กกพ. จัดเวทีสัมมนาสื่อสารบทบาทภารกิจและผลการดำเนินงานกับกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่นและเครือข่ายในพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 1 ภาคเหนือตอนบน

กกพ. จัดเวทีสัมมนาสื่อสารบทบาทภารกิจและผลการดำเนินงานกับกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่นและเครือข่ายในพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 1 ภาคเหนือตอนบน

สำนักงาน กกพ. จัดเวทีสัมมนาสื่อสารบทบาทภารกิจและผลการดำเนินงานกับกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่นและเครือข่ายในพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 1 ภาคเหนือตอนบน ย้ำกกพ.ให้ความสำคัญต่อบทบาทสื่อฯและกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการกำกับกิจการพลังงาน เผยกกพ. พัฒนาช่องทางและระบบรับเรื่องร้องเรียนการให้บริการกับผู้ใช้พลังงานผ่านแอพลิเคชั่น ไลน์แอด “ERCvoice”

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมวินทรีเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดย สำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 (เชียงใหม่) ร่วมกับฝ่ายยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร จัดเวทีงานสัมมนาสื่อสารบทบาทภารกิจและผลการดำเนินงานของสำนักงาน กกพ. ให้กับกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่นและเครือข่ายในพื้นที่ผู้ใช้พลังงานเขต 1 ภาคเหนือตอนบน โดยมีนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา กรรมการกำกับการการพลังงาน (กกพ.) เป็นประธานการจัดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง “วิสัยทัศน์ การยกระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิผู้ใช้พลังงานยุคดิจิทัล”


นายวรวิทย์ กล่าวว่า กกพ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อบทบาทของสื่อมวลชนและกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนผ่านทางคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต (คพข.) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญและมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการกำกับกิจการพลังงานให้กับ กกพ. และต้องการสนับสนุนให้มีการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างดีและต่อเนื่อง “การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากเทคโนโลยีพลิกโฉมทำให้โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทุกคนต้องปรับตัวและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ที่สำคัญต้องก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับกลไกการกำกับดูแลกิจการพลังงานภายใต้การกำกับของ กกพ. วันนี้ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานกำกับอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการสนับสนุนกลไกคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้ใช้พลังงานภาคประชาชนให้เกิดการปรับตัวรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่ง กกพ. เองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมุ่งหวังที่จะร่วมกันพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นายวรวิทย์ กล่าว


ก่อนหน้านี้ กกพ. ได้พัฒนาช่องทางและระบบรับเรื่องร้องเรียนการให้บริการกับผู้ใช้พลังงานผ่านแอพลิเคชั่น ไลน์แอด “ERCvoice” ซึ่งได้รับผลตอบรับดีมาก ตั้งแต่เปิดรับบริการเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีปริมาณผู้ใช้บริการในช่องทางการดังกล่าวสูงถึงกว่า 200 เรื่อง และมีการประสานงานแก้ไขปัญหา บริหารจัดการเรื่องร้องเรียนได้ลุล่วงแล้วเสร็จจำนวน 168 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการและติดตามเรื่องกับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม กกพ. เองก็พร้อมที่จะสนับสนุน คพข. อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานคุ้มครองประชาชนผู้ใช้พลังงานเชิงรุกแบบบูรณาการในรูปแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะความพยายามในการสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่มีบทบาทกำกับ ดูแล และให้การคุ้มครองด้านสวัสดิภาพ สวัสดิการประชาชนได้อย่างทั่วถึง


นายวรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ก็มีแบบอย่างและความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อยกระดับงานคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยเป็นการริเริ่มโดย คพข. ประจำเขต 10 จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้ประสานและจัดให้การลงนามบันทึกข้อตกลงคว่ามร่วมมือ (MOU) กลไกขับเคลื่อนการคุ้มครองผู้บริโภคกลุ่มเปราะบาง ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสภาองค์กรของผู้บริโภค ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ประสานงานและจัดทำฐานข้อมูลผู้ใช้พลังงานที่มีผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในความดูแลให้ได้รับสิทธิ์ที่จะไม่ถูกตัดไฟทุกกรณี ซึ่งเป็นผลจากการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขมาตรฐานสัญญาผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย โดย กกพ. ที่มุ่งสร้างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมสูงสุดต่อผู้ใช้พลังงาน และถูกนำไปขยายผลให้เกิดการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานโดยเครือข่ายในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ระหว่างการตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 (เชียงใหม่) นายวรวิทย์ ได้มอบนโยบายให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ดูแลบรรเทาทุกข์และคุ้มครองสิทธิ์ประชาชนผู้ใช้พลังงานเชิงรุก โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนจากเวทีสะท้อนความคิดเห็นจากปัญหาการได้รับบริการด้านพลังงาน การสะท้อนปัญหาจากสื่อมวลชนในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการข้อร้องเรียนผ่านช่องทางแอพลิเคชั่น ไลน์แอด @ERC Voice ให้ลุล่วงโดยเร็ว พร้อมกับเน้นย้ำว่า เสียงของประชาชนต้องไม่เงียบหาย สำนักงาน กกพ. ในพื้นที่จะต้องร่วมแก้ไขปัญหาการหลอกลวงประชาชนของมิจฉาชีพที่แฝงมาในรูปแบบต่างๆ อาทิ Call center หลอกลวงขอข้อมูลทางการเงิน หรืออ้างการเรียกเก็บค่าบริการไฟฟ้าที่เป็นเท็จ ตลอดจนอ้างถึงการหลอกลวง เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆทางด้านพลังงานที่ไม่เป็นความจริงด้วย


