แพลททินัม ฟรุ๊ต แนะเกษตรกรสวนลำไยภาคเหนือเปลี่ยนวิธีปลูกเชิงอุตสาหกรรม พัฒนาเกรดส่งออกมุ่งตลาดจีน อินโดนีเซีย อินเดีย แก้ปัญหาลำไยล้นตลาด ราคาตก

แพลททินัม ฟรุ๊ต แนะเกษตรกรสวนลำไยภาคเหนือเปลี่ยนวิธีปลูกเชิงอุตสาหกรรม พัฒนาเกรดส่งออกมุ่งตลาดจีน อินโดนีเซีย อินเดีย แก้ปัญหาลำไยล้นตลาด ราคาตก

แพลททินัม ฟรุ๊ต แนะเกษตรกรสวนลำไยภาคเหนือเปลี่ยนวิธีปลูกเชิงอุตสาหกรรม พัฒนาเกรดส่งออกมุ่งตลาดจีน อินโดนีเซีย อินเดีย แก้ปัญหาลำไยล้นตลาด ราคาตก เผยพื้นที่นำร่องพัฒนาลำไยเพื่อส่งออกร่วมกับชาวสวนลำไยอ.ลี้ลำพูนบนแปลงตัวอย่าง 150 ไร่ได้ผลผลิตตามต้องการ พร้อมขยายโครงการมาที่อ.จอมทองเชียงใหม่ ตั้งเป้าส่งออกลำไยปีนี้เพิ่มสูงถึง 3 หมื่นตันโตจากปีก่อนร้อยละ 50

ภายหลังจากที่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ การเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยในปี 2567  รวมไปถึงการผลักดันลำไย คุณภาพให้มีการส่งออกสู่ประเทศจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ที่โรงงานลำไย บริษัทตองแปดผักผลไม้ จำกัด ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่เมื่อวานนี้

วันนี้(18 ก.ค.67)นายณธกฤษ เอี่ยมสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกผลไม้สดเกรดพรีเมี่ยมรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความชำนาญในธุรกิจส่งออกลำไยมากกว่า 10 ปี เริ่มต้นก่อตั้งโรงงานลำไยสดแห่งแรกที่ อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ เพื่อขยายตลาดการส่งออกและตอบรับความต้องการที่สูงขึ้นจากตลาดต่างประเทศ จากนั้นขยายโรงงานเพิ่มเติมที่อำเภอป่าซาง ลำพูน อำเภอสอยดาว จันทบุรี และล่าสุดคือที่สระแก้วเพิ่งเปิดเมื่อปลายปี 2566 โดยปัจจุบันมีปริมาณการส่งออกลำไยสดและลำไยแกะเม็ดแช่แข็ง รวมปีละกว่า 20,000 ตัน ตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย และตลาดล่าสุดที่เข้าไป คือ อินเดีย โดยจะเห็นได้ว่าแต่ละตลาดที่แพลททินัม ฟรุ๊ต เข้าไปเป็นตลาดที่มีจำนวนประชากรสูง ซึ่งจะสัมพันธ์ไปกับปริมาณการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญ

“ประเทศไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถปลูกและส่งออกลำไยได้ และเชื่อว่ายังมีโอกาสเติบโตที่เปิดกว้างอยู่มากหากนำสินค้าเข้าไปถูกตลาด โดยเฉพาะลำไยสดช่อคุณภาพเกรด AA และ A ที่แพลททินัม ฟรุ๊ต นำไปเจาะตลาดระดับบนของกลุ่มที่มีกำลังซื้อในแต่ละประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดค่านิยม เกิดความต้องการอยากกินสินค้าของเรากระจายไปในวงกว้าง หากการที่จะทำได้นั้นสินค้าเราต้องดีจริง ต้องพรีเมียมจริง ซึ่งตรงนี้เรามั่นใจ เพราะผลไม้ของแพลททินัม ฟรุ๊ตจะต้องผ่าน Global standard ตั้งแต่การคัดเลือกผลไม้จากสวนที่ได้มาตรฐาน GAP และ Global GAP ผ่านการผลิตในโรงงานที่ได้มาตรฐานการผลิต อาทิ HACCP, GMP, GHP, DOA, และ Halal พร้อมบริการขนส่งที่มีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อรักษาความสดทุกลูก” นายณธกฤษ กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทฯ อยู่ในธุรกิจส่งออกลำไยมานาน ทำให้ทราบว่าวิถีของชาวสวนลำไยทางภาคเหนือจะยังปลูกตามวิถีดั้งเดิมไม่ได้มีการจัดระบบในเชิงอุตสาหกรรม ต่างจากทางจันทบุรีที่มีการจัดระบบสวน บริหารจัดการน้ำ คำนวณการให้ปุ๋ย ให้ยาที่ถูกจังหวะ จึงมีแนวคิดที่จะพาชาวสวนลำไยภาคเหนือไปดูงานที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ให้เห็นวิถีการทำลำไยเชิงอุตสาหกรรม ว่ามีกระบวนการขั้นตอนแบบใดเพื่อจะทำให้ได้ผลผลิตตามคุณภาพการส่งออก (Global GAP) รวมถึงเรียนรู้วิธีการเก็บเกี่ยวลำไยให้ได้ราคาดี และความสำคัญของวินัยการเงินอีกพื้นฐานจำเป็นสำหรับชาวสวนยุคใหม่ เพื่อนำองค์ความรู้ แนวทางปฏิบัติไปยกระดับคุณภาพสวนลำไยของตนเองเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น และผลิตได้ตามมาตรฐานส่งออก

