เอกชนเหนือตั้งศูนย์ประสานงาน GMS-TICCขานรับนโยบายแถบเศรษฐกิจสายไหมทำให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคเหนือกับกลุ่มGMS

เอกชนเหนือตั้งศูนย์ประสานงาน GMS-TICCขานรับนโยบายแถบเศรษฐกิจสายไหมทำให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภาคเหนือกับกลุ่มGMS

เอกชนภาคเหนือเด้งรับกระแสจีน นโยบายแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม OBOR ที่มุ่งเชื่อมเศรษฐกิจภาคเหนือและประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) จัดตั้งศูนย์ประสานงานการค้า การลงทุน และวัฒนธรรม ลุ่มแม่น้ำโขง หรือ (GMS-TICC) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการค้า การลงทุนจีน และต่างประเทศ กับ GMS เกิดเป็นรูปธรรม ชูประเด็น Smart City – โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ในพื้นที่ภาคเหนือ 

ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดการประชุมระหว่างประเทศ One Belt One Road & Greater Mekong Sub-region Cooperation “Lancang Jiang-Mekong River: Rising Smart Corridor
​        นายเฉลิมชาติ  นครังกุล ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่  เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเชียงใหม่ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ Belt and Road & Greater Mekong Sub-region Cooperation ในหัวข้อ “Lancang Jiang-Mekong River : Rising Smart Corridor” ที่จะเป็นเวทีในการเชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจของภาคเหนือกับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน นับเป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่ได้เห็นโอกาสและความร่วมมือในอนาคต เนื่องจากไทยเป็น 1 ใน 6 ระเบียงเศรษฐกิจย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งรวมถึง GMS ที่เป็นเป้าหมายของจีนด้วย

​ดั้งนั้นทางภาคเอกชน ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงจะได้ใช้โอกาสนี้ที่จะจัดตั้งหน่วยงานที่จะตอบสนองต่อนโยบายและแผนงาน ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางดังกล่าว โดยจะได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการค้า การลงทุน และวัฒนธรรม GMS Trade-Investment and Culture Center (GMSTICC) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีบทบาทที่สำคัญได้แก่ 1 .)  อำนวยความสะดวกและประสานงานให้เกิดความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ระหว่างจีน ประเทศในกลุ่ม GMS และภาคเหนือของไทยภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน 2.) จัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจระหว่างจีน และกลุ่มประเทศ GMS ในทุกด้าน ได้แก่ การจัดเวที Forum , การจัด Business Matching ในระดับนานาชาติ 3.) ประสานงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับจีนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
​ภาคเหนือของไทยมีความใกล้ชิดกับประเทศจีนตอนใต้ มีความสำคัญในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ มีการเดินทางเชื่อมโยงกันได้สะดวกขึ้นผ่านเส้นทางแม่น้ำโขง ถนน R3A รวมถึงรถไฟความเร็วสูงในอน(Cluster)  โดยเฉพาะด้านนโยบาย 4.0 ของไทย Smart City  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานาคต อันจะส่งผลต่อความสำเร็จของนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road Policy) ของจีน ดังนั้น จึงจำเป็นที่ทางไทยจะต้องเตรียมพร้อมและเริ่มในเรื่องยกระดับขีดความสามารถโดยจัดเป็นกลุ่มๆ ของไทย โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ การเชื่อมด้วยรถไฟความเร็วสูง การพัฒนาการเดินเรือในแม่น้ำโขง การเจาะอุโมงค์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน หรือการก่อสร้างสนามบินภาคเหนือแห่งใหม่ เป็นต้น 

ด้านผศ.ดร.อรอร ภู่เจริญ คณบดีคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้เป็นเวทีที่แสดงถึงความร่วมมือของ 2 ประเทศและจะได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเกี่ยวกับนโยบายของจีนและแสดงถึงจุดยืนในหลายๆ เรื่อง จากการนำเสนอของนักวิชาการ โดยเฉพาะการลงทุนของจีนในไทยทั้งด้านการเกษตร ขนส่ง อุตสาหกรรมว่าจะดีต่อประเทศไทยอย่างไรและความร่วมมือที่ได้จากจีนด้วย