ด้านดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กล่าวว่า การสื่อสาร การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และการสานเครือข่ายกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (Trust Engagement) เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของตน โดยมองว่าเป็นปัจจัยและเป็นการภูมิต้านทานที่สำคัญในการทำงานขององค์กรกำกับกิจการพลังงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและกระทบในวงกว้าง ซึ่งสำนักงาน กกพ. จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสื่อมวลชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่

“ผมเองได้นำเสนอวิสัยทัศน์การกำกับกิจการพลังงานที่ประกอบด้วย 1. การสร้างความเชื่อมั่นในการกำกับกิจการพลังงาน (Trust Regulation) 2. กระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการกำกับกิจการพลังาน (Trust Research & Innovation) 3. การสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการ (Trust Management) และ 4. การสื่อสาร การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และการสานเครือข่ายกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (Trust Engagement) ซึ่งผมมองว่าข้อ 4 สำคัญที่สุด เพราะงานกำกับทั้งหมดจะไม่ประสบความสำเร็จได้เลยหากไม่ได้ถูกยอมรับและให้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” ดร.พูลพัฒน์ กล่าวระหว่างการบรรยายหัวข้อ “บทบาทและภารกิจการกำกับกิจการพลังงานในยุคเปลี่ยนผ่าน”


ดร.พูลพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยุคเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงานได้สร้างทั้งการเปลี่ยนแปลงที่ดี และในอีกด้านหนึ่งก็อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของพี่ น้อง ประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นการที่ได้มีโอกาสได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนในพื้นที่ตลอดจน คพข. จึงเป็นประโยชน์อย่างมากที่ทางสำนักงาน กกพ. จะได้นำเอาไปประมวลเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในนโยบาย รวมทั้งข้อกำหนดต่างๆ ในแนวทางการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้เกิดความราบรื่นในการเปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสมดุล สร้างความเป็นธรรมให้เกิดกับทุกฝ่ายให้ได้เป็นอย่างดีด้วย

นายสมพจน์ วิบูลย์เกียรติ ผู้อำนวยการเขต สำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 (เชียงใหม่) กล่าวว่า ยินดีที่เลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นเวทีนำร่องในการจัดสัมมนา ในส่วนพื้นที่ที่สำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 กำกับดูแลครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตพื้นที่ในความรับผิดชอบมีโรงไฟฟ้า จำนวน 51 โรง อาทิ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าขยะชุมชน และโรงไฟฟ้าถ่านหิน นอกจากนี้ ยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าพื้นที่ประกาศในพื้นที่ของสำนักงาน กกพ. ประจำเขต 1 ทั้งกองทุนขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก โดยในปี 2567 มีโครงการชุมชนรวมมากกว่า 700 โครงการ ที่ กกพ.ได้จัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามมาตรา 97(3) ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนท้องถิ่นรอบโรงไฟฟ้า ได้แก่ ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษาด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณูปโภค ด้านพลังงานชุมชน และด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน งบประมาณที่ได้รับจัดสรรรวมเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้มีการยกระดับส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ โดยได้จัดเวทีประชาสัมพันธ์สร้างเครือข่ายพันธมิตร


“รู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับคณะสื่อมวลชนในพื้นที่ ตลอดจนได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อร่วมกันพัฒนางานกำกับกิจการพลังงานในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้พลังงานในพื้นที่” นายสมพจน์ กล่าว

ในวันนี้ยังได้รับเกียรติจาก คพข. ประจำเขต 1 (จังหวัดเชียงใหม่) ซี่งเป็นผู้แทนผู้ใช้พลังงาน จิตอาสาในพื้นที่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก กกพ. เพื่อทำหน้าที่ พิจารณาเรื่องร้องเรียนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าตก และ ไฟฟ้าดับทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหาย การเรียกเก็บอัตราค่าบริการไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นหรือเสนอมาตรการเพื่อปรับปรุงการให้บริการด้านพลังงานต่อ กกพ. เพื่อการคุ้มครองผู้ใช้พลังงานในพื้นที่ เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อจะได้แนะนำตัวกับคณะผู้แทนสื่อมวลชน เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดต่อไป.

You may also like

พช.เชียงใหม่จัดกิจกรรมตลาดพัฒนาสร้างสุขระหว่าง 18-20 ต.ค.67 เพื่อฟื้นฟูศก.ระยะสั้นและให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีรายได้เพิ่มขึ้น

จำนวนผู้