นำเสนอนวัตกรรมทางสังคมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเผยแพร่ผลงานสร้างเครือข่ายยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง

นำเสนอนวัตกรรมทางสังคมจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเผยแพร่ผลงานสร้างเครือข่ายยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง

โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่”จัดกิจกรรมนำเสนอนวัตกรรมทางสังคม การสะท้อนผลการพัฒนา แลกเปลี่ยน และการเผยแพร่ผลงาน และสร้างเครือข่ายเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวาง

เมื่อวันที่ 11 ต.ค.66 ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว รองศาสตราจารย์ ภญ.อุษณีย์ คำประกอบ  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยน เผยแพร่ผลงาน และมอบรางวัล ในโครงการการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะ ของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่”ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)จัดขึ้น

ผศ.ดร.สุบัน พรเวียง  หัวหน้าโครงการฯสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานว่า โครงการฯ นี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมีระยะเวลา 3 ปี (1 พฤศจิกายน 2564- 31 ตุลาคม 2567) การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นปีที่ 2 ในการนี้ โครงการวิจัยฯ ได้ดำเนินงานมาถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยน การเผยแพร่ผลงาน และการมอบโล่รางวัลให้แก่บุคลากรที่มีผลปฏิบัติที่ดีและส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่

จากโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งนวัตกรรมทางการศึกษาออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ พร้อมทั้งกิจกรรมนำเสนอนวัตกรรมทางสังคม การสะท้อนผลการพัฒนา แลกเปลี่ยน และการเผยแพร่ผลงาน และสร้างเครือข่ายเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวาง โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ โรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อ โรงเรียนบ้านแม่โจ้         โรงเรียนวัดสวนดอก        โรงเรียนบ้านป่าตาล โรงเรียนบ้านพระนอน และโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย

รองศาสตราจารย์ ภญ.อุษณีย์ คำประกอบ  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า จากรายงานได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า เป็นการนำเสนอนวัตกรรมทางสังคม การสะท้อนผลการพัฒนา แลกเปลี่ยน พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานดีเด่น  ที่แสดงถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของ    เด็กด้อยโอกาสในสาขาต่าง ๆ จึงนับว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ทางโครงการฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขยายผลและสร้างเครือข่าย เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสมรรถนะของเด็กด้อยโอกาสในชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาส ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของชุมชนเมือง

รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีแนวคิดในการส่งเสริมบุคลากรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสโดยผ่านหลักสูตรการเรียน การสอน ซึ่งโครงการวิจัยนี้เป็นโครงการต่อเนื่องระยะ 3 ปีครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อที่จะต่อยอดต่อไป จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะประยุกต์ให้เกิดการต่อยอดในลักษณะที่คล้ายหรือแตกต่างแต่ดีกว่า สิ่งสำคัญคือได้มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น เพราะมีโรงเรียนที่มาเข้าร่วมได้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา

“ตอนนี้โครงการมีการพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่จะไปช่วยต่อยอด โรงเรียนจึงเป็นกลไกสำคัญ จากการศึกษาเน้นในพื้นที่เมืองก่อน เพราะมีเด็กด้อยโอกาสที่อยู่ในชุมชนเมืองค่อนข้างเยอะจึงต้องให้ความสำคัญเพราะในอนาคตหากเขาอยู่ในสังคมก็จะสร้างประโยชน์ในสังคมได้”รศ.ภญ.อุษณีย์ กล่าวชี้แจง

ทางด้านผศ.ดร.สุบัน พรเวียง  หัวหน้าโครงการฯ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า โครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปีซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 2 และมีการปรับจูนมากขึ้นโดยหาเด็กด้อยโอกาสซึ่งเด็กเหล่านี้จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง มีครอบครัวไม่สมบูรณ์และเป็นเด็กที่ครอบครัวมาใช้แรงงานในเมืองหรือเด็กที่เสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ เด็กพิเศษซึ่งต้องได้รับการดูแล และได้รับสารที่พัฒนาขึ้นกว่าการสอนเด็กทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะให้การศึกษา ดังนั้นจึงต้องหาเครือยข่ายโดยเฉพาะต้นสังกัดของผู้อำนวยการและมูลนิธิหรือองค์กรที่ทำงานด้านเด็กพิเศษเหล่านี้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอด

หัวหน้าโครงการฯ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางในปีที่ 3 ของโครงการนั้นจากเริ่มต้นปีแรกที่ทำหลักสูตร ปีที่ 2 ให้โรงเรียนคิดกิจกรรมและพัฒนาเด็กที่เป็นปัญหาแล้วปีที่ 3 จะยึดความต้องการของเด็กทั้ง 6 โรงเรียนที่ร่วมโครงการ เพราะแต่ละแห่งจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน เป้าหมายไม่ได้อยู่แค่เด็ก แต่ต้องการพัฒนาสมรรถนะกลุ่มและดึงโรงเรียนเป้าหมายมาเป็นเครือข่ายและสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้น

ทางด้านดร.ณรงค์ อภัยใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพระนอน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น 1 ในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า ในปีแรกที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นการพัฒนาครูโดยเฉพาะการเปลี่ยนมุมมองเด็กด้อยโอกาส ถ้ามีมายเซ็ตที่ดีจะมองเด็กด้อยโอกาสอีกแบบหนึ่ง ทำให้พวกเขามีทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดี และให้อยู่ในสังคมอุปถัมภ์ได้ สำหรับปีที่ 3 นี้ต้องการทจะดึงตัวผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาทุกมิติ ทั้งทักษะชีวิต ทักษะการเรียนร้ ที่ผ่านมาเด็กนักเรียนและครูได้มีการปรับตัวแล้ว สำหรับโรงเรียนวัดพระนอนร้อยละ 80 เป็นลูกหลานของผู้ใช้แรงงานที่แต่เดิมพ่อแม่เวลาไปทำงานก็จะขังไว้ในห้อง .

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้