำคัญท่าอากาศยานเชียงใหม่นั้นมีระบบนำร่องขึ้นลงของอากาศยานอัตโนมัติ อากาศยานสามารถขึ้นลงได้ตามปกติที่ผ่านมายังไม่มีผลกระทบเกิดขึ้นที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แต่จะมีในส่วนของท่าอากาศยานขนาดเล็กอย่างที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือลำปาง บ้าง ที่ได้รับผลกระทบจนต้องยกเลินเที่ยวบิน หรือเปลี่ยนเส้นทางการบิน ขึ้นอยู่กับการคัดสินใจของนักบิน โดยท่าอากาศยานเชียงใหม่ก็พร้อมจะรองรับหากมีการร้องขอในการนำเครื่องมาลง
ทั้งนี้ทางที่อากาศยานเชียงใหม่เองก็มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เช่นกัน โดยเพิ่มรอบของการนำรถออกฉีดพ่นน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับอากาศ และลดฝุ่นละอองที่อาจจะสะสมตัว ฉีดพ่น และทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบเพื่อลดฝุ่นควัน โดยเพิ่มรอบขึ้นเฉลี่ยนวันละ 2 รอบ
นายบัณรส บัวคลี่ ที่ปรึกษาสภาลมหายใจเชียงใหม่โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงสถานการณ์ในขณะนี้ว่ารังแกคนจน!!?พอเอ่ยคำว่า เผาเอาผักหวาน เห็ดถอบ ขึ้นมาปุ๊บ ก็มักจะมีมิตรสหายคนจนออกมาโต้เสมอว่า ไปกดเขา ซ้ำเติมชาวบ้านที่หากินกับของป่า วิถีชาวบ้านมีเผา มีเก็บเห็ดขาย อย่ามองไฟในแง่ร้าย
ผมว่า ผมนี่เข้าใจเรื่องนี้นะ และยังเห็นว่า ไฟที่ชาวบ้านใช้ทำกินจริงๆ น่ะมันต้องมี รวมไปถึงการใช้ไฟในป่าแถวๆ ชุมชน เพื่อกันไฟ เพื่อเข้าออกสะดวกเก็บยอดผักหวานก็รับได้ แต่เรื่องนี้ต้องมีหลักเกณฑ์ กฎกติกาให้ชัดว่า แค่ไหนเท่าไหร่อย่างไร ผ่านการตกลงร่วมหรือแผนร่วมก็ว่าไป
ขอให้ พอดี สมเหตุผล สมดุล ไม่เยอะ ไม่โลภ
ไฟและฝุ่นควันภาคเหนือน่ะ มาจากเผาที่โล่ง โดยเฉพาะเผาในเขตป่า ทั้งป่าอนุรักษ์ป่าสงวน เมื่อก่อนผมคิดว่าข้าวโพดคือเบอร์หนึ่ง พอศึกษาข้อมูลค่อยหล่นมาเบอร์สี่ห้า ข้าวโพดนี่ก็เผาเยอะล้านไร่ แต่ก็ยังน้อยกว่าไฟ 7~8 ล้านไร่ในป่าอีกไกล
การเผาในป่าจริงๆ (คือ ป่าที่เป็นป่า)ของชาวบ้าน ในช่วงมีนาคมแบบที่เป็นอยู่ ไม่มีอะไรซับซ้อน /ของป่า /ล่าสัตว์ /ขัดแย้ง/เกเรลองของ ส่วนใหญ่วนไปมาสี่ห้าประการในแต่ละเขตป่า
ล่าสัตว์ เป็นการเผาที่เห็นแก่ตัวมาก เพราะสิ่งที่ได้มาประทังชีวิต แลกกับขนาดพื้นที่เสียหายและผลกระทบคนอื่น
หาของป่า อันนี้ต้องดูรายละเอียด บริบท เศรษฐกิจชุมชนชาวบ้านรับฟังได้นะครับ โดยเฉพาะป่าเต็งรังควรมีไฟบ้าง 3~4 ปีรอบ คือถ้าจะเผา วางแผนร่วมกันแนว แปลงไหนถึงรอบก็จัดการพร้อมกัน แบบจัดการคือไม่ลาม จบ คอนโทรลได้ ทุกฝ่าย วิน/วิน ทั้งฝ่ายดูแลนิเวศป่า และฝ่ายชุมชน
แต่ไอ้การเผาแบบกูจะได้ฝ่ายเดียว สักแค่จะเผาเอาเห็ด ค่ำมาวางเพลิงลามไปร้อยพันไร่ช่างมัน นอกเขตมีเห็ดก็ช่างมัน อันนี้เลว บอกเลย
ซึ่งไอ้แบบนี้ก็เยอะ สังคมบริโภค Demand ยุคใหม่ ตลาดยุคใหม่ ซัพพลายเชนทอดยาวจากกาดเมืองใหม่ ไปถึงชายป่าด้วยไลน์สื่อสาร
วิถีชาวบ้านยุคนี้แยกไม่ออกกับวิถีพ่อค้าคนกลางแม่ค้าขายส่งแล้ว ไอ้วิธีคิดแบบ Economy of Scale เผาทีเดียวยอดผักหวานออกพร้อมกัน เก็บง่าย ได้เยอะ ส่งคุ้ม
ถามจริง
คนได้ประโยชน์สูงสุด คือชาวบ้าน หรือ แม่เลี้ยงเจ้าของกิจการขายส่งกันแน่หือ ?