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบ.แพลททินัม ฟรุ๊ต กล่าวอีกว่า บริษัทฯได้เริ่มโมเดลนี้ในพื้นที่อ.ลี้ จ.ลำพูน โดยมีพื้นที่โครงการ 150 ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกลำไยเข้าร่วม 30 ราย โดยเลือกพื้นที่สวนรายละ 5 ไร่มาเป็นแปลงตัวอย่างภายใต้เงื่อนไขว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องใส่ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงตามที่บริษัทแนะนำโดยไม่จำเป็นต้องซื้อกับทางบริษัท ขณะนี้ผลผลิตในแปลงตัวอย่างเริ่มให้ผลผลิตออกมาและมีขนาดของลำไยใหญ่ขึ้น โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีชาวสวนสนใจเข้ามาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงนำมาสู่การพัฒนาความร่วมมือกับชาวสวนลำไยอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการระยะสอง เพื่อนำร่องความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพลำไยให้สามารถส่งออกได้ตลอดทั้งปี โดยบริษัทฯ มีตลาดใหญ่รองรับผลผลิตถึง 3 ตลาดได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และ อินเดีย

“การที่เราจะได้ผลไม้คุณภาพที่ดีไปสู่ปลายทาง หมายถึง ต้นทางต้องดี นั่นคือ “เกษตรกร” ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราทำคือ เข้าไปเติมความรู้ให้กับชาวสวนเพื่อพัฒนาลำไยให้ได้คุณภาพตาม “มาตรฐาน” ความต้องการของผู้บริโภค โดยทั้งหมดนี้ที่ทำไปเราไม่ได้มุ่งเน้นแค่ในเชิงธุรกิจ แต่ต้องการดูแลเกษตรกรให้เติบโตยั่งยืนไปด้วยกันทั้งระบบ ซึ่งเชื่อว่าการพัฒนาคุณภาพลำไยให้ได้เกรด AA และ A จะเป็นจุดสำคัญสุดในการช่วยชาวสวนลำไยภาคเหนือให้หลุดพ้นจากปัญหาวงจรราคาได้อย่างยั่งยืน” นายณธกฤษ กล่าวและชี้แจงอีกว่า

เมื่อปี 2566 บริษัทฯส่งออกลำไยไปตลาดต่างประเทศประมาณ 2 หมื่นตัน สำหรับปีนี้ตั้งเป้าไว้ 3 หมื่นตัน เนื่องจากมีตลาดใหม่ที่อินเดีย ซึ่งเป็นตลาดกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงสำหรับผลผลิตคุณภาพ เพราะสินค้าของบริษัทเป็นพรีเมี่ยมเกรด สำหรับกระบวนการผลิตลำไยให้ได้คุณภาพนั้นต้องทุนแปลงละประมาณ 15,000-20,000 บาท แต่ผลผลิตที่ได้จะเป็นลำไยเกรด AA โดยบริษัทมีทีม R&D ที่จะคอยดูแลและแนะนำให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผลผลิตลำไยที่บริษัทรับซื้อจากเกษตรกรชาวสวนจะไม่มีการประกันราคา เพราะบริษัทมองว่าถ้าไม่ได้คุณภาพตามที่ประกันราคาไว้ก็อาจจะมีผลกระทบกับชาวสวนได้ แต่ถ้าชาวสวนลำไยสามารถผลิตลำไยเกรดคุณภาพออกมาก็จะมีผู้ซื้อมาแย่งกันซื้อก็จะยิ่งทำให้เกษตรกรชาวสวนขายลำไยได้ราคาดีด้วย

สำหรับบริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2553 โดยเริ่มต้นจากการส่งออกทุเรียนและมังคุดผ่านทางอากาศไปยังไต้หวันภายใต้แบรนด์ “888” ในปี พ.ศ. 2536 จากนั้นจึงขยายไลน์ธุรกิจและการตลาด จนมาเป็นบริษัทแพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด พร้อมบริษัทในเครือ สามารถทำรายได้รวมกว่า 5,200 ล้านบาท ภายในหนึ่งทศวรรษ ปัจจุบัน“แพลททินัม ฟรุ๊ต” เป็นบริษัท Top-5 ของประเทศไทยที ่ส่งออกผลไม้สดและสินค้าเกษตรคุณภาพสูง อาทิ ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าว โดยมีตลาดทั้งในเอเชีย ยุโรป ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น และดำเนินธุรกิจการส่งออกแบบครบวงจร ภายใต้บริษัทลูก 4 แห่ง ประกอบด้วย
• บริษัท ตองแปดผักผลไม้ จำกัด (888 Fruits & Vegetables) ดำเนินธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ โดยมีตลาดหลัก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และยุโรป
• บริษัท ตองแปดโลจิสติกส์ จำกัด (888 Logistic) บริการขนส่งตู ้คอนเทนเนอร์ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ พร้อมลานโหลดสินค้า มีระบบ ISO9001:2015 และ ระบบ Cold chain
• บรษท สกาย ชอรเทรดดง จำกด (Sky Shore Trading) บริการ shipping ระหว่างประเทศ จัดทำเอกสารและพิธีการศุลกากร โดยมีใบรับรองจากศุลกากรโลก
• บริษัท สกายชอร์ ดีโปท์ จำกัด (Sky Shore Depot) บริการลานรับฝากตู ้คอนเทนเนอร์ให้ธุรกิจการเดินเรือขนส่งสินค้าชั้นนำระดับโลก
แพลททินัม ฟรุ๊ตดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐาน ตั้งแต่การคัดเลือกผลไม้จากสวนที่ได้มาตรฐาน GAP และ Global GAP ผ่านการผลิตในโรงงานที ่ได้มาตรฐานการผลิต อาทิ HACCP, GMP, GHP,DOA, และ Halal พร้อมบริการขนส่งที ่มีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อรักษาความสดของผลไม้ทุกลูก.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้