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ฯ กล่าวอีกว่า สำหรับสิ่งที่จะได้ประโยชน์จากการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการค้า การลงทุนและวัฒนธรรม GMS Trade-Investment and Culture(GMSTICC) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นรูปธรรมและไม่เกี่ยวกับวิชาการ แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงและมีความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นทั้งจากรัฐบาลจีน ชุมชนและนักท่องเที่ยวจีนที่สนใจภาคเหนือ ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งงานนี้ก็จะมีการเปิดโต๊ะเจรจาและจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคเอกชนไทยและจีน ทางด้านการเกษตร เกี่ยวกับชา กาแฟ รวมถึงด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ

ในภาคบ่ายในเวทีนี้ก็จะมีการพูดถึง 6 เชคชั่นที่มีทั้งผลทางบวกและลบที่ไทยได้รับจากการขยายการลงทุนของจีน รวมทั้งยังที่จะต้องมีการศึกษาต่อทั้งเรื่องสมาร์ทซิตี้ ขนส่ง ท่องเที่ยว วัฒนธรรมและการลงทุนทางเศรษฐกิจ

สำหรับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน เป็นนโยบายที่สำคัญมากของจีน มีโครงการที่มีการลงทุนด้วยมูลค่ามหาศาลถึง 1.4 แสนล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการสร้างเส้นทางโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ของโลก โดยเชื่อมโยงคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางทะเลและระหว่าง 1 ภูมิภาคและ 3 ทวีปคือ อาเซียน เอเชีย อาฟริกาและยุโรป เกี่ยวข้องกับ 64 ประเทศทั่วโลกครอบคลุมประชากรโลกถึง 4,500 ล้านคนและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงถึง 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งภาคเหนือของไทยมีการเชื่อมโยงการค้า การลงทุนกับจีนอยู่แล้วและน่าจะเกิดประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว

ทางด้านนายเหริน ยี่ เซิน กงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวซึ่งหน่วยงานของสองประเทศมีโครงการความร่วมมือเป็นประจำ และเมื่อไม่นานที่ผ่านมานี้ทางรองอธิบดีกรมการท่องเที่ยวของจีนก็เดินทางมาเยือนประเทศไทย และมีความร่วมมือกัน เพราะไทยมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ โดยทุกปีนักท่องเที่ยวจีนประมาณ 150 ล้านคนจะเดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศและในส่วนนี้ 10 ล้านคนจะเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย ซึ่งจากสถิติปี 2558 มีนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยประมาณ 7.8 ล้านคนแต่ปี 2559 เพิ่มเป็น10 ล้านคน

กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า สำหรับนักธุรกิจจีนที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยก็มีจำนวนมากในหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ในส่วนของการประกอบการทางไทยก็จะมีกฎหมายและหน่วยงานที่ควบคุมอยู่แล้ว ด้วยยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์จีนก็มีนักลงทุนออกไปลงทุนในหลายประเทศทั่วโลกไม่ใช่แค่ประเทศไทย ซึ่งก็ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศเหล่านั้นด้วย

สำหรับนโยบาย 1 แถบ 1 เส้นทางนี้เป็นนโยบายของจีนที่ขยายไปทั่วโลก และมั่นใจว่านโยบายนี้จะนำประโยชน์มาให้คนทางภาคเหนือของประเทศไทยด้วย เพราะประเทศไทยมีศักยภาพและมีภูมิประเทศสูงในการพัฒนาเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะภาคเหนือของไทยกับจีนมีศักยภาพสูงในหลายๆด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สมาร์ทซิตี้และเกษตรกรรม

โดยล่าสุดจีนได้เพิ่มเงินทุนสนับสนุนกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) เป็นจำนวน 1 แสนล้านหยวน เพื่อให้เกิดการลงทุนจากจีนสู่ต่างประเทศ โดย คาดว่าจะเกิดมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นกว่า 3 แสนล้านหยวน นอกจากนั้นทาง China Development Bank และ Exim Bank of China จะจัดตั้งโครงการปล่อยเงินกู้เพื่อสนับสนุน ความร่วมมือในด้าน สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานขีดความสามารถทางอุตสาหกรรม และการเงิน เป็นมูลค่าถึง 3.8 แสนล้านหยวน รวมถึงการร่วมมือ Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB), BRICS New Development Bank และสถานบันพัฒนาอื่นๆ เพื่อร่วมกันกำหนดตัวชี้นำทางด้านการเงินให้แก่โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ตามนโยบาย Belt and Road
​สอดคล้องกับการเดินทางนายจิน ลี่ฉวิน (Mr.Jin Liqun) ประธานธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หรือเอไอไอบี (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) ซึ่งเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดเชียงใหม่ล่าสุดและพร้อมให้การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเชียงใหม่อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน .

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้