ก็ไม่ต่างจากข้าวโพดบนดอย กับ นายทุนส่งออกอาหารสัตว์แหละว้า
ผักหวานตามออร์เดอร์กาดขายส่งในเวียง มันวิถีชาวบ้านยุคมือยาวสาวเอา
ระบบผลประโยชน์กู ผลกระทบคนหมู่มาก เป็นวิถีแบบไหนกัน !!?
ดูไฟที่ลามใหญ่เมื่อคืน
ไทยเรามีไฟกลางคืนมากกว่า ลาว พม่า ที่เขาจุดแค่ใช้ประโยชน์ทำไร่นา ดับจบในวันเดียว ไม่ลาม ไม่ปล่อยค้างคืนไปไหนช่างแม่ง แต่คนไทยไม่สนแม่ง
ไฟไทยจึงเป็นไฟที่จุดกลางคืน ไม่มีใครเฝ้า ไม่มีการจัดการ เป็นไฟนอกควบคุม
ไฟที่ไหม้ในป่าเฉยๆ ไม่มีแปลงเกษตรมันเสียหายส่วนรวม และกระทบสิทธิ์คนอีกไม่รู้เท่าไหร่
ในบรรดาจุดสีม่วง กลางคืนที่ว่า มีไฟเลว ไฟร้าย ไฟลามเท่าไหร่ ในจำนวนนั้นมีไฟหาเห็ดผักหวานสักเท่าไหร่ เป็นไปได้ไหมที่ไฟหาของป่าเพื่อปากท้องชุมชนจริงๆ ต้องถูกแยกออกมาจัดการร่วม ป่าไม้อุทยานจัดการให้เลย ตั้งแต่ต้นฤดู มกรา กุมภา จะได้จบๆ
คนอื่นๆ ก็มีสิทธิ์หายใจนะครับ
คนรวย คนกินเงินเดือน ชนชั้นทำงานเซเว่น ลูกจ้างในตลาด ครู เมสเซนเจอร์ส่งอาหาร ก็มีสิทธิ์ในชีวิตเช่นเดียวกับคนจนในป่านะครับ
ดังนั้น การใช้ไฟดี จึงควรต้องเอามาจัดการ หาจุดสมดุลจริงๆ แค่ไหนคือพอเพียง ได้บ้างเสียบ้าง ไม่ใช่จะเอาที่เคยได้มาเท่าไหร่ตั้งแต่โบราณต้องได้เท่าเดิม สังคมยังแช่แข็งเหมือนเดิมแบบสมัยอุ๊ยปู่ตาซะที่ไหน
ไฟประเทศเรา มันเกินจุดสมดุลไปมาก ดูสีของไฟกลางคืนสีม่วงก็รู้ (หมอหม่องบอกสีเขียวสัญลักษณ์สื่อสารให้อารมณ์บวก)
คนลาว พม่า เขาก็ใช้ชีวิตกับป่า ไม่เห็นเขาจุดกลางคืนปล่อยลามช่างแม่งเลย
เข้าสู่ยุคจัดการไฟจริงจังได้แล้ว รื้อทิ้ง KPI กอดสถิติฮอตสปอต มาเป็นดูค่าสีของจุดความร้อนที่ดี มีสัดส่วนจำนวนไฟคอนโทรลได้ เป็นหมุดหมายใหม่ร่วมกัน.